6 มิ.ย. 2020 เวลา 12:19 • ปรัชญา
ความจำเป็นของคนไม่จำเป็น
บทเรียนจากผู้นำในสามก๊ก
ขงหยง สามก๊ก 1994
โจโฉกรีธาทัพใหญ่ห้าสิบหมื่นไปปราบปราม
ภาคใต้ โดยมีเป้าหมายคือ เล่าปี่ และซุนกวน
ในขณะที่โจโฉเตรียมกองทัพอึกทึกครึกโครมอยู่นั้น ขงหยงขุนนางในเมืองหลวงซึ่งมีไม่ตรีอยู่กับ
เล่าปี่เห็นการอึกทึกจึงสอบถามข่าวคราว พอทราบความแล้วจึงไปทักท้วงโจโฉว่า หากยกทัพ
ลงภาคใต้ครั้งนี้คงมีแต่จะเสียทหารมากมาย เล่าปี่
ก็เป็นเชื้อพระวงศ์ผู้คนรักต่างรักใครไม่ควรกำจัด
ซุนกวนก็ปกครองแคว้นกังตั๋งมีชัยภูมิมั่นคง ผู้คน
พรั่งพร้อม ทั้งยังมีปราการธรรมชาติแม่น้ำแยงซี
2
ขวางกั้นหนทางเดินทัพทุรกันดารยิ่งนัก โจโฉ
ได้ฟังคำทักท้วงในยามใกล้จะเคลื่อนทัพก็โกรธ
โจโฉ สามก๊ก 1994
แต่ขมใจไว้ ถามขงหยงว่า มาพูดจาทักท้วงใน
ยามนี้จะให้เสียฤกษ์ชัยในการเคลื่อนทัพเหรอ
แล้วให้ทหารขับไล่ขงหยงออกไป ยังกำชับอีกว่า
หากขงหยงพูดจาว่ากล่าวทำนองนี้อีกในภายหน้า
ก็จะลงโทษประหาร ขงหยงเมื่อถูกขับไล่ก็อับอาย
ขณะที่เดินออกมาก็บ่นรำพึงรำพันว่า โจโฉคง
พ่ายแพ้ย่อยยับแต่เล่าปี่ และซุนกวนแน่นอน เป็น ธรรมดาหน้าต้องย่อมมีหูประตูย่อมมีช่อง คำบ่น
รำพึงรำพันของขงหยงกระเด็นเข้าหูคองสีขุนนางที่เป็นอริกันมาก่อน คองสีเห็นเป็นโอกาสดีที่จะได้
แก้แค้นขงหยงและยังจะทำความดี ความชอบต่อโจโฉ จึงนำความที่ได้ยินจากขงหยงไปฟ้องโจโฉ
ว่าการที่ขงหยงมาทักท้วงดังนี้ เพราะหวังทำลายฤกษ์ดีในยามเคลื่อนทัพ เมื่อได้ที่ขี่แพะไล่คองสี
โจโฉกับกองทัพห้าสิบหมื่น สามก๊ก 1994
ีใส่ไฟขงหยงต่อไปว่า ในขณะที่ขงหยงเดินออกไปก็ได้รำพึงรำพันด่าว่าทันโง่เง่าเหมือนควาย
อนึ่งเมื่อครั้งยีเอ๋งเข้ามารับราชกาลในเมืองหลวง
ทำให้ท่านได้รับความอัปยศหลายครั้งก็เป็นเพราะ
การเสนอของขงหยง และขงหยงยังยุยีเอ๋งให้ด่าว่าทันมากมาย โจโฉโกรธขงหยงเป็นไฟอยู่ในอก
เมื่อคองสีสาดน้ำมันเข้าไปไฟยิ่งลุกโชนไม่อาจดับ
ลงได้ จึงสั่งให้ทหารจับตัวขงหยงและครอบครัว
นำไปประหาร ความคิดของขงหยงดูเหมือนจะเป็นห่วงเล่าปี่ แต่ถ้าหากมองอีกด้านหนึ่งก็เป็น
ประโยชน์ต่อโจโฉเพราะกองทัพเมืองหลวงไม่เก่ง
การรบทางน้ำหนทางเดินทัพทุรกันดารลำบาก
กับทหารทั้งหลาย ในภายหลังโจโฉพ่ายแพ้ต่อ
เล่าปี่ และซุนกวนอย่างน่าอับอายจนเกือบเอา
ชีวิตไม่รอด ต้องอาศัยบุญเก่าที่ทำไว้กับกวนอูจึง
รอดตายมาได้อย่างหวุดหวิด ความจำเป็นของ
ขงหยงกลับทำให้ขงหยงกลายเป็นคนไม่จำเป็นในสายตาโจโฉ เพราะยังเชื่อว่าขงหยงมีใจต่อเล่าปี่
ขงหยงทักท้วงโจโฉ สามก๊ก 1994
ข้อคิดที่ได้จากเรื่องนี้
การออกความเห็นที่มีประโยชน์ใดๆนั้นย่อมเป็นเรื่องดี แต่ถ้าหากออกความเห็นไม่ถูกกาลเทศะ
ไม่ถูกเวลา ความเห็นนั้นย่อมไม่เป็นประโยชน์
ดีร้ายอาจกลายเป็นโทษต่อผู้ออกความเห็นเอง
ขอบคุณเนื้อหาบางตอนจาก
สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
สามก๊กฉบับนายทุน
ชอบกดไลค์ 👍 ใช่กดแชร์ 🔄 แต่ถ้าอยาก
ดูแลกันอย่าลืมกดติดตามนะครับ 💓
โฆษณา