6 มิ.ย. 2020 เวลา 02:00
เพื่อนบ้านยิ่งโต​ ยิ่งเจริญ​ ยิ่งเป็นผลดีกับไทย
กลัวอะไรกับการเห็นประเทศเพื่อนบ้านพร้อมใจพัฒนา?
ปกติเวลาที่ผมเจอข่าว​ หรือเห็นการตั้งกระทู้เกี่ยวกับการพัฒนาของเพื่อนบ้านว่าจะแซงไทยแล้ว​ คนไทยหลายคนที่โลกทัศน์​อาจจะไม่กว้างพอ​ ก็จะออกมาแสดงความเห็นว่าไทยโดนลาวแซง​ โดนพม่า​ กัมพูชา​ เวียดนามแซง​ ผมก็จะมีรู้สึกแบบ...เหรอวะ?​ เพราะจากประสบการณ์ที่ผมเคยไปสัมผัส​ พูดคุยกับระดับผู้ใหญ่ในหน่วยงานด้านเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศนั้นๆ ประกอบกับการเข้าไปสัมผัสกับผู้ประกอบการทั้งไทยและท้องถิ่นไล่เรียงตั้งแต่เจ้าสัวถึงรายย่อย รวมทั้งอ่านข้อมูลต่างๆ​ ที่เป็นข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ในระดับสากล​ เช่น​ World​Bank, IMF, ADB​ หรืือสำนักข่าวเศรษฐกิจระดับโลก​ Bloomberg, CNBC หรือ​ Wall​ Street Journal ก็ไม่เห็นมีดัชนีชี้วัดอะไรที่บอกว่าเขาแซงเราเลย
ผมอ่านแม้กระทั้งข้อมูลตัวเลขการลงทุน​ รายได้ต่อหัวของประชากร​ และตัวเลขดัชนีการพัฒนามนุษย์​หรือ​ Human Development Index: HDI​ ก็ไม่พบข้อมูลดังกล่าว​นะ​ ผมเองไม่ค่อยอ้างอิงข่าวสารจากสื่อบ้านเรา​ ไม่ใช่ว่าไม่ดี​นะ แต่พวกบทวิเคราะห์​ของต่างประเทศเวลาผมอ่านแล้วเขาเขียนละเอียดมาก​ และมีการอ้างอิงผู้ให้ข้อมูลที่มากกว่าแค่​ 1​ หรือ​ 2​ คน​ บางบทความมีผู้ให้ข้อมูลถึง​ 5​ คนจากหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ​และสังคม​ ซึ่งมันทำให้มีน้ำหนักในการตัดสินใจเชื่อหรือไม่เชื่อในบทความนั้นมากเพียงพอ
1
เขียนออกทะเลไปไกลมากละ​ กลับเข้าเรื่องดีกว่า​ ที่ผมเขียนโพสต์​นี่ก็เพียงจะชวนแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องความเจริญของประเทศเพื่อนบ้าน​ คือ​ผมไม่ได้กลัวเพื่อนบ้านเจริญหรือแซงเราเลยด้วยซ้ำ​ ผมสนับสนุนให้เขาโตเสียทีอีกด้วย​ เพราะยิ่งเขาเจริญเท่าไหร่​ มันยิ่งเป็นผลดีต่อประเทศไทย​ในหลายๆ​ มิติ​ โดยเฉพาะเรื่องปัญหาสังคม​ที่มันจะลดมุมมองการด้อยค่าของมนุษย์ลงได้มาก​ ปัญหาขอทาน​ ปัญหาคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย และปัญหาการค้าแรงงานมนุษย์ก็จะลดลงด้วย​ เพราะใครจะมาทนให้โดนกดขี่ใช้งานเป็นพลเมืองชั้นสองอยู่ต่างบ้านต่างเมืองล่ะ​ ถ้าอยู่บ้านเกิดสบายๆ​
1
จริงๆ​ การที่เพื่อนบ้านโตขึ้น​ เจริญ​ขึ้น​ ซึ่งไม่ใช่แค่เวียดนามประเทศเดียว​ แต่หมายถึงทุกๆ​ ประเทศใน​กลุ่ม CLMV คือ​ กัมพูชา​ ลาว​ เมียนมาร์​ และเวียดนาม อย่าลืมว่ายิ่งเขาโตมันยิ่งเป็นผลดีกับไทย เพราะผลพลอยได้ก็คือ​ มูลค่า​ค้าและการลงทุน​
ทุกคนรู้ว่าสินค้าไทยคือเจ้าตลาดในแถบนี้​ หรือแทบทั้งภูมิภาค​อาเซียนเลยด้วยซ้ำ​ เพราะเพื่อนบ้านเชื่อมั่นเรื่องคุณภาพของสินค้าไทยมาแต่ไหนแต่ไร​ ประเทศกลุ่มอาเซียนคือ​ตลาดสำคัญของไทยไม่ต่างกับจีนและอียู เม็ดเงินมหาศาลจากการค้านี้แหละคือสิ่งที่เราได้กลับมาเมื่อวันที่เขาโตขึ้นและร่ำรวยขึ้น
1
ส่วนเรื่อง GDP เนี่ยก่อนจะเอามาอ้างอิงเปรียบเทียบว่า​ GDP​ สูงคือต้องแซง​ คนที่ชอบยกมาอ้างบ่อยๆ​ คุณควรไปทำความเข้าใจมาดีๆ ก่อนยก GDP มาอ้างอิงนะ​ เพราะการที่ GDP โตไม่ได้หมายความว่าจะเจริญไว ไม่งั้นประเทศที่​ GDP ต่ำๆ ก็คงล้าหลังหมด​
ลาว​ กัมพูชา GDP โต 9% ฟิลิปปินส์เคยโตสูงสุดถึง​7% อินโดนีเซียก็โต 7% ติดต่อกันหลายปี ส่วนไทยโต 3% บ้าง 4% บ้างติดๆ กันมาหลายปี เพราะเจอหลุมการเมือง เจอวิกฤตเศรษฐกิจ​ เจอมรสุม​สารพัดรุมเร้า แต่ทำไมฐานรายได้และมูลค่าเศรษฐกิจ​ของไทยยังสูงขึ้นต่อเนื่องล่ะ ไม่แปลกใจบ้างเหรอ?
ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า​ ตราบใดที่ประเทศเหล่านี้เติบโต ไทยก็โตตามไปด้วยจากกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น และในขณะที่ไทยโตขึ้น มาเลเซีย​ สิงคโปร์ก็โตตามกันไป ฐานมันขยับขึ้นพร้อมๆ กัน เป็นห่วงโซ่อุปทานมันเกี่ยวเนื่องกันทั้งภูมิภาค
หลายคนยังคงไม่รู้ว่าประเทศไทยไม่ใช่ประเทศกำลังพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 เศรษฐกิจ​ประเทศไทยต่อการผลิตและส่งออกมูลค่ามากกว่า 50% เป็นภาคอุตสาหกรรม
ธนาคารโลกจัดให้ประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ หรือ "Newly industry" การพัฒนามันแตกต่างกัน GPD ต่อ หัว 8,100 ดอลลาร์/ปี (255,069 บาทต่อปี เฉลี่ยต่อเดือนที่ 21,255 บาท) ไปแล้ว สูงกว่าหลายประเทศในยุโปรกลางหลายประเทศเสียอีก​ ส่วนประเทศแถบ​ CLMV เป็นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาขั้นต้นเลย​ซึ่งมันคนละ​ Tier
**รายได้ต่อหัวรายเดือนเฉลี่ยประชากรอาเซียนปี 2018 จากธนาคารโลก**
- สิงคโปร์ 164,194.62 บาท/เดือน
- บรูไน 88,344.39 บาท/เดือน
- มาเลเซีย 29,871.69 บาท/เดือน
- 21,255.45 บาท/เดือน
- อินโดนีเซีย 10,768.91 บาท/เดือน
- ฟิลิปปินส์ 8,227.54 บาท/เดือน
- ลาว 7,190.79 บาท/เดือน
- เวียดนาม 6,765.46 บาท/เดือน
1
สำหรับประเทศเวียดนามที่คนชอบเอามาพูดเปรียบเทียบคือ​ เรื่องผังเมืองที่ดี มรดกจากการวางรากฐานไว้โดยฝรั่งเศสอดีตเจ้าอาณานิคม ที่มันช่วยจัดระบบโซนนิ่งเมือง​ รองรับการเติบโตในอนาคตได้ แต่ตัวเร่งที่ทำให้ประเทศเติบโตมันไม่ใช่แค่ผังเมืองเท่านั้น ตอนนี้เวียดนามยังไม่สามารถพัฒนานวัตกรรมอะไรที่จะไปสู่จุดที่ทำให้เกิดการพัฒนาแบบก้าวกระโดด เวียดนามยังเป็นผู้รอรับการลงทุนจากต่างชาติในเรตค่าแรงราคาถูก และการได้สิทธิพิเศษทางการค้าเรื่องภาษีจาก FTA แต่ยังไม่มีการส่งเสริมเรื่อง R&D อย่างจริงจังด้วยซ้ำ
เวียดนามเวลานี้เปรียบเสมือนกับประเทศไทยเมื่อสัก 30​ ปีที่แล้ว​ สมัยที่เราเปิดรับการลงทุนอย่างเต็มที่จากต่างชาติในยุครัฐบาลพลเอกชาติชาย​ ชุณหะวัณเป็นนายกรัฐมนตรี​ จากนโยบาย​ "เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า" ทำให้ตอนนั้นอย่าว่าแต่ GDP แค่ 7% เลย เราโตกัน 11-12% ด้วยซ้ำ แล้วสุดท้ายพอเราพัฒนาขึ้น​ ค่าแรงสูงขึ้น เราก็ไปต่อไม่ได้ในเรื่องการเป็นแหล่งค่าแรงราคาถูก และต้องเข้าสู่ยุคนวัตกรรมแทน เพื่อสู้กับประเทศในอีกระดับหนึ่ง
ลองมองอย่างเปิดตาเปิดใจไร้อคติจริงๆ​ ดูสิว่า​ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 - 2563
1. ประเทศตลอด​ 20​ ปีที่ผ่านมามันไม่เดินหน้าอย่างที่หลายคนมักพูดจริงๆ หรือไม่?
2. มองเข้ามาใกล้ตัวอีกว่า​ รายได้ต่อเดือนของคุณเมื่อ​ 20​ ปีที่แล้วมันไม่เพิ่มขึ้นจริงเหรอ​? และถ้ามันไม่เพิ่มแต่คนอื่นเพิ่ม​ สรุปเป็นที่ตัวเองหรือเป็นที่ตรงไหน​?
3. เราไม่มีโครงการพื้นฐานการพัฒนาประเทศใหม่ๆ​ เลยเหรอ?​
4. ไม่มีการกระจายความเจริญไปยังภูมิภาคเลยเหรอ?​
5. สิ่งที่มองเห็นจับต้องได้ไม่มีเลยเหรอ?​
6. หรือแค่เพราะตัวเองยังจนอยู่เพราะใช้ชีวิตแบบเดิมๆ​ ทำแบบเดิมๆ​ แต่หวังว่าจะเกิดผลลัพธ์ใหม่ๆ​ ที่ดีกว่า​ แต่พอไม่รู้สึกว่าชีวิตพัฒนาก็เลยมองทุกอย่างไม่พัฒนาไปหมด​ เพียงเพราะตัวเองไม่รวยขึ้น?
2
นี่คือคำถามที่อยากให้ลองมองในมุมต่างๆ รอบๆ ตัว
ถ้าศึกษาเรื่องการลงทุนในเวียดนามดีๆ จะรู้เลยว่าธุรกิจขนาดใหญ่ที่เคยเป็นของเวียดนามหลายธุรกิจ​ ถูกขายให้ต่างชาติเพียบ เพราะกฎหมายการลงทุนของเวียดนามต่างจากไทย เพราะสามารถให้สิทธิ์ต่างชาติถือหุ้นได้ 100% ส่วนไทยห้ามต่างชาติถือหุ้นใหญ่ สัดส่วนต้องไม่เกิน 50% เท่านั้น บริษัทด้านค้าปลีก สินค้าอุปโภคบริโถค และเกษตรกรรม ตกเป็นของไทยเกือบหมด​ ซึ่งทั้งเจ้าสัว​ไทยเบฟฯ และเจ้าสัว CP ก็ซื้อกิจการขนาดใหญ่ของเวียดนามไว้หมดแล้วครับ​ แทบจะกินรวบทั้งห่วงโซ่
ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิก​ ยานยนต์ ก็เป็นตลาดของเกาหลีที่กวาดไปทั้งอุตสาหกรรม​ อสังหาฯ​ ก็ทุนจีน​ - เกาหลี แม้แต่เรื่องโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาประเทศ​ เช่น​ ไฟฟ้า​ ถนน​ รถไฟฟ้า​ โรงพยาบาล​ ยังมีกลุ่มทุนจีนและไทย​ เกาหลี​ ญี่ปุ่น​ กว้านซื้อกิจการไว้เช่นกัน
ปัญหาคือ​ เอกชนเวียดนามก็ยังไม่แข็งแรงพอที่จะท้าชนกับบิ๊กเนมจากต่างชาติได้​ และถ้าเวียดนามไม่ปกป้องธุรกิจในประเทศของตัวเองหรือสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจภายในเพื่อแข่งขันกับต่างชาติ มันไม่ง่ายที่จะโตแซงใคร เพราะกว่าเวียดนามจะขึ้นมาจี้ท้ายตามไทยได้​ เวียดนามต้องแซงฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย​ให้ได้เสียก่อน ยิ่งอินโดนีเซีย​ คืองานหินของเวียดนาม ทั้งขนาดเศรษฐกิจและการลงทุน ถ้าผ่านมาได้ค่อยมาเจอกับไทย
ปัจจุบันการแข่งขันที่จะทำให้ประเทศก้าวกระโดดนั้นมันมีทางเลือกน้อยลงมากกว่าแต่ก่อน​ เพราะตลาดผู้บริโภคที่จะเข้าไปบุกไปเจาะ​ คนอื่นก็บุกเจาะทำกินกันหมดแล้ว​ เข้าไปทีหลังจะสู้อะไรกับเจ้าตลาดได้​ แต่สิ่งที่จะสู้ได้คือการเป็นเจ้าของนวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่และเป็นทิศทางที่ตลาดในอนาคตต้องการด้วย​ มันถึงจะสร้างมูลค่าที่มากเพียงพอจะยกเศรษฐกิจ​ทั้งระบบขึ้นมาได้​ ไม่ใช่การมีรถยนต์แห่งชาติ​ที่มีเจ้าตลาดเบอร์แข็งทั้ง​ ญี่ปุ่น​ เกาหลี​ ยุโรป​ อเมริกา ครองตลาดมาครึ่งค่อนศตวรรษ
หากหาจุดเด่นของตัวเองไม่ได้ก็ยากที่จะเติบโต​ ซึ่งกว่าเวียดนามจะไปถึงขั้นการสร้างนวัตกรรม​ให้เป็นที่ยอมรับระดับโลก​ ภายใต้แบรนด์​ Made in​ Vietnam 100% คงต้องใช้เวลาอีกหลายปีมาก​ เพราะขนาดประเทศมหาอำนาจใหม่อย่างจีน​ที่วางยุทธศาสตร์​ Made​ in​ China​ มานานนมก็ยังลบภาพจำเรื่องของไม่ดี​ของไม่มีคุณภาพ​ได้เลย​ ทั้งๆ​ นวัตกรรม​ของจีนมันมีที่ดีๆ​ และเป็นแบรนด์​ระดับโลกไปนานแล้วเช่น​ CRC, Huawei, Xiaomi, Tencent, Haier, Lenovo และแบรนด์​อื่นๆ​ มากมาย​ ซึ่งจีนใช้เวลากว่า​ 50​ ปี​ กว่าจะมาถึงจุดนี้
แล้วเวียดนามมีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันที่ตลาดโลกรู้ว่านี่คือแบรนด์​เวียดนาม​ นวัตกรรม​จากเทคโนโลยี​เวียดนามที่อยู่ในระดับโลกแล้วบ้าง?
1
ส่วนไทยแม้จะยังไม่ได้มีแบรนด์​ที่รู้จักในวงกว้างระดับโลกก็ตาม​ แต่แบรนด์​ไทยมีนวัตกรรมที่ต่อยอดจากการเรียนรู้จากประเทศผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีจนสร้างแบรนด์​ตัวเองขายได้ในระดับเอเชีย​ ทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า​ ​ห้างค้าปลีก​ แฟชั่น​ หรือแม้แต่สินค้าอุปโภคบริโภคที่แม้แต่คนไทยเองยังไม่รู้เลยว่านี่คือของไทยแท้ๆ​ 100% แต่เป็นชื่อภาษาต่างประเทศ​ เพราะมันจะต้องขายไปทั่วโลก​ และตลาดในไทยคนอาจจะไม่นิยม​ แต่มันไปนิยมที่ต่างประเทศให้พรึบ​ เพราะคนไทยก็ยังติดภาพของไทยไม่ดี​ ไม่สนับสินสินค้าไทย​ แต่หารู้ไม่ว่าในตลาดระดับเอเชีย​ และตลาดโลกมันขายได้อย่างสวยงาม
ดังนั้นหากเปลี่ยนทัศนคติ​คนไทยเรื่องการใช้แบรนด์​ไทยแทนแบรนด์​นอกไม่ได้ฉันใด​ คนในประเทศ​เพื่อนบ้านก็เปลี่ยนทัศนคติมาใช้แบรนด์​ตัวเองแทนแบรนด์​ไทยไม่ได้ฉันนั้น​ เพราะสมองมันถูกฝังไปแล้วว่า​ ของไทย=ของดี=ของมีคุณภาพ
นี่ไม่ใช่แนวคิดการเกาะใครกินหรือเกาะประเทศอื่นโต เพราะถ้าคิดแบบนั้น ต้แงเหมารวมไปถึงการที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกก็พยายามเกาะจีน ประเทศที่มีทั้งอำนาจซื้อ กำลังซื้อ และตลาดที่ใหญ่โตมโหฬารเพื่อให้ตัวเองเติบโตเช่นกัน แม้แต่สหภาพยุโรป เกาหลี จีน หรือตะวันออกกลาง แต่มันเป็นห่วงโซ่ทางเศรษกิจและการค้าที่มันเกี่ยวพันกันไปทั่วโลก
ส่วนประเทศไทยเองก็ไม่ใช่ว่าจะดีเลิศเลอเฟอเฟคอะไร เรามีปัญหามากมายที่หมักหมมรอวันต้องสะสางอีกเพียบ เพราะมันก็ซุกไว้ใต้เสื่อกันจนล้นออกมา ประหาเชิงนโยบาย ปัญหาเชิงโครงสร้าง และวิศัยทัศน์ของการมองไปข้างหน้าในฐานะประเทศชั้นนำ ซึ่งประเทศไทยยังต้องรื้อกันอีกหลายรอบกว่าจะเข้าที่เข้าทาง
แต่ภาคเอกชนไทยนั้นถือว่ามีความแข็งแกร่ง ผ่านวิกฤตต่างๆ มาด้วยตัวเองจนภูมิคุ้มกันต้องปัญญาต่างๆ ที่จะมากระทบ ต้องบอกเลยว่าประเทศเรายังไปข้างหน้าได้มาจนทุกวันนี้เพราะภาคเอกชนขับเคลื่อนกันสุดตัว ทั้งการลงทุน การบุกตลาด การออกไปแข่งขั้นสู้กับโลกกภายนอก สิ่งเหล่านี้เอกชนทำเองจนเกิดผลสำเร็จ แล้วรัฐบาลเพิ่งจะมาเล็งเห็นแล้วค่อยเดินตามเอกชน ซึ่งมันก็ช้ามากกว่าที่จะมองมาเห็น
แต่สิ่งที่ไทยยังต้องพัฒนาก็คือการสร้างนวัตกรรมที่เป็นยูนิคอร์นในโลกธุรกิจให้ได้ เพราะสร้างการเติบโตให้สามารถก้าวไปสู่ธุรกิจที่สร้างรายได้จากการเติบโตในระดับสากล ซึ่งตรงนี้อาจจะยังไปไม่ถึง เพราะหน่วยงานที่พร้อมสนับสนุนให้มันเกิดขึ้นจริงยังให้ความสำคัญน้อย สตาร์ทอัพต่างก็ต้องวิ่งหากลุ่มทุนมาซัพพอร์ตธุรกิจ และเมื่อธุรกิจนั้นเริ่มเติบโตขึ้น เอกชนรายใหญ่ที่มองเห็นโอกาสก็จะเข้ามาซื้อกิจการไปอยู่ในหน่วยธรุกิจแทน ไม่มีโอกาสได้เติบโตด้วยตัวเอง เพราะไม่ได้รับการผลักดันจากหน่วยงานส่งเสริมต่างๆ ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่ต้องเร่งพัฒนา ไม่อย่างนั้นเราจะไม่มีธุรกิจใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อก้าวไปสู่ระดับประเทศที่สูงขึ้น เพราะประเทศไทยหมดเวลาแล้วที่จะมาแข่งขันเรื่องค่าแรงถูกๆ กับเพื่อนบ้าน เพราะถ้าอยากแข่งค่าแรงต่ำๆ ก็คงต้องลดเงินเดือนให้เหลือเท่าเพื่อนบ้าน ซึ่งถามว่าจะยอมกันหรือไม่?
สุดท้ายนี้อยากบอกว่า​ ผมก็ยืนยันว่าเพื่อนบ้านควรเจริญ​ เจริญให้ได้มากที่สุด​ เพื่อผลประโยชน์ของประเทศตัวเองและคู่ค้าอย่างไทย​ และการชื่นชมเพื่อนบ้านไม่ใช่เรื่องผิด​ หรือชังชาตินะ​ แต่ขอให้รู้ข้อมูลที่จริง​ รู้ในระดับสถิติ​ ตัวเลข​ โครงสร้างสังคม​ หรือแม้แต่สัดส่วนการครองส่วนแบ่งทางการตลาด​ เพราะมันจะทำให้เรารู้ว่ามันเป็นอย่างที่สื่อชอบอวยกันไหม​ จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อกันง่ายๆ​ เวลาอ่านข่าวที่เต็มไปด้วยสำนวน​ "ตีหัวเข้าบ้าน"
โฆษณา