5 มิ.ย. 2020 เวลา 22:43 • ท่องเที่ยว
วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร
วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ สร้างในสมัย กรุงศรีอยุธยา ยุคนั้นเป็นวัดราษฎร์ เรียกว่า วัดเจ๊สัวหง หรือ แจ๊สัวหง หรือ เจ้าสัวหง หรือ วัดขรัวหง เพราะตั้งตามชื่อของเศรษฐีชาวจีนผู้สร้าง คือ นายหง
1
วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร วัดหลวงชั้นโท คณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งตามทะเบียนเลขที่ ๑๐๒ ถนนวังเดิม ๒ หรือ ถนนอิสรภาพ ๒๘ แขวงวัดอรุณเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ใกล้กับวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร และกองทัพเรือ (พระราชวังธนบุรีเดิม) ตั้งอยู่บนเนื้อที่ขนาด ๔๖ ไร่ ๑ งาน ๒๓ ตารางวา
จากหลักฐานประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๕ ว่าด้วยพระเจดีย์วิหาร ที่ทรงสถาปนาในรัชกาลที่ ๔ เรื่องที่ ๑๕ โดยมีเนื้อความว่า “วัดหงส์รัตนาราม วัดนี้ตามเดิมว่า วัดเจ้าขรัวหงส์ แล้วเปลี่ยนมาเป็น วัดหงสาราม
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ วัดเขมาภิรตาราม โปรดฯ ให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดหงส์ฯ การยังไม่ทันเสร็จ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงปฏิสังขรณ์ต่อมาจนสำเร็จ และพระราชทานนามว่า วัดหงส์รัตนาราม
ในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร ถือเป็นวัดที่มีสำคัญอย่างมาก ด้วยที่ตั้งติดกับพระบรมราชวังที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน
เดิมทีนั้นเป็นวัดแห่งนี้เป็นวัดร้าง ในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี บันทึกไว้ว่า ในปีพุทธศักราช ๒๓๑๔ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงอุปถัมภ์ปฏิสังขรณ์เป็นการใหญ่ทั่วพระอาราม พระอุโบสถ การเปรียญ เสนาสนะ และกุฏิ ได้ทรงสร้างใหม่ทั้งสิ้น และทรงสร้อยนามวัดอย่างเป็นทางการว่า วัดหงส์อาวาสวิหาร
1
วัดหงษ์อาวาสวิหาร แห่งนี้ อยู่ในราชูปถัมภ์ของ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มาตลอดรัชสมัยของพระองค์ และพระองค์มักเสด็จมานั่งวิปัสสนากรรมฐานในพระอุโบสถ หลังว่างจากพระภารกิจเสมอ
1
วัดหงษ์อาวาสวิหาร จึงนับว่าเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรือง และสวยงามวัดหนึ่งในยุคสมัยนั้น ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ประชาชนในละแวกใกล้เคียง จึงพร้อมใจกันสร้างศาลขึ้นที่ริมคลองคูวัดเชิงสะพานข้ามคลองหน้าวัด ด้านทิศตะวันตก เพื่อถวายเป็นพระราชอนุสรณ์เป็นแห่งแรก และปรากฏเป็นที่สักการะเคารพของประชาชนในท้องถิ่นแต่บัดนั้นเป็นต้นมา คือ ศาลเจ้าพ่อตากวัดหงส์ฯ
1
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงนำความเจริญทางด้านการศึกษา วางไว้เป็นฐานรากแห่งพระพุทธศาสนาที่วัดหงษ์อาวาสวิหาร หรือ วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร จึงเป็นแหล่งสรรพวิชา บ่มเพาะความรู้ขั้นสูงในยุคสมัยนั้น และเป็นชุมนุมสงฆ์ผู้รู้หลักนักปราชญ์ แห่งกรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร
1
นอกจากนี้ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ในปีพุทธศักราช ๒๓๓๓ สมเด็จพระลูกยาเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์ (เจ้าจุ้ย) ใน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เสด็จผนวช ณ วัดหงษ์อาวาสวิหาร (วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร) นี้ เมื่อพระชนม์ครบอุปสมบท ตลอดจนพระราชนิกูล และข้าใต้สำนัก ล้วนแต่อุปสมบทวัดแห่งนี้เกือบทั้งสิ้น และนอกจากนี้ สมเด็จพระอัครมเหสี (หอกลาง) กรมหลวงบาทบริจาสอน และพระเจ้าน้านางเธอ กรมหลวงเทวินทร์สุดา ได้เสด็จบำเพ็ญกุศล ฟังเทศน์ ถือศีลปฏิธรรมอยู่ ณ วัดแห่งนี้อยู่เนือง ๆ
พระอุโบสถ
เป็นอุโบสถขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของฝั่งธนบุรี (กว้าง 19.5 เมตร ยาว 42 เมตร) ประตูด้านนอกมีลวดลายปูนปั้นรูปหงส์และดอกไม้ ด้านในเป็นลวดลายสีแบบจีนปนฝรั่ง หน้าต่างด้านนอกกระจกสีน้ำเงินประดับลวดลายดอกไม้ปูนปั้นสีทองติดลูกกรงดัดรูปหงส์สวยงามมาก
พระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะในสมัยอู่ทอง (เป็นปูนปั้นลงรักปิดทอง) ขนาดหน้าตักกว้าง 2.6 เมตร สูง 3.5 เมตร ไม่มีพระนาม สันนิษฐานกันว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าพระประธาน เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์นวโลหะสีดำประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน ชื่อหลวงพ่อแสน เล่ากันว่าเชิญมาแต่เมืองเชียงแตงเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2401
ผนังในพระอุโบสถโดยรอบมีภาพจิตรกรรมฝาผนังบนแผ่นผ้าใบ เรื่องราวประวัติของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน บนภาพพระพุทธประวัติ มีภาพสีฝุ่นเทมเพอราในกรอบแก้วเล่าเรื่องราวของพระแก้วมรกต ผนังด้านหลังมีที่บรรจุอัฐิของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และภรรยา
วิหารหลังพระอุโบสถ "ศาลาตรีมุข"
มีพระพุทธรูปจำลองสมัยต่างๆ แต่ที่สำคัญคือ หลวงพ่อทองคำหรือหลวงพ่อสุข เป็นพระพุทธรูปทองคำ เดิมหุ้มปูนลักษณะเป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์อยู่ในวิหารร้าง
1
จนปี พ.ศ. 2499 เกิดรอยกะเทาะจึงเห็นเนื้อในเป็นทองสีสุก ปางมารวิชัยศิลปะสมัยสุโขทัยยุคกลางเนื้อทองคำผสมนวะโลหะ มีอักษรจารึกที่ฐานองค์พระว่า สร้างในปี พ.ศ. 1966 สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี
1
สระน้ำมนต์
ข้อมูลบางส่วนจาก : Wikipedia
*******************
เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลกกับพี่สุ … รวม link บทความที่เขียนในเพจ ..
***เมืองไทย ไดอารี่ by Supawan
***Supawan’s colorful world
***สถานีอร่อย by Supawan
โฆษณา