8 มิ.ย. 2020 เวลา 10:00
เมื่อ Fed จะเป็นแม่สิตางค์//หยุด! Yield curve หยุดโดยไม่มีอะไรกั้น! #YieldCurveControl
หยุด! Yield curveหยุดโดยไม่มีอะไรกัน
ล่าสุดกับตัวเลขการจ้างงานของเมกาที่ออกมาตบหน้านักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์กันฉาดใหญ่
จากคาดว่างานจะหายไป8ล้าน ดันโผล่เพิ่มมา2ล้านกว่า
สร้างแรงบรรดาลใจให้กับหลายคนว่าการฟื้นฟูเศรษฐกิจจะมาเร็วกว่าที่คิด//ใจแม่มาละ
ความหนักใจต่อไปคงต้องมาอยู่ที่ Fedที่กำลังจะมีประชุมในอาทิตย์นี้ว่าจะเอาไงต่อดี
โมเมนตัมการฟื้นฟูมาแบบนี้ ก็ต้องใส่นโยบายไรต่อไหมเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นต่อเนื่อง
โดยตอนนี้ที่ทำแล้วก็คือ Infinity QE, พร้อมทั้งนั่งยันนอนยันว่าดอกเบี้ยจะต่ำแบบนี้จนกว่าเศรษฐกิจจะแข็งแรง
สเต็ปต่อไปที่ Fed สามารถทำไรได้เพิ่มเติมเพือให้การฟื้นฟูยังมีโมเมนตั้มแบบนี้ มี2ทางเลือก
ทางเลือกแรก คือนโยบายดอกเบี้ยติดลบ แต่นางๆทั้งหลาย ก็ออกมายืนยันกันหนักแน่นว่าจะไม่ใช้
เพราะงั้นก็เหลือนโยบายการคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล หรือที่รู้จักกันว่า Yiled curve control
แล้วมันคือไร
คือเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลหรือ Yield curve เนี่ย มันก็คือดอกเบี้ย ที่รัฐบาลจะกู้เงินจากเราๆ ซึ่งก็มีหลายช่วงอายุ ไม่ว่าจะ3เดือน 6เดือน 1ปี จนไปถึง50ปีเลยนู้น
เช่น รัฐกู้เงิน 3เดือนให้ดอกเบี้ย 2%นะ แต่ถ้ารัฐจะกู้เงินยาวกว่านั้น เช่น10ปี ก้อจะให้ดอกเบี้ยสูงกว่านี้ เช่น 5%
ซึ่งดอกเบี้ยที่รัฐกู้ยืมในแต่ละช่วงอายุเนี่ย ก็จะร้อยเรียงตั้งแต่อายุ 1วัน ยัน50ปี ซึ่งเรตมันก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆตามอายุของพันธบัตรที่ยาวขึ้นเรื่อยๆ
Yield curve เองก็มีขึ้นมีลง ชันมากขึ้นหรือน้อยลงตามปริมาณการซื้อขายของพันธบัตรในตลาด
ซึ่งการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลในตลาด จะเป็นในลักษณะที่ว่า ยิ่งมีคนซื้อพันธบัตรมากดอกเบี้ยพันธบัตรนั้นจะลง กลับกันถ้าคนขายมาก ดอกเบี้ยพันบัตรจะสูงขึ้น//หลักการมูลค่าพันธบัตรคือถ้าดอกเบี้ยลงราคาตราสารจะขึ้น ดอกเบี้ยขึ้นราคาพันธบัตรจะลง
Yield curve เมกา
ประเด็นที่สำคัญต่อมาก็คือ การคงไว้ดอกเบี้ยพันธบัตรต่ำๆเนี่ย จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและเงินเฟ้อได้
เพราะนั่นก็หมายความว่าดอกเบี้ยกู้ยืมต่างๆของเอกชน และประชาชนก็จะต่ำไปด้วย ก่อให้เกิดการอยากใช้จ่ายหรือการลงทุนมากขึ้น
ตอนนี้ที่ Fed ทำอยู่คือการทำ Infinity QE ซึ่งคือการซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อกดอัตราดอกเบี้ย
แต่การทำ Yield curve control คือการกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลก่อน แล้วทำการซื้อขายเพื่อทำให้ดอกเบี้ยหยุดอยู่ตามที่กำหนด
เช่น Fed กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 2ปี ที่ 0.15% Fed ก็จะซื้อหรือขายพันธบัตรรุ่นอายุ 2ปีจนกว่าดอกเบี้ยจะหยุดที่ 0.15%
หยุด! หยุดที่0.15%โดยไม่มีอะไรกั้น//เสียงแม่สิตางค์
เพราะงั้น ถ้า Fed อยากรักษาโมเมนตัมการฟื้นฟูของเศรษฐกิจ ก็อาจจะกำหนดไปเลยว่า จะทำให้ดอกเบี้ยพันบัตร1ปี อยู่ที่ 0.1% เป็นเวลา2ปี
ภาคเอกชนก็จะมั่นใจละว่า ต้นทุนการกู้ยืมที่ต่ำแบบนี้ จะอยู่ไปอีก3ปี ซึ่งภาคเอกชนก็จะเริ่มใช้จ่ายและลงทุนมากขึ้นละ เพราะรู้ละต้นทุนต่ำอีกสักพักเลย
ข้อดีอีกอย่างนึงของ Yield curve control ก็คือ ปริมาณการซื้อพันธบัตรของ Fed น่าจะลดลง
ตัวอย่างมีให้เห็นในเคสประเทศญี่ปุ่น ที่ทำ Yield curve control ตอนปี 2016 หลังจากทำQEไปในปี 2013
ผลกลับกลายเป็นว่า ญี่ปุ่นมีแนวโน้มการซื้อพันบัตรที่ลดลง เมื่อเทียบกับตอนทำ QE
การซื้อพันธบัตรลดลงตั้งแต่ใช้ Yield curve control
เพราะงั้น ดูๆแล้ว มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่ Fed จะใช้ Yield curve control แม้อาจจะไม่ใช้ในรอบอาทิตย์นี้ แต่ก็น่าจะในปีนี้แหละ
ผู้รู้กูรูหลายคนเชื่อว่ามาแน่แม่!
สำหรับคนที่สงสัยว่าทำไมหลังทำ Yield curve control แนวโน้มการซื้อพันธบัตรของแบงค์ชาติจะลดลง ตามนี้ค่ะ
"สิ่งที่เกิดขึ้นคือว่า พอแบงค์ชาติกำหนดดอกเบี้ยพันธบัตรไว้ สมมติ Bond 10ปีที่ 1% ทำให้นักลงทุนจะเทรดBond อันนั้นที่1% หรือน้อยกว่าเท่านั้น เพราะทุกคนรู้อยู่แล้วว่ายังไงแบงค์ชาติต้องรับซื้อที่1%อยู่แล้ว แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือBond จะมีแรงซื้อจากกลุ่มนักลงทุนที่ต้องถือGoverment bond ตามกฎหมาย เพราะงั้นคนกลุ่มนี้ก็จะเข้ามาซื้อBond เปนอีกแรงสำคัญกดดันให้ดอกเบี้ยอยู่ที่1% ทำให้แบงค์ชาติไม่จำเป็นต้องเข้าไปซื้อเองค่ะ ประเด็นสำคัญที่จะเกิดผลแบบนี้คือ แบงค์ชาติต้องแสดงความน่าเชื่อถือทางด้านนโยบาย เช่นถ้าบอกว่าจะทำCurve control 2ปี ก็ต้อง2ปีนะ ไม่ใช่เริ่มเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาค่ะ การแสดงความเชื่อมั่นให้กับตลาด นักลงทุนจะเปนแรงสำคัญในการเข้าซื้อBond จะไม่เปนภาระแบงค์ชาติมากค่ะ แต่ในทางกลับกัน ถ้าแบงค์ชาติดูลังเล กลับไปกลับมา นักลงทุนจะไม่มั่นใจ จะไม่มีใครเข้าไปซื่อBond ค่ะ เพราะไม่รู้ว่าดอกเบี้ยจะเด้งขึ้นตอนไหน(การที่ดอกเบี้ยสูงขึ้นหมายความว่าBond ที่เราถืออยู่มูลค่าจะลดลดหรือก้อคือ ขาดทุนนั้นเอง) ทำให้แบงค์ชาติต้องเปนคนซื้อ Bond เองฝ่ายเดียวค่ะ"
โฆษณา