8 มิ.ย. 2020 เวลา 17:50 • ปรัชญา
เวลาคืออะไร มีอยู่จริงหรือไม่? Part3
What is real time there? ตอนที่3
ความเข้าใจในเรื่องเวลา และการวัดค่าของเวลา รวมไปถึงความเข้าใจในเรื่องของแรงโน้มถ่วง ทำให้มนุษย์เราสามารถที่จะนำความรู้ดังกล่าวมาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ รอบตัว ถ้าว่าตามทฤษฎีของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert einstein)
เครดิตภาพ: https://sites.google.com/site/gravitytheworld2543/
ด้วยกระบวนการคิดและการทดลองในทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ
ทำให้การเข้าถึงความจริงเกี่ยวกับปริศนาของจักรวาล
และการสืบค้นหาความเป็นไปของสิ่งที่อยู่นอกพ้นจากโลก
รวมถึงสิ่งที่มีขนาดเล็กมากในระดับอะตอม
ที่แนวคิดหรือกฎของนิวตันไม่สามารถที่จะให้คำอธิบายได้เพียงพอ
การออกแบบนาฬิกาที่มีเสถียรภาพมากขึ้นและเบาขึ้นอาจเป็นประโยชน์มหาศาลต่อการบอกทิศทาง ทั้งยังเป็นการยกระดับความแม่นยำและความน่าเชื่อถือของระบบระบุตำแหน่งทั่วโลก (GPS)
เครดิตภาพ: https://www.networkworld.com
เมื่อมีนาฬิกาที่ดีช่วยให้ NASA ติดตามดาวเทียมได้ดีขึ้น ทำให้การสาธารณูปโภคและธุรกิจการสื่อสารสามารถสืบหาร่องรอย แต่ของบางอย่างก็อาจคิดเยอะไปเช่น เสียงบประมาณประดิษฐ์ปากกาที่น้ำหมึกสามารถใช้ได้ในสภาวะไร้น้ำหนัก แทนที่จะใช้ดินสอแท่งละสองบาทธรรมดาๆ เขียนจดนั่นนี่ก็เอาอยู่ละประมาณนั้น...
-เวลากับความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ และการได้มาซึ่งความรู้-
1
ความเข้าใจแนวคิดเรื่องของเวลา
ตามทฤษฎีของ ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton)
มองเวลาเป็นสิ่งสัมบูรณ์ (Absolute Time)
แม้เราจะสงสัยถึงการมีอยู่ของเวลาว่า
ถ้าหากในสภาวะที่เอกภพว่างเปล่า
เวลาจะมีจริงหรือ??
หากนำคำถามนี้ไปถามนิวตัน ตั้งแต่Partที่๑
สามารถให้ข้อสรุปได้ว่า ไม่ว่าจะแย้งหรือถามเอาความอย่างไร
นิวตันก็ยังคงยืนกรานหัวชนฝาอยู่ว่า
"เวลานั้นต้องมีอยู่" และเป็นเวลาแท้ (Real Time)
ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton) /เครดิตภาพ: https://fotopipez.ru
เหตุเพราะ ถ้างั้นเราจะแสวงหาเครื่องมือต่างๆ มาวัดสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงได้อย่างไรหากมันไม่มีอยู่จริง...
เช่นเดียวกันกับเวลา มนุษย์ในปัจจุบันวัดค่าของเวลาสัมพัทธ์ (Relative Time) ออกมาเป็นค่าต่างๆ ตั้งแต่ วินาที ชั่วโมง วัน เดือน ปี ฯลฯ ได้อย่างไรกัน ถ้าหากว่า “เวลา” นั้นไม่มีจริง ใช่มะ... นิวตันว่าอย่างนี้
ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีสัมพัทธภาพของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert einstein)ดังที่ผู้เขียนเรียบเรียงได้เสนอมาบางส่วน ข้อสงสัยอีกประการหนึ่งของท่านผู้อ่านคงมาถึงจุดที่ว่า แล้ว เวลา (Time) และพื้นที่ (Space) มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรกับการได้มาซึ่งความรู้ในสังคมมนุษย์
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ Albert einstein
เมื่อมีการดำรงอยู่ของสิ่ง (Thing) ไม่ว่าอะไรก็ตาม
แน่นอนล่ะการมีอยู่นั้นจำเป็นต้องมีการครองที่ครองเวลา
Space & Time เวลาและอวกาศ (ซึ่งหมายถึงพื้นที่กับเวลาจะคู่กันเสมอ)
*หมายความว่าต้องมีพื้นที่เพื่อรองรับการมีอยู่
และอาศัยเวลาเป็นตัวดำเนินไป***
เครดิตภาพ: https://www.flickr.com
เวลาเป็นเงื่อนไขของปรากฏการณ์ (Condition of phenomenon) และขณะเดียวกัน เวลายังเป็นตัวชี้วัดข้อจำกัดของปรากฏการณ์ (make the world limited) อีกด้วย
การได้มาซึ่งความรู้หรือการแสวงหาความรู้เอง เวลาและพื้นที่ ต่างมีความสำคัญกันอย่างแยกไม่ได้
ไม่ว่าในสังคมใดก็ตามจะมีวิธีการอธิบายปรากฏการณ์แวดล้อมหรืออธิบายสิ่งต่างๆ ด้วยชุดคำอธิบายหนึ่ง เช่น ในคติไทยภาคกลางเดิมอธิบายการเกิดฟ้าแลบฟ้าร้องว่ามาจากนางมณีเมขลาล่อแก้วและรามสูรขว้างขวาน
นางมณีเมขลาล่อและรามสูร
คตินี้เป็นการอธิบายต่อปรากฏการณ์ธรรมชาติในสังคมไทย และดำรงอยู่เป็นชุดความคิดหรือกระบวนทัศน์เช่นนั้นเรื่อยมา
1
จนกระทั่งกาลเวลาผ่านไป เกิดความวิวัฒน์ทางความรู้มากขึ้น ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ได้เผยพร่เข้าสู่พื้นที่ (Space) ที่มีคติเมขลากับรามสูร
แล้วทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างชุดคำอธิบายสองชุดคือ
ชุดเดิมเรื่องเมขลารามสูร กับ ชุดคำอธิบายแบบใหม่ของวิทยาศาสตร์ว่า การเกิดฟ้าแลบฟ้าร้องเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ไม่ได้อิงกับเทพเจ้าหรืออสูตรตนใดเลย ความคิดดั้งเดิมของคนไทยจึงเปลี่ยนไป
อาจเพราะภายหลังคนเราเห็นข่าวพยากรณ์อากาศทางทีวี มีฟ้าแลบฟ้าร้องหลายที่ซะเหลือเกิน ตกลงนางมณีเมขลากับยักษ์รามศูร มีกันกี่คู่กี่คน แว๊ปไปแว๊บมาที่นั่นทีที่โน่นทีน่ะเหรอ ไม่เหนื่อยหรือไง อะไรจะโกรธกันได้ตลอดทั้งปีทั้งชาติ??
เครดิตภาพ: https://www.newtv.co.th
ความรู้ต่อการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ รอบตัวก็เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน
ยุคสมัยเปลี่ยน ความคิดเปลี่ยน และพื้นที่ที่มีผลต่อการสร้างชุดคำอธิบายเพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้กันทำให้พื้นที่กว้างขวางขึ้น หรือเมื่ออยู่ในบริบทแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างไป
ชาติตะวันออก กับ ตะวันตก ต่างพื้นที่ ต่างสังคมวัฒนธรรม วิถีชีวิตในยุคสมัยต่างกันไป การอธิบายความรู้ถึงสิ่งๆหนึ่งหรือปรากฏการณ์หนึ่งๆ ของผู้คนในสังคมนั้นก็มีความแตกต่างไปด้วยเช่นกัน
มาถึงยุคสมัยที่โครงสร้างสังคมได้เชื่อมต่อกันอย่างไร้พรมแดน ด้วยโซเชียลมีเดียและอินเตอร์เน็ต อาจตะต้องตั้งคำถามระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องราวที่มักผูกติดกันมาจากคัมภีร์ทางศาสนา
การตั้งคำถามประเด็นทางปรัชญาวิทยาศาตร์ จะทำให้เราเข้าใจศาสนาและภูมิปัญญาของคนโบราณที่ต้องถ่ายทอด เรื่องราวและคติธรรมบางอย่างได้อย่างแยบยลและลึกซึ้ง
เครดิตภาพ: https://moneyhub.in.th
เกี่ยวกับเวลาและอวกาศ(Space&Time) เรื่องราวในพระพุทธศาสนาที่บันทึกในคัมภีร์และมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของชุมชนชาวพุทธมากเรื่องหนึ่งก็คือ ในสมัยหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดเทพบุตรพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พูดง่ายๆคือไปเยี่ยมโยมแม่บนสวรรค์
พระนางสิริมหามายา...(โอ้แค่ชื่อก็กินขาดละ งดงามดุจภาพมายาประมาณนั้น)เมื่อตอนประสูติพระโอรสก็คือเจ้าชายสิทธัตถะ ได้สัก๗วันแล้วเนี่ย ก็เสด็จสวรรคต(ตาย) เป็นธรรมเนียมของพุทธมารดา คัมภีร์ว่าอย่างนั้น
แต่ที่พีคมาอีกนิดคือ เมื่อเปลี่ยนภพแล้ว สภาพของพระนางฯจากผู้หญิงเปลี่ยนเป็นเทวดาผู้ชาย จึงใช้คำว่า "เทพบุตรพุทธมารดา" ผู้เขียนคงอธิบายเข้าใจนะครับ
พระนางสิริมหามายา/เครดิตภาพ:https://www.dmc.tv
ประเด็นมันอยู่ตรงนี้ครับ คือถ้าอ่านถ้าฟังผ่านๆไม่ว่าฟังเทศน์หรืออ่านพระไตรปิฎก อ่านชาดกหรือพุทธประวัติอะไรก็ตามแต่ บางท่านก็อาจจะมีความคิดว่ามันเหมือนนิทานบ้างล่ะ หรือไม่ได้ใส่ใจ เขียนมาเล่ามาก็ว่ากันไป แต่ถ้ามองเรื่องนี้โดยปรัชญาวิทยาศาสตร์ เรื่องนี้น่าสนใจ!
1
พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดเทพบุตรพุทธมารดา และทรงแสดงพระอภิธรรม คือธรรมอันยิ่ง เรียกว่าเทศนาขั้นเทพจริงๆเพราะเทศน์ให้เทวดาฟัง จุดสำคัญตรงนี้ครับ ใช้เวลาแสดงพระอภิธรรม ๓เดือนบวกลบนิดหน่อย เอาว่าตลอดทั้งพรรษานั่นแหละ คำถามคือ ใช้หน่วยเวลาของมนุษย์หรือสวรรค์...
อายุของเทวดาแต่ละชั้นยืนยาวมากและไม่เท่ากันด้วย ตามกำลังบุญเขาว่างั้น เทียบแบบอ่อนๆ เวลา๑วันบนสวรรค์ชั้นดาวดึงที่พูดถึงนี้ เท่ากับ๑๐๐ปีของเวลามนุษย์ เพราะงั้นมันก็ต้องเป็นเวลา๓เดือนของมนุษย์ ก็หมายความว่าพระพุทธเจ้าเสด็จไปเยี่ยมโยมแม่แป๊บเดียวเองนะ
เสด็จกลับจากภพดาวดึงส์หลังจาก๓เดือน เครดิตภาพ:https://www.dmc.tv
คำนวนดีๆอาจจะไม่กี่นาทีเท่านั้นในหน่วยเวลาของดาวดึงส์ ทักทายปราศัยพอเหมาะพอควร เทศนาซักกัณฑ์ ให้พรแล้วกลับประมาณนั้น
ถ้าเทศน์บนสวรรค์๓เดือน ป่านนี้ก็คงยังไม่ได้เสด็จกลับล่ะ แล้วกิจกรรมอย่างอื่นเทวดาทั้งหลายไม่ต้องไปทำหรือไงใช่มะ...นี่ว่าตามทฤษฎีของไอน์สไตน์ (Albert einstein) เลยนะ อันนี้แล้วแต่วิจารณญาณท่านผู้อ่าน ผู้เขียนแค่ชงเรื่องเท่านั้นบอกไว้ก่อน...
เรื่องทำนองนี้มีเยอะในคัมภีร์ทางศาสนา สังเกตุดีๆจะมีวิทยาศาตร์มาเกี่ยวข้องเสมอ อย่างตอนที่พระพุทธเจ้าแสดง ยมกปาฏิหาร แสดงฤทธิ์ให้เมล็ดมะม่วงโตเป็นต้นทันที นี่คือการตัดแต่งพันธุกรรมGMO อย่างหนึ่งเลยนะ เขย่าโมเลกุลพืช ให้ทั้งโตไว ใหญ่ อึด ทน ทำยังไงไม่รู้ล่ะแต่ว่าคนสมัยนี้ก็เริ่มวิจัยทำได้ละ อาจจะไม่พรวดพราดปุ๊บปั๊บ แต่ก็โตเร็วขยายพันธุ์ได้มากขึ้นจริงๆ...
เครดิตภาพ: https://www.pinterest.com
คิดดูสิครับพระพุทธเจ้าจะอธิบายให้แขกอินเดียสมัยนั้นเข้าใจเรื่อง อะตอม เรื่องโมเลกุล ทฤษฎีควอนตัม อนุภาคนู่นนี่นั่นยังไง ศัพท์แสงก็ต้องเทียบเอากับเหา, ข้าวสาร กับขนจามรี อะไรทำนองนั่นแหละครับ ชาวบ้านถึงจะเข้าใจ...
ปล. สำหรับท่านที่เพิ่งเข้ามาอ่านPartที่๓ อาจจะยังงงบ้าง ผมแปะลิ้งค์ สองPartก่อนหน้าไว้ให้ เรื่องมันจะต่อเนื่องกันครับ
แหล่งอ้างอิง
1. พระไตรปิฎกภาษาบาลี-ไทย. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
2. ศรพราหมณ์ วรอุไร,บริบทเรื่องเวลาและพื้นที่กับการรับรู้ของมนุษย์
3. สมภาร พรมทา, ความเร้นลับของเวลา.
4. Scientific American, เรื่องของเวลา ,แปลโดยปิยบุตร บุรีคำ..
5. Karl Adolph Gjellerup(คาร์ล แอดอล์ฟ เกลเลอโรป), กามนิต.
-วิรุฬหก-
โฆษณา