9 มิ.ย. 2020 เวลา 16:14 • ธุรกิจ
บทความเป็นบทความต่อจากบทความที่แล้ว...
หัวข้อ วิธีเลือกหุ้น ตามสไตล์ VI หรือ Value Investor
หากใครยังไม่ได้ไปอ่านบทความที่แล้ว ผมข้อแนะนำให้ไปอ่านบทความที่แล้วก่อนนะครับ เดี่ยวอ่านแล้วจะงงๆ
ครั้งที่แล้วผมได้พูดถึง การเลือกหุ้น สไตล์ VI หรือ Value Investor จะมีวิธีการหรือขั้นตอนการเลือกหุ้นอยู่ด้วยกันทั้งหมด 6 ขั้นตอนนะครับ
ขั้นตอนที่ 1 คือ หาหุ้นบริษัทดีเข้าพอร์ต
ขั้นตอนที่ 2 คือ ซื้อหุ้นเมื่อราคาถูก
ขั้นตอนที่ 3 กระจายความเสี่ยงด้วยการลงทุนหุ้นในจำนวนที่เหมาะสม
ขั้นตอนที่ 4 ติดตามผลดำเนินงานของหุ้นที่เราซื้ออย่างต่อเนื่อง
ขั้นตอนที่ 5 ลงทุนระยะยาว ก็ลดความเสี่ยงได้แล้ว
ขั้นตอนที่ 6 ศึกษาหุ้นดี และหาหุ้นดีอย่างต่อเนื่อง
บทความที่แล้วผมได้พูดถึง ขั้นตอนที่ 1 และที่ 2 ไป
ครั้งนี้ผมจะมาต่อในขั้นตอนที่ 3,4,5 และ 6 กันนะครับ
เรามาต่อขั้นตอนที่ 3 กันเลยนะครับ คือ กระจายความเสี่ยงด้วยการลงทุนหุ้นในจำนวนที่เหมาะสม
แน่นอนว่าการลงทุนทุกอย่าง ล้วนแล้วมีความเสี่ยงทั้งสิ้น แต่เราก็สามารถจัดการความเสี่ยงได้เช่นกันและวิธีนี้เป็นวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นง่าย ถึงง่ายที่สุด ทุกท่านอาจจะเคยได้ยินคำกล่าวนี้ที่ว่า
" Don’t put all your eggs in one basket " หรือ เราไม่ควรนำไข่ไว้ในตะกล้าใบเดียว
ที่มา: https://pantip.com/topic/36298129/desktop
เพราะถ้าหากตะกล้าเราตกหล่นลงพื้น ไข่ในตะกล้าของเราก็จะแตกหมด ซึ่งก็เปรียบเหมือน เราไม่ควรลงทุนในหุ้นเพียงบริษัทเดียว อุตสาหกรรมเดียว เพราะหากอะไรผิดพลาดไป เราก็มีโอกาสสูญเสียเงินลงทุนของเราหรือส่วนใหญ่ไป แล้วคำถาม? เราควรจะมีหุ้นอยู่กี่บริษัทในพอร์ตของเราหล่ะ?
ตามทฤษฏีกล่าวว่า ถ้าหากจะกระจายความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ ต้องมีหุ้น 30 บริษัทในพอร์ตการลงทุนขึ้นไป ถึงจะลดความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ( Unsystematic Rick ) ได้ แต่ถ้าเราซื้อทั้ง 30 บริษัทเราคงไม่ไหวหรือหากเกิดอะไรกับหุ้นของเราทั้ง 30 ตัวเราคงติดตามหุ้นของเราไม่ทันแน่ แล้วเราควรมีกี่ตัวหล่ะ ?
ที่มา: https://www.bbalectures.com/systematic-risk-and-unsystematic-risk/
คำตอบคือ ในหนังสือบอกว่า ขึ้นอยู่กับความสามารถในการติดตามหุ้นวิเคราะห์หุ้นที่อยู่ในพอร์ตเรา อย่างน้อยเริ่มต้นจาก 5 บริษัทก่อนแต่ไม่ควรต่ำกว่า 5 บริษัท เพราะว่า หากเราเกิดเลือกผิด 1 บริษัทจะมีผลต่อผลตอบแทนมากเกินไป แต่หลังจากกลยุทธ์เราเริ่มเเข็งแล้วก็ค่อยๆเพิ่มขึ้นไป
จากประสบการณ์ของคุณกวีบอกว่า ไม่ควรเกิน 15 บริษัท เพราะจะงานหนักเกินไปในการติดตามวิเคราะห์หุ้น ดังนั้น หากเราเลือกหุ้นที่พื้นฐานดีในราคาที่ถูกที่ตามขั้นตอนที่ 1 และ 2 จากบทความที่แล้วเราก็สามารถลดความเสี่ยง Unsytematic Risk ได้มากอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องกระจายความเสี่ยงตามทฤษฏีเป๊ะก็ได้
ขั้นตอนที่ 4 ติดตามผลการดำเนินงานของหุ้นที่เราซื้ออย่างต่อเนื่อง
ขั้นตอนนี้ดูผิวเผินแล้วอาจจะไม่ยาก แต่เวลากลับไปปฏิบัติจริงกลับไม่ได้เป็นอย่างนั้นเพราะ เป็นงานที่ต้องอาศัยทั้ง ทักษะ ความอดทน และ การตัดสินใจที่เด็ดขาด ปกติแล้วบริษัทจะมีการประกาศผลประกอบการทุกๆไตรมาส (ทุกๆ3เดือน) หรือ อย่างช้า 45 วันหลังปิดงบทุกไตรมาส แต่หากเป็นงบปี หรือ งบกลางปี บริษัทจะรายงานไม่เกิน 60 วันหลังปิดงบการเงินแล้วงบอะไรหล่ะที่เราจะนำมาวิเคราะห์
คำตอบคือ งบแต่ละไตรมาส ให้เราติดตามทุกครั้งว่า ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่เราถือหุ้นอยู่ มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ หากเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นก็ไม่เป็นไร แต่หากเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง เราควรต้องนำมาวิเคราะห์ต่อว่าเป็นเพราะอะไร เพื่อที่เราจะได้นำมาประกอบการตัดสินใจต่อไป แล้วเราจะวิเคราะห์อะไรหล่ะ ?
สิ่งที่เราจะวิเคราะห์คือ
อัตราส่วนทางการเงินใดเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ ถ้าเปลี่ยนแปลงไป เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นกว่าเดิมหรือแย่กว่าเดิมรึเปล่า (การวิเคราะห์อัตราส่วนเป็นการวิเคราะห์ในขั้นตอนที่ 1 คือ หาหุ้นบริษัทดีเข้าพอร์ต เดี่ยวเรื่องนี้ผมจะมาเขียนแยกอีกที เพราะ เป็นเรื่องที่ละเอียดและซับซ้อนพอสมควร) ถ้าสิ่งที่เราะวิเคราะห์ได้แล้ว พบว่าบริษัทนี้เริ่มไม่เป็นไปตามที่เราคาด เราควรตัดสินใจขายหุ้นตัวนั้นออกไป แต่การตัดสินใจขายหุ้นออกไปนี้แหละเป็นเรื่องที่ต้องใช้การตัดสินใจยากมากถึงยากที่สุด
เพราะ อาจจะกลัวว่าถ้าเราวิเคราะห์ผิด หรือ ถ้าหากเราขายไปราคาหุ้นจะกลับขึ้นไปใหม่หรืออะไรอีกหลายอย่างที่กังวลไปก็ตาม แต่หากเราพบสิ่งที่ผิดปกติในผลประกอบการอย่างถาวรต่อบริษัทของเราที่เราถือหุ้นอยู่ (หรือ พื้นฐานหุ้นในระยะยาวเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง) การขายหุ้นนั้นออกไปน่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะ เราต้องเข้าใจอยู่เสมอว่าเราเป็นนักลงทุนประเภท VI การถือหุ้นระยะยาวนั้นถือเป็นหัวใจของนักลงทุนประเภทนี้ ดังนั้น เราจะขายหุ้นบริษัทที่เราถืออยู่ก็ต่อเมื่อ บริษัทที่เราถืออยู่มีพื้นฐานในระยะยาวเปลี่ยนไปเท่านั้
ขั้นตอนที่ 5 ลงทุนระยะยาว ก็ลดความเสี่ยงได้แล้ว
การลงทุนในหุ้นถ้าเราลงทุนได้นานพอ (20 ปีขึ้นไป) การลงทุนในตลาดหุ้นไทยจะสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยเป็นบวกเสมอ ดังนั้น การลงทุนระยะยาว 20 ปีขึ้นไป จะบอกว่าง่ายก็ง่าย แค่ถือหุ้นระยะยาว แต่จะบอกว่า ยากก็ยาก เพราะเราไม่มีความอดทนเพียงพอ ลองถามตัวเองว่า หากเห็นราคาหุ้นขึ้นมามากกว่า 100% ภายใน 1 ปี เรามีความอดทนไม่ขายหรือเปล่า เราจะเสียดายหรือเปล่าหากเราไม่ขาย หรือ บางทีพอเห็นราคาหุ้นลงมา 20% ก็กลัวว่ามีอะไรเกิดขึ้นหรือเปล่า เลยแปลงร่างกลายเป็นกระต่ายตื่นตูมขายหุ้นออกไป
เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาที่เราถือหุ้นและก็บ่อยด้วยสิ แต่จากประสบการณ์ของคุณกวีในการลงทุนระยะยาว 16 ปีที่ผ่านมาและผ่านวิกฤตใหญ่มา 2 ครั้งคือ วิกฤติต้มยำกุ้งและวิกฤติซับไพรม์ของสหรัฐ รวมถึงวิกฤติย่อยๆมานับไม่ถ้วน บอกในหนังสือเล่มนี้ว่า
หากบริษัทที่เราลงทุนเป็นบริษัทที่ดีจริงๆไม่ว่าจะเกิดวิกฤตกี่ครั้ง ราคาหุ้นของบริษัทเหล่านี้กลับขึ้นมาทำจุดสูงสุดทุกครั้ง ดังนั้น "จงอย่าเสียเวลาคาดการณ์ทิศทางของราคาหุ้นเพราะคุณไม่มีวันถูก 100% แม้ถูกแค่ 60-70% ยังยากเลย แต่จงใช้เวลาไปกับการคัดเลือกหุ้นและติดตามผลการดำเนินงานของหุ้นบริษัทที่เราซื้อดีกว่า"
เรามาดูรูปต่อไปนี้กันดีกว่าครับ
ที่มา: https://bear-investor.com/2018/07/29/stocks-returns-long-term-performance/
หากเราลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นไทย ด้วยจำนวนเงิน 10,000 บาท ผ่านไป 43 ปี จากเงิน 10000 บาทจะกลายเป็น 1,243,314 บาท (ผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้นไทย อยู่ที่ 12% ต่อปี)
ที่มา: TEDx Talks kevee Chukitkasem
หรือ หากเราเปลี่ยนจากการซื้อลอตเตอรี่เดือนละ 760 บาท (ค่าเฉลี่ยคนไทยซื้อลอตเตอรี่ต่อเดือน) เป็นลงทุนในหุ้นระยะเวลา 38 ปี และในปีที่ 38 คุณจะได้เงิน 7 ล้านบาท ซึ่งนั้นแปลว่า เราก็สามารถถูกลอตเตอรี่ได้ทุกคน
ขั้นตอนที่ 6 ศึกษาหุ้นดีและหาหุ้นดีอย่างต่อเนื่องโดยเริ่มขั้นตอนที่ 1 อีกครั้ง
สิ่งที่อธิบายมาทั้งหมด 5 ขั้นตอนนั้น เป็นแค่จุดเริ่มต้นของการคัดเลือกหุ้นเท่านั้น ซึ่งบางครั้งถ้าเราทำตามขั้นตอนที่ 1 เราได้บริษัทที่ดีมามาก มากเกินกว่าที่เราจะถือได้ทั้งหมด หรือ หุ้นของบริษัทที่ดีราคาแพงเกินไปยังไม่ถึงเวลาซื้อ เราควรเก็บหุ้นเหล่านั้นไว้ในลิสของเราก่อนและติดตามหรือตรวจสอบสถานะความดีของหุ้นเหล่านั้นตลอด
แม้ว่าเราจะไม่ได้ถือหุ้นเหล่านั้นก็ตาม จนกว่าจะถึงจังหวะในการซื้อ และ เราควรคัดเลือกหาหุ้นของบริษัทดีอย่างต่อเนื่องตลอดอายุการลงทุนของเรา เพราะหุ้นของบริษัทที่ดีบางครั้งราคาหุ้นอาจจะแพงเกินไปที่เราจะซื้อตอนนี้และบางครั้งหุ้นในพอร์ตที่เรามีอยู่เวลาผ่านไปพื้นฐานของหุ้นอาจจะเปลี่ยนไปและมีหุ้นที่พื้นฐานดีกว่าเราอาจจะจำเป็นต้องขายหุ้นที่พื้นฐานแย่ลงหรือราคาเริ่มแพงขึ้น มาซื้อหุ้นของบริษัทที่เราคิดว่าดีกว่าทั้งพื้นฐานและราคา
ดังนั้นตามกฏของ VI เราจะจะขายหุ้นที่อยู่ในพอร์ตเรา
2 สาเหตุด้วยกัน คือ
1.พื้นฐานเปลี่ยนไปในทางลบในระยะยาว
2.มีบริษัทดีกว่าทั้งพื้นฐานและราคาให้เราซื้อ หากไม่ใช่ทั้ง 2 ข้อก็ไม่จำเป็นต้องขาย
หนังสือ เพาะหุ้นเป็น เห็นผลหยั่งยืน
โฆษณา