10 มิ.ย. 2020 เวลา 23:11 • ท่องเที่ยว
วัดบ้านเด่นสะหลีศรีเมืองแกน เชียงใหม่
2
ศรัทธา .. ความศักดิ์สิทธิ์ของสิ่งๆหนึ่งขึ้นอยู่กับความศรัทธา
เมื่อเรามีความศรัทธาต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง .. ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นแค่ก้อนหิน ก้อนหินนั้นก็จะกลายเป็นของศักดิ์สิทธิ์ได้ แต่ถ้าเราไม่ศรัทธา ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นพระธาตุมาจากไหนก็ตาม สิ่งนั้นจะไม่มีความศักดิ์สิทธิ์เลย
4
ความศักดิ์สิทธิ์จะเกิดขึ้นได้... ก็ต่อเมื่อเราศรัทธาในสิ่งนั้น
วัดเด่นสะหลีเมืองแกน หรือที่ชาวบ้านเรียกกันสั้นๆ ว่า “วัดบ้านเด่น” ตั้งอยู่ที่ ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ .. วัดแห่งนี้เดิมมีชื่อ “วัดสหรีศรีบุญเรือง” สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2437 .. แต่ด้วยเหตุที่ทำเลที่ตั้งของวัดอยู่บนเนินเตี้ยๆ สามารถมองเห็นวิวทุ่งนา และบ้านเรือนละแวกใกล้เคียงอย่างชัดเจน .. และใต้เนินนั้นเป็นถ้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านพากันนับถือ จึงเรียกวัดนี้กันว่า “วัดบ้านเด่น”
2
ครูบาชัยยา วัดป่าป้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ได้มาเป็นองค์ประธานริเริ่มการก่อสร้างวัดบ้านเด่น .. ต่อมา ในวันศุกร์ ที่ 9 มีนาคม พุทธศักราช 2531 คณะศรัทธาวัดบ้านเด่นจึงไปกราบอาราธนานิมนต์ ครูบาเจ้าเทือง นาถสีโล วัดหัวดง ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ มาเป็นประธานในการก่อสร้างศาสนสถานสมบัติทั้งหมดภายในวัดบ้านเด่น ตลอดเรื่อยมาถึงปัจจุบัน
1
ชื่อวัดดั้งเดิมมีแค่คำว่า วัดบ้านเด่นเฉย ๆ .. แต่นับจากที่ท่านครูบาเจ้าเทือง นาถสีโล มาจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ .. จากวัดที่ไม่เคยมีต้นโพธิ์เลยสักต้นเดียว ก็มีต้นโพธิ์ขึ้นมากมาย และด้วยความที่ชาวเมืองเหนือเรียกต้นโพธิ์ว่า “ต้นสะหลี” ซึ่งมีความหมายว่าเป็นมงคลดี ก็เลยเอามาตั้งเป็นชื่อวัดเพื่อเป็นสิริมงคลแก่วัด
1
นอกจากจะแวดล้อมด้วยภูมิทัศน์ที่สวยงามแล้ว ที่ตั้งของวัดยังอยู่ในเขตเมือง เก่าโบราณที่เรียกว่า เมืองแกน ชาวบ้านเลย เรียกชื่อวัดนี้เต็มๆ ว่า "วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน"
1
เดิมวัดแห่งนี้เป็นเพียงวัดเล็ก ๆ เท่านั้น .. แต่ด้วยแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อท่านครูบาเจ้าเทือง นาถสีโล เกจิดังแห่งภาคเหนือที่จำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ จึงมีการพัฒนาจากวัดเล็ก ๆ ให้มีความใหญ่โตสวยงาม ทรงคุณค่าในงานพุทธศิลป์ถิ่นล้านนา
2
ท่านครูบาเจ้าเทือง มีลูกศิษย์ลูกหาที่ให้ความเคารพนับถือมากมาย ทั้งชาวไทย จีน ไทยใหญ่ กะเหรี่ยง และชาวเขาหลายเผ่า ... เป็นที่เรียกขานว่า เป็น “เกจิสหาย” หรือ “ครูบาสองพี่น้อง” คู่กับกับ “ครูบาบุญชุ่ม” เกจิดังแห่งสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งหากรูปใดรูปหนึ่งมีงานบุญสำคัญก็จะไปร่วมงานกัน และมีประชาชนที่ทราบข่าวแห่กันไปร่วมกราบไหว้ขอพรอย่างเนืองแน่นเสมอ
2
ชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธา มักจะนำเงินมาถวายเป็นปัจจัยในการทำบุญเพิ่มขึ้นอยู่เนืองๆ .. ท่านครูบาเจ้าเทือง ไม่ต้องการจะเก็บเงินส่วนนี้ไว้ .. ประกอบกับคิดอยากจะสร้างอนุสรณ์แห่งบุญที่เป็นรูปธรรมขึ้นมา จึงได้มีการปรับปรุง ก่อสร้างวัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกนเสียใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2534 บนพื้นที่กว่า 80ไร่ ของวัด
2
สถาปัตยกรรมและรูปแบบการก่อสร้างของวัดแห่งนี้.. เป็นแบบล้านนาประยุกต์ ที่ผสมผสานกับแนวคิดของท่านครูบาเจ้าเทืองเอง ที่ครูบาเรียกว่า “แนวสถาปนึก” คือคิดจะใส่อะไร ก็ใส่ จะทำอะไร ก็ทำ แต่ต้องมีความมั่นคง
1
ท่านครูบาเจ้าเทืองต้องการให้เป็นการผสมผสานระหว่าง วัดบ้านกับวัดป่า เพราะมีความเชื่อที่ว่าศาสนาอยู่ได้เพราะการปฏิบัติ การแบ่งแยกไม่ใช่เรื่องสำคัญ .. โดยยึดหลักการสร้างตามบุญ .. คงเพราะการสร้างตามบุญนี่เอง ที่ทำให้จนกระทั่งทุกวันนี้ วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน จึงมีขนาดสิ่งปลูกสร้างใหญ่และยังคงสร้างไม่แล้วเสร็จในหลาย ๆ ส่วน แต่แม้จะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ .. นักท่องเที่ยวมากมาย ได้แวะเวียนมาชมความใหญ่โต มโหฬารของวัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกนอยู่เป็นประจำ
3
ความวิจิตรอันร่วมยุคสมัยนี้ ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านมาทางสิ่งปลูกสร้าง .. นับตั้งแต่ย่างก้าวแรกที่ไปยืนอยู่ตรงบันไดทางขึ้น เราสามารถที่จะสัมผัสได้ถึงความงดงาม
1
จุดเด่นของวัดนี้… อยู่ที่สิ่งปลูกสร้างที่มีความสวยงาม วิจิตรตระการตาจริงๆ อันเป็นผลจากความตั้งใจของท่านครูบาเทือง ที่ต้องการให้เป็น ศาสนสถานที่งดงาม แฝงด้วยคติธรรม เป็นอุบายในการดึงคนเข้าวัดเพื่อการขัดเกลาจิตใจ ให้เป็นสถานที่พักผ่อนทางจิตใจมากกว่า การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
1
ภายในวัดประกอบไปด้วย อุโบสถ หอไตร หอกลอง วิหารเสาอินทขิล กุฏิไม้สักทองทรงล้านนา พระวิหาร สถูปเจดีย์ ศาลาที่ประดิษฐานพระสำคัญๆ(องค์จำลอง) ของไทย … ด้วยความที่ครูบาเทืองเป็นพระที่มีปฏิปทา จึงได้รับความเลื่อมใสศรัทธา จากผู้คนทั่วไป ร่วมถวายปัจจัยสมทบทุนสร้างศาสนสถานที่สวยงามและยิ่งใหญ่และกลายเป็นที่รู้จักในเวลาไม่นาน
1
สิ่งแรกเมื่อเข้ามาภายในวัด … บันไดทางขึ้นสู่ด้นในของวัด โดดเด่นด้วยลักษณะของบันไดนาคสีสด ที่หันหัวไปยังทิศทางของที่ตั้งพระอุโบสถ ส่วนด้านปลายสุดของหางนาค มีรูปปั้นสิงห์คู่สถาปัตยกรรมแบบล้านนาสีขาว เสมือนคอยต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือนด้วยความยินดี
1
พระวิหารหลังโตที่อ่อนช้อยงดงามหลังแรก อยู่ตรงกับบันไดทางขึ้น .. เป็นพระอุโบสถที่มีลักษณะเป็นอาคารไม้ขนาดใหญ่ ตรงซุ้มบันไดเป็นรูปนกหัสดีลิงค์ สัตว์ในวรรณคดีที่มีหัว เป็นช้างตัวเป็นนกผิดจากซุ้มบันไดในวัดอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่จะเป็นพญานาค แต่ใช่ว่าจะไม่มีนาคเสียทีเดียว เพราะที่หน้าอาคารอื่นๆ ก็ยังมีซุ้มบันไดเป็นรูปพญานาค ลักษณะการก่อสร้างวิจิตรงดงามไม่แพ้กัน
1
ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระประธานที่มีสีทองอร่ามประดิษฐานอยู่ มีรูปหล่อท่านครูบาเจ้าเทือง องค์สีทองอร่าม ผนังภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มีพระพุทธรูปแกสลักจากไม้ ประดิษฐานเรียงรายตามเสาพระอุโบสถ
1
ถัดไปเป็นมณฑปพระเศรษฐีนวโกฏิ เป็นพระพุทธรูปที่โหรชื่อดังได้สร้างขึ้นถวายวัดทุกภาคในประเทศไทย โดดเด่นด้วยการลงรักปิดทองที่เสาต้นใหญ่ พระพุทธรูปไม้ของเหล่าเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วฟ้าเมืองไทย หอพระธรรม
2
ภาพของพระอุโบสถ และวิหารต่างๆที่เรียงรายกัน เป็นภาพที่งดงามในสายตา .. สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นจุดรวมของศรัทธาของผู้คนที่หลั่งไหล เทใจ เทกำลังทรัพย์ เข้ามาเพื่อร่วมทำบุญ ร่วมสร้างให้วัดแห่งนี้งามสง่า
1
ด้านหลังพระอุโบสถ เป็นสถานที่ตั้งของพระมหาเจดีย์นักษัตร 12 ราศี … ซึ่งเป็นจุดที่คนทุกราศีสามารถมากราบไหว้บูชาพระธาตุประจำปีเกิดได้ เพื่อเสริมสิริมงคลให้แก่ชีวิต
1
บันไดด้านหน้าทั้งสองข้างของทางขึ้นสู่บริเวณพระมหาเจดีย์นักษัตร 12 ราศี .. สวยอลังการด้วยรูปปั้นของนกหัสดีย์ลิง และด้านบนประดับด้วยรูปปั้นของนกยูงอินเดียสีสันสดใส ในลักษณะกำลังรำแพนขนหาง
1
ด้านหน้าตรงจุดกึ่งกลางหน้า พระมหาเจดีย์นักษัตร 12 ราศี .. มีรูปปั้นของ ครูบาเทือง ที่คนที่ขึ้นไปยังพระมหาเจดีย์จะมากราบไหว้สักการะ ก่อนจะเดินเข้าสู่ด้านใน
1
รอบๆพระมหาเจดีย์องค์กลาง มีเจดีย์ที่เชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์รายล้อม สามารถเดินชม ถ่ายภาพ และกราบบูชาพระธาตุประจำปีเกิดได้
ถัดออกไปก็จะเป็นศาลาซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงจากวัดชื่อดังทั่วประเทศ …
2
ไม่ว่าจะเป็นหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครง หลวงพ่อพระพุทธชินราช หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน หลวงพ่อพระศรีศากยสิงห์ หลวงพ่อพระพุทธสีหิงห์ หลวงพ่อพระนาคปรก หลวงพ่อพระพุทธจักรพรรดิราช หลวงพ่อวัดไร่ขิง และหลวงพ่อพระพุทธโสธร เรียกได้ว่าใครที่กำลังมองหาโอกาสที่จะไปกราบนมัสการหลวงพ่อท่าน ก็มาที่วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกนแห่งนี้ ก็ได้กราบนมัสการครบทุกองค์
2
วิหารด้านซ้ายมือของพระมหาเจดีย์นักษัตร 12 ราศี เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ในสไตล์รูปแบบพระพุทธรูปพม่า มองดูเหมือนพระพุทธรูปตาหวาน แต่ไม่มีขนตาอ่อนช้อยแบบที่เห็นในพม่า
1
ส่วนบริเวณด้านข้างฝั่งซ้ายของพระอุโบสถ ก็เป็นที่ตั้งของกู่อัฐิที่ท่านครูบาเจ้าเทืองสร้างเตรียมไว้สำหรับตัวท่านเองเมื่อท่านมรณภาพ
สำหรับเรื่องที่น่าเหลือเชื่ออีกอย่างหนึ่ง ที่นักท่องเที่ยวที่เคยมาเที่ยวชมวัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกนแห่งนี้ ต่างก็ต้องการจะทราบเหตุผลและบอกต่อว่า เชื่อหรือไม่ว่า ...
1
... บนพื้นที่อันใหญ่โตมโหฬารแห่งนี้ เต็มไปด้วยสิ่งปลูกสร้าง แต่มองทั่ววัดก็หาภิกษุสงฆ์ และสามเณรได้ยากยิ่ง นั่นก็เป็นเพราะทั้งวัดมีพระจำพรรษาอยู่ คือ ท่านครูบาเจ้าเทืองเพียงรูปเดียวเท่านั้น
1
จึงเป็นเรื่องอัศจรรย์ในศรัทธาที่ก่อให้เกิดความงดงามได้อีกเรื่องหนึ่ง หลายคนคงสงสัยว่าวัดแห่งนี้ใหญ่โตมโหฬารมาก แต่ทำไมถึงไม่มีพระภิกษุสามเณรท่านอื่น ๆ เลย
1
วันที่เรามาเยือนวัดแห่งนี้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 .. วัดมีงานบุญใหญ่ สถานที่จัดงานอยู่ตรงบริเวณลานกว้างด้านขวาของพระมหาธาตุ 12 ราศี
1
ว่ากันว่า .. งานบุญแต่ละครั้งจะมีศรัทธาสาธุชนลูกศิษย์ครูบา จากทุกภาคส่วน รวมถึงชาวขาจำนวนมาก พร้อมใจกันมาร่วมกราบไหว้ขอพรอย่างเนืองแน่นเสมอ และชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธา ได้นำเงินมาเป็นปัจจัยในการทำบุญเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนไม่น้อย คณะของเรามีโอกาสได้ร่วมทำบุญด้วย
1
อาคารและวิหารอื่นๆภายในวัด ที่น่าจะเป็นที่ประกอบศาสนกิจในวาระโอกาสต่างๆ
1
*******************
เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลกกับพี่สุ … รวม link บทความที่เขียนในเพจ ..
***เมืองไทย ไดอารี่ by Supawan
***Supawan’s colorful world
***สถานีอร่อย by Supawan
1
โฆษณา