13 มิ.ย. 2020 เวลา 08:25 • การศึกษา
สาระ ควรทราบ เพื่อคิด ปรับใช้ #24
Carbon Footprint
Carbon Credit
แตกต่างกัน อย่างไร
ช่วยโลกได้จริงหรือหลอก
เครดิตภาพ https://www.rcskinclinic.com/th/knowledge/1/276/Carbon-Footprint-มาทำความรู้จักเจ้ารอยเท้าคาร์บอน.aspx https://www.openpr.com/news/1296980/future-innovations-of-carbon-offset-carbon-credit-trading-service-market.html
จาก ความตื่นตระหนก ถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ทำให้ หลายหน่วยงาน เริ่มให้ความสนใจ ใน การปล่อย ก๊าซเรือนกระจก และ Carbon Footprint รวมทั้ง Carbon credit เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น
Greenhose effect3 เครดิตภาพ http://forum.uamulet.com/view_topic.aspx?bid=1&qid=22979
สืบเนื่องจาก พิธีสารเกียวโต ที่ประเทศสมาชิก วางเป้าหมาย ที่จะลดปริมาณ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ ก๊าซเรือนกระจก ที่เป็น สาเหตุของ การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก ลงให้ได้ ร้อยละ 5.2 ภายใน ปี พ.ศ. 2555 จากปริมาณที่ปล่อย ในปีฐาน พ.ศ. 2533 ทำให้เกิด การค้าคาร์บอนเครดิตขึ้น
เรื่องราว ของ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ Carbon Footprint 1
เรื่องราว ของ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ Carbon Footprint 2
ซึ่ง ประเทศ/บริษัท ที่ไม่สามารถลด ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ได้ตามเป้าหมาย มีความจำเป็นต้องซื้อ คาร์บอนเครดิต จากประเทศที่มีเครดิตเหลือ
ผลของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จึงเริ่มกลายเป็นธุรกิจ การซื้อขายคาร์บอนเครดิต ระหว่างประเทศ และเชื่อว่าจะมีมูลค่ามหาศาลในระยะต่อไป
โดยธุรกิจชนิดนี้จะแพร่กระจายเป็นวงกว้าง
ทำให้หลายประเทศสนใจ การสร้างความตระหนัก ต่อปัญหา การเกิดสภาวะโลกร้อนทั้งใน หมู่ผู้ผลิตและผู้บริโภค จนมีหลายประเทศ ให้ความสนใจ ในการศึกษาคิดค้น ฉลาก Carbon Footprint ขึ้น เพื่อ บอกจำนวน ก๊าซเรือนกระจกที่ผลิตภัณฑ์ นั้นๆ ผลิตต่อ หนึ่งหน่วยสินค้า โดยวิธีการคิด Carbon Footprint จะเริ่มตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบแล้วนำไปแปรรูปผลิต จนถึงการจัดจำหน่ายและย่อยสลาย
ประโยชน์ของการวิเคราะห์ และ “คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
ทำให้ ผู้บริโภค ทราบถึง **ความใส่ใจ ของ ผู้ผลิต ต่อ ปัญหาโลกร้อน** อีกทั้งยัง สามารถสร้างความตื่นตัว ในกลุ่มผู้บริโภคให้ **เลือกซื้อสินค้า** ที่ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในขั้นตอนการผลิต น้อยกว่าสินค้าชนิดเดียวกัน แต่ต่างตราสินค้า
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ กับ ประเทศต่างๆ 1
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ กับ ประเทศต่างๆ 2
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ กับ ประเทศต่างๆ 3
ก่อนอื่น เราจะต้องรู้จักความหมาย ของ คำ 2 คำ นี้ ซึ่ง ปัจจุบันนี้ ยังใช้ความหมายรวมกันอยู่
และเราสามารถ สรุปสั้นๆ  ให้ได้ใจความ และเข้าใจง่ายระหว่าง carbon footprint และ carbon credit ดังนี้
**carbon footprint** คือ
ปริมาณ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ  ก๊าซเรือนกระจก (GHG) จากผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ
**carbon credit** คือ
สิทธิ ใน การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas) โดยมีการกำหนดสิทธิของแต่ละคนเอาไว้  ซึ่งผู้ที่ใช้สิทธิหมดแล้วสามารถซื้อสิทธิ
จากผู้ที่ยังมีสิทธิเหลืออยู่ได้ในการที่จะปล่อยเพิ่ม
ซึ่ง เราจะให้ นิยามความหมาย เพื่อจำให้ง่ายกว่านั้น แล้วไปคำนึงถึงการแยกย่อยความหมาย คือ
carbon footprint คือ **ปริมาณ** การปล่อยก๊าซฯ
carbon credit คือ **สิทธิใน** การปล่อยก๊าซฯ
คาร์บอนฟุตปริ้นท์ 1 เครดิตภาพ http://logosociety.blogspot.com/2009/06/blog-post_05.html
Carbon Footprint labels1 เครดิตภาพ https://topcomengru471.blogspot.com/2017/03/carbon-footprint.html
Carbon Footprint labels2 เครดิตภาพ https://www.gotoknow.org/posts/245745
**การบ่งบอก ปริมาณ carbon footprint**
มีการใช้ ระบบCarbon Label บนสินค้าที่วางจำหน่าย โดยมี Carbon label program เป็นฐานการคำนวณแบบ Life Cycle Assessment Method (LCA) **ฉลาก Carbon Footprint หรือ Carbon Label** จะทำหน้าที่
แสดงข้อมูลให้ ผู้บริโภค ได้ทราบตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ว่า มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไหร่ ตั้งแต่ กระบวนการ
หาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน และ การกำจัดเมื่อกลายเป็นของเสียการบ่งบอกปริมาณของ การปล่อยก๊าซ ของ Carbon Label นี้ จะคิดจาก
1 ปริมาณ จาก บรรจุภัณฑ์ของสินค้า
2 ปริมาณ จาก กระบวนการ ผลิตสินค้า
เรื่องราว ของ คาร์บอนเครดิต1 (ความหมาย)
เรื่องราว ของ คาร์บอนเครดิต2
**คาร์บอนเครดิตได้มาอย่างไร?**
การชดเชย การปล่อยก๊าซฯ (Offsetting) หรือ "การค้าคาร์บอน" (carbon trading) คือ การให้ผู้ที่ต้องลดการปล่อยก๊าซรือนกระจก และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถให้ คนอื่นลดแทนให้ได้ โดย ประเทศอุตสาหกรรมที่มีค่าCarbon Footprintสูง มาซื้อ(การจ้างให้ทำแทน) carbon credit จากประเทศกำลังพัฒนาที่กำลังทำโครงการเหล่านี้
โครงการ เพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตพลังงาน การผลิตพลังงานหมุนเวียน การเปลี่ยนเชื้อเพลิง การกักเก็บและการเผาทำลายก๊าซมีเทน การปรับเปลี่ยนวิธีการทำเกษตรกรรม และปศุสัตว์ การจัดการน้ำเสียและขยะ และการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม ก็ จะได้รับ Carbon Credit ที่เป็นสิทธิช่วยลดการปล่อยก๊าซ ของโรงงานตัวเอง
"การซื้อ-ขายคาร์บอน และ แลกเปลี่ยน คาร์บอนเครดิต"
**ผู้ซื้อในตลาดคาร์บอน**
ผู้มีเครดิตฟุตปริ้นท์สูง(ประเทศอุตสาหกรรม) หาซื้อ คาร์บอนเครดิตจากประทศกำลังพัฒนา
**รูปแบบของการซื้อขายคาร์บอนเครดิต**
Carbon credit เป็นสินค้าที่สามารถซื้อขายได้ และสามารถนำมาชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผู้ซื้อ
1. ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Mandatory carbon market)
2. ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ (Voluntary carbon market)
**ข้อเปรียบเทียบตลาดภาคสมัครใจและภาคบังคับ**
1. ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Mandatory carbon market)
ลด การปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ตามที่ กฎหมายบังคับ และ/หรือ พันธกรณีระหว่างประเทศ สามารถนำมาชดเชยการปล่อยก๊าซ
2. ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ (Voluntary carbon market)
ไม่ได้มีกฎหมายบังคับ เป็นการให้ความร่วมมือกันของภาคเอกชน เอง โดยมี การตั้งเป้า ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเองและกลุ่ม
ตลาดคาร์บอน (ตลาดคาร์บอนเครดิต)
หลังจากที่เราได้รับรู้เรื่องต่างๆ เกี่ยวกับ Carbon Footprint และ Carbon Credit นี้แล้ว เราจะเห็นว่า
**Carbon Footprint**
คือ **สิ่งที่ดี** เพื่อ ให้ทุกคน เห็นและทราบว่า ใคร เป็นผู้ทำให้ โลกร้อน เป็นลำดับ(ในความเป็นจริงทุกคนมีส่วนหมด คนที่ตระหนักได้มีน้อย คนที่ปฏิบัติได้ยิ่งมีน้อยกว่า)
เรื่องของ Carbon Footprint นี้ มีจุดที่ต้องแก้ไขอีกนิดเดียว คือ การบังคับผู้ผลิตสินค้าทุกราย ต้อง ทำ Carbon Label ทุกๆ ชนิดสินค้า ในโลก และสร้างระบบไม่ให้มีการใช้กลวิธีปิดบัง ข้อมูล Credit Footprint
**Carbon Credit**
ดูเหมือน การสร้าง Carbon Credit ขึ้นมา เพื่อ ช่วยให้ ประเทศ หรือ บริษัทอุตสาหกรรมใหญ่ๆ แบ่งกำไร มาให้ประเทศเล็ก โดยการทำฉากการลดก๊าซ บังหน้า โดยไม่ลดการปล่อยปริมาณก๊าซฯของตัวเองและประเทศที่ขายสิทธิให้ หรือ ขาย Carbon Credit ให้
จริงๆ ดูแล้วเป็นเรื่องดี เพราะประเทศกำลังพัฒนาเป็นประเทศที่จน แต่ เงินส่วนใหญ่ ไม่ไปถึงประชาชนจริงๆ มีการคอร์รัปชั่น เอารัดเอาเปรียบ จากชนชั้นผู้ปกครองเศรษฐกิจ อยู่
ซึ่งก็ดูเหมือนกับว่า ผู้ปกครองเศรษฐกิจทางประเทศอุตสาหกรรม แบ่งกำไรให้ส่วนหนึ่ง กับผู้ปกครองเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา โดยไม่ถึงมือของประชาชน ที่เป็นผู้บริโภคที่แท้จริง จาก อุตสาหกรรม เหล่านั้น
แต่ก็ยังดีกว่า ปล่อยให้ประเทศอุตสาหกรรมปล่อยก๊าซ โดยไม่ส่งเสริมให้ที่อื่นๆ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซ ซึ่ง จริงๆ แล้ว มันควรจะลดทั้งสองทาง คือ เมื่อสร้างใหม่ ไม่ปล่อย อุตสาหกรรมที่ปล่อยเดิม ปล่อยก๊าซ ก็ควรจะลดปริมาณการปล่อยก๊าซลงไปด้วย ซึ่งกฎการตลาด ของ Carbon Credit ยัง ไม่ยุติธรรม ดีพอ
สถานการณ์ ตลาดคาร์บอน ในและต่างประเทศ
ในความเป็นจริง แนวความคิดที่ยุติธรรม คือ เมื่อของใหม่ต้องมีการควบคุม ของเก่าก็ต้องลด จนเป็นศูนย์ เป็นสิ่งที่ถูกต้องและควรจะเป็น
แต่ ไม่มีการคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ จะเป็นเพราะเรื่องเห็นแก่ตัวของชนชั้นปกครองเศรษฐกิจหรือ โง่ ในเรื่องนี้กันแน่ แต่ ในข้อหลังไม่น่าจะเป็นไปได้ เมื่อสร้างตัวเองไปถึงชนชั้นปกครองเศรษฐกิจได้ คิดเรื่องนี้ไม่ได้ น่าจะเป็นอย่างแรกมากกว่า
เพราะระบบเศรษฐกิจของโลกในรอบ 1 ศตวรรษที่ผ่านมา สนใจและสอนกันมาแต่เรื่อง ของ การสร้าง คือ **ถ้าคิดถึงผลกระทบ จะสร้างสิ่งต่างๆที่คิด ไม่สำเร็จ **
ดังนั้น จะไม่มีใคร คิดเรื่อง **ผลกระทบ** กัน สำหรับ ผู้คนใน ยุค เศรษฐกิจ 1 ศตวรรษ ที่ผ่านมา แต่ **เลือกที่ จะปิดบังเบี่ยงเบน ความจริงกัน** เพราะความจริง เป็นสิ่งที่ ผู้คนในยุค 1 ศตวรรษ ที่ผ่านมานี้ ไม่อยากได้ยินกันทั้งๆที่เป็นความจริง แต่ฟังแล้วไม่สบายใจ
คาร์บอนแครดิต 1 เครดิตภาพ https://www.liberaldictionary.com/carbon-credit/
คาร์บอนแครดิต 3 เครดิตภาพ https://wastewatertreatments.wordpress.com/tag/cdm-คืออะไร/page/4/
การแก้ไข ง่ายๆ แค่ให้ ผู้ปล่อยก๊าซมากที่สุด เมื่ออยากซื้อ Carbon Credit ก็ต้อง ปรับปรุงโรงงานของตัวเอง 1 อย่าง(คิดเป็นคะแนนก็ได้) เพื่อลดการปล่อยก๊าซฯของตัวเองลง มีใบรับรองและใบตรวจสอบจากหน่วยงานต่างๆ ทั่วโลก เป็นการยืนยัน
ในการซื้อ ครั้งต่อไป ก็ต้องปรับปรุงโรงงานอีก เพื่อทำสิทธิขอซื้อ ถึงแม้ว่า จะมีกำลังเงินที่พอซื้อได้ รวมทั้งต้องมีการตรวจค่า Carbon Footprint ทุกครึ่งปี
แต่ ในความเป็นจริง พวกเขาเหล่านั้น จะมีข้ออ้างมากมาย เพื่อหลีกเลี่ยงการปรับปรุงโรงงานของตัวเอง เพราะจะทำให้ ขั้นตอนการผลิตเปลี่ยนไปกลายเป็นสิ่งที่ยากในการคิด(ความจริงไม่อยากเสียกำไร)
เพราะ ทุกวันนี้ คนใน 1 ศตวรรษที่ผ่านมานี้ คิดแต่ **เรื่องง่ายๆ** การทำเรื่องยากๆ ทำให้สูญกำไรไปเปล่าๆ เขาไม่นิยมทำกัน เพราะ จะเอาแต่กำไร ไม่สน ผลกระทบ ซึ่งทัศนคตินี้ เป็นกันทั่วโลก ประมาณ 95%ของมนุษย์โลก จะคิดกันแบบนี้
Greenhose effect1 เครดิตภาพ https://medium.com/@tutorbin/greenhouse-effect-advantages-and-disadvantages-4d4f113ec61d
ในการ **แก้ไขปัญหา เรื่องของ Carbon Credit นั้น ไม่ยาก ** แต่ คง **ไม่มีใครคิดทำกันหรอก ** เพราะกำไรสำหรับผู้ถือหุ้น เพื่อไต่ ไปเป็น ชนชั้นปกครองเศรษฐกิจ จะหดหายไป
อีกทั้ง จะไม่ได้ มี วิถีชีวิตที่ แปลกแตกต่างจากประชาชนทั่วไป ด้วยLife style ที่ต้องการโชว์ให้ประชาชนเห็น และอยากจะเอาเยี่ยงอย่างกัน
Greenhose effect2 เครดิตภาพ https://www.youtube.com/watch?v=tZU7oi4criA
โฆษณา