15 มิ.ย. 2020 เวลา 09:29
ตอนที่16 ต้องอยู่ให้ติดดิน เพื่อแผ่นดินไทย(1)
จะขอหยุดเล่าเรื่องของหัวใจกับคนไทยเอาไว้ก่อนในตอนที่(15)นะครับ จนกว่าเพื่อนผมซึ่งเป็นนักวิจัยเรื่องนี้จะได้ทุนจัดทำเครื่องมือวัดในทางวิทยาศาสตร์มาชี้วัดให้ชัดเจนแล้วค่อยมาเขียนเล่าต่อนะครับ
#ต้องอยู่ให้ติดดิน เพื่อแผ่นดินไทย# เมื่อหยุดเล่าเรื่องน้ำก็ต้องเล่าเรื่องดิน ปัญหาหลายประการที่เกิดขึ้นบนพื้นดินไทยในปัจจุบันอาจจะเป็นไปได้ว่า คนดิดไม่ได้ทำ คนที่ทำก็ไม่มีโอกาสที่จะไปช่วยคิด แต่คงไม่ใช่ทั้งหมดนะครับหลายๆภาคส่วนก็เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศท่างต่างๆ ในการวางแผนจัดการที่มีผลกับส่วนรวม แต่ก็อาจจะยังมีอีกหลายส่วนที่ยังไปไม่ถึง ผมเคยได้ยินนานมาแล้ว เรื่อง #โครงการเงินผันสู่ชนบท# ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ตอนนั้นคุณพ่อได้เล่าให้ฟัง เพราะคุณพ่อก็ได้รับเชิญเข้าไปนั่งเป็นกรรมการของหมู่บ้านอยู่ด้วย เหมือนกับว่าทางรัฐจะช่วยให้ประชาชนในชนบทได้มีรายได้เพิ่มขึ้น ในระหว่างที่ฝนแล้ง และว่างงาน
 
#รัฐบาลคึกฤทธิ์ได้สรุปโครงการผันเงินสู่ชนบทในช่วง 3 เดือน (เมษายน-มิถุนายน) สภาตำบล 5,026 แห่ง ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน คลอง ทำนบ สะพาน ฯลฯ จำนวน 41,141 โครงการ ประชาชนนับสิบล้านได้รับการจ้างงานและมีรายได้(ที่มา https://www.komchadluek.net/news/scoop/358652)#
ผมยังประทับใจในลักษณะของโครงการ คือมันประสพความสำเร็จรอบด้านจริงๆ และเป็นงานทีอยู่บนดิน ติดอยู่กับดินของชนบท เงินก็กระจายรายได้ไปสู่ชนบทโดยตรงทำให้สังคมในหมู่บ้านในชนบทได้มีเงินหมุนเวียน คนในหมู่บ้านไปคุดลอกคลองในหมู่บ้านไปทำทางถนนเข้าหมู่บ้านตำบล เมื่อฝนตกลงมา การระบายน้ำสู่ไร่นาก็ดีขึ้น การสัญจรในหมู่บ้านก็สะดวกขึ้น ผลดีก็ตอบสนองคนในหมู่บ้านนั้นๆ และงานก็เกิดขึ้นจากความต้องการพื้นฐานในหมู่บ้านและตำบลนั้นๆโดยตรง เงินที่ได้มาก็นำไปซื้อข้าว ปลาอาหารในหมู่บ้านนั้นๆ มันก็เกิดการหมุนเวียนเงินภายในระดับล่างจริงๆ คนในชนบทก็ได้ทำงานและได้เงินตอบแทนเป็นค่าแรง ก็น่าที่จะถูกต้องตามวิถีของธรรมชาติที่เป็นจริงก็คือการทำงานเพื่อแลกกับค่าจ้างที่ได้มา และที่ได้มากที่สุดก็คือ ประชาชนในหมู่บ้านและตำบลนั้นๆนั่นเองครับ
ก็เป็นเพียงมุมมองนะครับอาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมดเพราะว่ามีความรู้
จำกัดครับ
โฆษณา