21 มิ.ย. 2020 เวลา 15:13 • ความคิดเห็น
FAST-FAIR-FUN รหัสลับจัดการ COVID ของไต้หวัน
ไต้หวันเกาะเล็กๆ ที่สามารถรับมือและยืนหนึ่งสู้กับ COVID
แบบไม่ไว้หน้าชาติใหญ่ๆในโลก โดยที่ไม่ต้องมีการ lockdown ทำได้อย่างไร??
ร่วมถอดบทเรียนความสำเร็จกับรัฐมนตรีดิจิตอล Audrey Tang ที่ให้สัมภาษณ์ในงาน Techsauce Virtual Summit 2020 ไปพร้อมๆกันครับ
โดยรัฐมนตรี Tang กล่าวว่าแนวคิดในการรับมือ COVID นั้นถูกเรียกง่ายๆว่า 3F ประกอบไปด้วย Fast•Fair•Fun
• FAST
ไต้หวันรับรู้การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นในวู่ฮั่นตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้ว หลังจากที่มีการโพตส์ข้อมูลของการระบาดใน social network
ทีมงานสาธารณสุขของไต้หวันเริ่มเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางมาจากวูฮั่นในทันที ตั้งแต่ตอนสิ้นปี 2019 ตามมาด้วยการควบคุมการผ่านเข้าออกประเทศอย่างเข้มงวดในระยะถัดๆมา (รวมถึงการประกาศกักตัวคนไทยที่เดินทางเข้าประเทศ แบบที่ตอนนั้นไทยยังไม่มีการระบาดเท่าไรเลย)
หลังจากนั้นตอนต้นปี 2020 ยังได้ส่งทีมงานลงพื้นที่จริงที่วูฮั่น เพื่อรวบรวมข้อมูลของการระบาด ซึ่งทำให้ไต้หวันเข้าใจการระบาดได้เป็นอย่างดี จึงมีการวางแผนรับมืออย่างรวดเร็วในลำดับถัดมา
เห็นได้ว่าการลงมือ เกิดจากข้อมูลของประชาชนที่เปิดเผยต่อรัฐ (ไม่ใช่รัฐต่อรัฐ) ซึ่งแสดงถึงความโปร่งใสในการเผยแพร่ข้อมูล ความคิดเห็น และรัฐก็โปร่งใสในการติดตามตรวจสอบข้อเท็จจริง
นอกจากนั้นในช่วงวิกฤตการสื่อสารเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด CECC หรือศูนย์ควบคุมโรคระบาดจึงถูกกำหนดเป็นช่องทางสื่อสารเดียว ข้อมูลทุกอย่างมีความถูกต้องแม่นยำ แม้แต่ผู้นำหรือบุคคลในรัฐบาลก็จะใช้ข้อมูลชุดนี้ เพื่อให้ทิศทางการรับมือเป็นไปอย่างสอดคล้องราบรื่นในทุกระดับ
ข้อมูลการลงพื้นที่เพื่อให้เข้าใจข้อมูลที่แน่ชัด ตอนนั้นยังไม่เรียกว่า โควิด-19 เลยนะ
• FAIR
ในขณะที่หลายประเทศประสบปัญหาขาดแคลนหน้ากาก แต่ไต้หวันสามารถจัดการกระจายหน้ากากให้ประชาชนได้อย่างทั่วถึงตรวจสอบได้
โดยประชาชนรับรู้ถึงสิทธิของตนเอง ว่าผู้ใหญ่รับหน้ากากได้กี่ชิ้นเด็กได้กี่ชิ้น ทุกคนไปรับได้ที่ร้านขายยาใกล้บ้าน
ขณะที่คนทำงานหลายคนที่มีปัญหา ไม่สามารถไปรับได้ทัน รัฐบาลก็ร่วมมือกับร้านสะดวกซื้อในการเป็นช่องทางแจกจ่ายหน้ากากตลอด 24 ชั่วโมงให้ แน่นอนว่า stock ของทุกตฃจุดที่แจกจ่ายจะทำการอัฟเดตเป็นรายนาทีทีเดียว(แน่นอนเมื่อการตัดการของรัฐโปร่งใส ตรวจสอบได้ ก็จะสร้างความมั่นใจ ให้ประชาชนไม่วิตก หรือ panic นั้นเอง)
นอกจากนี้การให้ข้อมูลของ CECC ยังครอบคลุม โดยคำนึงถึงความหลากหลายของผู้คนที่อาศัยอยู่ในประะทศ อาทิ มีการจัดทำคำแนะนำต่างๆเป็นภาษาไทยอีกด้วย
ไต้หวันไม่สร้าง App แต่สร้างแพลตฟอร์มในการดึงข้อมูลกว่า 100 App มาประมวลผล
• FUN
รัฐมนตรี Tang รู้ดีว่าการสื่อสารในช่วงวิกฤตเป็นสิ่งสำคัญ สิ่งที่ทางไต้หวันทำคือ humor over rumor ทำยังไงให้ข่าวจริงเป็นไวรัลแทนข่าวลือ จึงมีการใช้ทีมงานสร้างสรรค์การสื่อสารแบบเรียกรอยยิ้ม (ในบทสัมภาษณ์เรียกทีมงานตลก หรือ comedian เลยทีเดียว) เพื่อไม่ให้ข่าวลือแจ้งเกิดได้เลยและยังใช้ในการสื่อสารแบบวงกว้างได้เป็นอย่างดี ให้เข้าถึงคนทุกกลุ่ม
เรียกได้ว่าทางไต้หวันปรับใช้วิธีการสื่อสารได้หล่กหลายจริง เพราะการที่จะเข้าถึงคนทุกกลถ่มนั้น บางทีใช้การแถลงการณ์ขึงขัง อาจทำให้สูญเสียโอกาสส่งข้อความถึงคนบางกลุ่มก็เป็นได้
เช่นเมื่อมีข่าวลือว่ากระดาษทิชชู่จะขาดตลาด เพราะถูกนำไปใช้ทำหน้ากาก ทีมงานก็วาดการ์ตูนของท่านนายกยืนส่ายก้น พร้อมข้อความว่า คุณมีก้นแค่คนละก้นอย่าตระหนก พร้อมอธิบายถึงวัตถุดิบในการผลิตทิชชูและหน้ากากว่าต่างกัน
มีมโฆษณาที่ใช้การ์ตูนของนายกมาสื่อสารเรื่องทิชช
หรือเมื่อมีความกังวลของเด็กชายที่ต้องใส่หน้ากากสีชมพูไปโรงเรียน ทางรัฐมนตรีสาธารณสุขและทีมงานของ CECC ก็ออกมาใส่หน้ากากสีชมพูโชว์กันแบบแมนๆ ให้น้องๆทั้งหลายสบายใจ
ทีมงานควบคุมโรคระบาดพร้อมใจคาดหน้ากากสีชมพ
สิ่งที่ได้รับฟังตลอด 30 นาทีของการสัมภาษณ์ ผมกับพบว่าสิ่งที่ร้อยเรียง 3F (Fast-Fair-Fun) ของไต้หวันให้สำเร็จนั้นคือ TRUST (ความไว้วางใจกัน) ระหว่างประชาชนต่อรัฐบาล ประชาชนต่อประชาชนด้วยกันเอง
สำหรับรัฐมนตรี Tang มันไม่สำคัญว่าคุณจะปกครองประเทศด้วยระบบอะไร แต่การวางตำแหน่งของอำนาจต่างหากที่ทำให้ไต้หวันแตกต่าง ไต้หวันสร้างให้อำนาจนั้นกับทุกๆคนทำให้เกิด Social consensus หรือการยินยอมร่วมกันของสังคม ซึ่งทำในการเสนอความเห็น การตรวจสอบ อย่างตรงไปตรงมา
สุดท้ายรัฐมนตรี Tang เน้นย้ำถึงแนวทางสำคัญที่จะทำให้โลกวามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ที่อาจเดิดขึ้นอีก นั้นก็คือ การสร้าง “Collective Intelligence” ซึ่งก็คือการนำความรู้ ความเข้าใจที่หลากหลายมาพัฒนาต่อยอดร่วมกัน โดยมีการให้ข้อมูลอย่างเปิดเผยและทำงานด้วยความไว้วางใจต่อกัน
นับว่าเป็นบทเรียนและแนวทางที่น่าสนใจนำไปปรับใช้ได้ในทุกระดับทั้งการบริหารบริษัท องค์กร หรือแม้กระทั่งประเทศ
โฆษณา