22 มิ.ย. 2020 เวลา 06:41 • ประวัติศาสตร์
เมื่อวานเป้ยไปเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมาค่ะ
แถววังหน้า ท่าพระจันทร์ เดินตรงไหนก็สนุกแต่วันนี้ต้องเลือกเล่าเรื่องที่ชอบที่สุดก่อน
ตาลปัตร..ทุกคนน่าจะรู้จัก ที่พระสงฆ์เอากั้นบังหน้า
ตอนเด็กเป้ยเคยเห็นในงานศพพ่อ ตาลปัตรนั้นเขียนว่า "ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี หนีไม่พ้น"
รู้สึกน่ากลัวมาก
ตาล คือ ตาล , ปัตร เป็นคำสันสกฤษ แปลว่า ใบไม้
แปลรวมกันเป็น ใบตาล คือทำมาจากใบตาลนั่นเอง
ซึ่ง ปัตร ที่แปลว่าใบไม้ ต่อมายังกลายเป็น บัตร
ที่เราใช้จดเขียนกันทุกวันนี้
แล้วคำว่า บัตร ที่เรารู้จักกัน เกี่ยวอะไรกับใบไม้
อันนี้ให้ลองเดาเล่นนะคะ จะเฉลยในช่วงท้ายค่ะ
🙂
แล้วเป้ยสนุกยังไงกับเรื่องตาลปัตร?
 
เพราะตาลปัตรแต่ละอันที่เค้านำมาแสดงจะทำอย่างสวยงาม เรียกว่าเป็นงานศิลป์ได้เลย มีบอกที่มาว่าตาลปัตรอันนั้นใช้ในงานอะไร สำหรับใคร ถือว่าตรงนี้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นหนึ่งได้ค่ะ
ลองดูรูปที่เป้ยถ่ายมานะคะ
ตาลปัตรแรก เป้ยตื่นเต้นที่สุด "มหาวชิราวุธ " ถ้าใครจำได้บทความวันก่อนเป้ยเพิ่งอธิบายเรื่องชื่อของพี่น้อง ร.6 ล้วนมีความหมายถึงอาวุธทั้งสิ้น
(อ่านได้จากลิงก์นี้นะคะ
ในส่วนของร.6 วชิราวุธ
วชิระ คือสายฟ้า
วชิราวุธคืออาวุธ แบบในรูป
ตาลปัตรในรูปก็จะมีสายฟ้าเป็นแนว เท่มากกก
ตาลปัตรรูป จักรและกระบอง งานเจ้าฟ้าจักรพงษ์
ตาบปัตรอันประกอบด้วยมณีนพรัตน์
นี่เป้ยก็เพิ่งเขียนเรื่องไพลินไป เจออะไรที่รู้จักก็สนุก
ตาลปัตรงานเจ้าคุณจอมมารดาแพ ปกติเราจะได้ยินคำว่าเจ้าจอมมารดา แต่ท่านเจ้าคุณจอมมารดาแพเป็นเจ้าคุณ เนื่องจากร.5 ท่านต้องการยกย่องเป็นพิเศษ
เมื่อไม่นานมานี้มีการสถาปนาตำแหน่งเจ้าคุณพระ กลับมาอีกครั้ง (เพื่อน ๆ น่าจะพอจำได้ ถ้าจำไม่ได้เป้ยก็ไม่กล้าเล่าถึง คงต้องหากูเกิ้ลเอง 😅)
ซึ่งท่านที่เคยได้รับตำแหน่งเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ก็คือเจ้าคุณจอมมารดาแพท่านนี้
ตาลปัตรสวยงามหลายหลาก
สำนวนไทยที่ว่า "กลับตาลปัตร"
หมายถึง ผิดความคาดหมายอย่างตรงกันข้ามแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ กลับจากฝั่งหน้าเป็นฝั่ง
ดังเช่นอีกฝั่งของตาลปัตร
(มักใช้ในทางลบ เปลี่ยนจากดีเป็นไม่ดี)
คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับ กลับตาลปัตร คือ
กลับเนื้อกลับตั้ว ต่างกันตรงที่กลับเนื้อกลับตัว
มักใช้ในกรณีไม่ดีกลับมาเป็นดี
กลับที่ที่คำถามที่เป้ยทิ้งไว้ข้างบน
ปัตร ที่แปลส่าใบไม้ ซึ่งต่อมาแแผลงเป็นคำว่าบัตร
อันหมายถึงกระดาษที่เราใช้จด
แล้วกระดาษ เกี่ยวกับใบไม้อย่างไร
คำตอบก็คือ สมัยก่อนที่เรายังไม่มีกระดาษ เราจดข้อมูลต่าง ๆ ลงบนใบไม้เพื่อเป็นการบันทึกเรื่องราว
การขยายความหมายใบไม้เป็นแผ่นกระดาษ นั้นเกิดขึ้นหลังจากที่มีกระดาษใช้แล้ว ปัตร/บัตร ที่แปลว่ากระดาษ จึงเป็นความหมายแผลงอีกขั้นหนึ่งค่ะ
นอกจากนี้คำว่าปัตร ยังแปลว่าขนนก แปลว่าปีกด้วย
นี่ก็เป็นการเทียบลักษณะความสัมพันธ์ของขนนกกับใบไม้ ว่ามันคล้ายกันนั่นเอง
ห้องที่แสดงตาลปัตรนี้เป็นห้องสุดท้ายที่เป้ยเดิน ทีแรกจะไม่ขึ้นไปดูแล้วเพราะปวดขามาก เดินมาหลายชม. แต่ภัณฑารักษ์บอกว่าห้องนี้สวยนะลองขึ้นไปดูก่อน ถ้าไม่ชอบค่อยลงมาก็ได้ เป้ยจึงขึ้นไป
ต้องขอบคุณภัณฑารักษ์ที่นี่ที่ดูแลอย่างดีทุกบริเวณ
เป้ยโชคดีที่ไปกับเพื่อนที่รู้รายละเอียด คอยเล่าให้เข้าใจจนนำมาเล่าต่อได้ หลายคนไปชื่นชมความงาม แต่ไม่รู้ความหมายลึกลงไป ถ้ารู้คงเที่ยวพิพิธภัณฑ์ได้สนุกกว่านี้ เป้ยเสียดายมากค่ะ ><
เป้ย 22 Jun 20
โฆษณา