23 มิ.ย. 2020 เวลา 01:00 • การศึกษา
"แก้ไขเอกสารจำนวนเท็จ ทุจริตอย่างไร?"
...การทุจริตต่อหน้าที่ ถ้าพูดกันให้เข้าใจง่ายๆคือ การใช้ตำแหน่งหน้าที่หาประโยชน์ที่ไม่สมควรแก่หน้าที่ของตน เช่น เรียกสินบน เรียกผลประโยชน์ ฯลฯ
...ยกตัวอย่างการทุจริต เช่น เรียกเงินเพื่อให้แก้ไขเอกสารให้ เพื่อจูงใจให้ทำผิดต่อหน้าที่ของตนให้ ซึ่งการทุจริตต่อหน้าที่เป็นสิ่งที่ไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตน แสดงความไม่เป็นมืออาชีพอย่างย่ิ่งครับ
...คดีหนึ่ง ลูกจ้างตำแหน่งพนักงานขายน้ำอัดลม นำน้ำอัดลมอัดใส่ขวดแก้ว (ที่เห็นตามรถส่งทั่วไป) ไปส่งให้แก่ลูกค้า และมีหน้าที่ติดตามนำขวดเปล่ามาส่งคืนให้แก่นายจ้าง เพื่อตรวจนับและผ่านกระบวนการรีไซเคิล ลูกจ้างได้นำขวดเปล่าของน้ำอัดลมขนาด 15 ออนซ์มาคืนเพียงแค่ 40 ลัง แต่ได้ร่วมกับลูกจ้างอีกคนหนึ่ง ซึ่งเป็นพนักงานเช็คเกอร์สินค้าผลัดบ่าย มีหน้าที่ตรวจสินค้า แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความใบเช็คคืนน้ำเต็ม-ขวดเปล่า (ใบคืนสินค้า)
...โดยได้ร่วมกันแก้ไขเอกสารดังกล่าวว่า มีขวดเปล่านำเข้าจำนวน 280 ลัง
...ศาลพิพากษาว่า ผลของการกระทำของลูกจ้างอีกคนหนึ่ง ส่งผลโดยตรงทำให้การคิดราคาสินค้าของฝ่ายการเงินผิดไปโดยลูกจ้างจะได้รับผลประโยชน์ส่วนต่างขวดเปล่าเป็นเงิน 52,000 บาทโดยตรง เมื่อลูกจ้างมีหน้าที่ตรวจสอบยอดสินค้าคงเหลือและการส่งคืนขวดเปล่าบนรถเพื่อทำรายงานยอดขายประจำวันให้ถูกต้อง แต่กลับไม่กระทำการดังกล่าว การกระทำของลูกจ้างจึงเป็นการกระทำความผิดร้ายแรง เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ (พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119(1) (2) )
...นายจ้างเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่เป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรม
...ตามที่ท่านผู้อ่านได้อ่านไป จะเห็นได้ว่าแม้จะเป็นเพียงลังขวดน้ำอัดลม แต่ก็เป็นความผิดร้ายแรงได้ การทุจริตต่อหน้าที่ เป็นสิ่งที่ไม่สมควรปฏิบัติอย่างยิ่งครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5170/2560
CR : Croakey
โฆษณา