23 มิ.ย. 2020 เวลา 09:48 • การศึกษา
[Life Tools🚀] “5 Stages of Grief” เข้าใจพฤติกรรมคนเมื่อต้องเผชิญกับความสูญเสีย! จากหนังสือ On Death and Dying ของ Elisabeth Kübler-Ross นักจิตวิทยาชาวสวิส
“5 Stages of Grief”
เรื่องนี้ผมได้ฟังครั้งแรกจากรุ่นพี่ที่ผมเคารพมาก ๆ ซึ่งคิดว่าเป็นเรื่องที่เหมาะกับสถานการณ์ในช่วงนี้เพราะหลายคนต้องเผชิญกับปัญหา ความสูญเสีย และการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตจากวิกฤต COVID
.
.
“5 Stages of Grief” สำหรับผมมันคือเครื่องมือที่ทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์เมื่อต้องเจอกับความสูญเสียหรือเรื่องร้าย ๆ ที่เกิดขึ้น เมื่อเราเข้าใจเรื่องนี้ก็จะสามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และเข้าใจผู้อื่นมากขึ้นอีกด้วย
.
.
ลองมาดูกันครับว่าเมื่อคนเราเจอกับความสูญเสีย ไม่ใช่แค่สูญเสียบุคคลที่ตนเองรัก แต่หมายรวมถึงการสูญเสียสิ่งที่มีอยู่เดิม เช่น การถูกลดเงินเดือน การถูกลดตำแหน่ง คนจะมีพฤติกรรมอะไรบ้าง ลองอ่านและคิดเปรียบเทียบกับตัวเองดูนะครับว่ามันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ หรือเปล่า
.
.
1
1.Shock/Denial
แน่นอนว่าพฤติกรรมแรกก็คือ “ตกใจ” นั้นเอง ยกตัวอย่างเช่นเมื่อเจอกับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของ COVID และบริษัทประกาศลดเงินเดือน เราก็จะตกใจก่อนอย่างแน่นอน และอาจจะถามกับตัวเองว่า มันเป็นอย่างนั้นจริงๆใช่ไหม? อาจจะรู้สึกปฎิเสธกับสิ่งที่เกิดขึ้น “ไม่จริง นี่เป็นเรื่องโกหกใช่ไหม”
.
2.Anger
เมื่อตกใจ และรับรู้ข้อมูลมากขึ้นแล้ว ความรู้สึกที่จะตามมาก็คือ “โกรธ” หรือ “วิตกกังวัล” ยกตัวอย่างให้เห็นภาพคือสมมุติเราถูกลดเงินเดือนจากสถานการณ์ COVID หลังจากตกใจแล้วก็จะรู้สึกไม่ค่อยพอใจ “ทำไมต้องเป็นเรา โลกมันไม่ยุติธรรมเลย” ทำไมเราโชคไม่ดีเหมือนคนอื่น? อาจจะมีความรู้สึกโกรธคนรอบตัว เช่น โกรธหัวหน้า เป็นต้น
.
3.Bargaining
ก่อนที่เราจะต้องสูญเสียมันไปจริง ๆ มันจะเป็นช่วงแห่ง “ความหวัง” อยากต่อรองกับความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น อยากให้ช่วงเวลามันเลื่อนออกไป อยากจะขอปรับปรุงตัวเองเป็นการแลกเปลี่ยนขอให้เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นแค่เพียงฝันร้ายได้ไหม? “ถ้าย้อนเวลาได้ฉันจะไปทำสิ่งนู้นสิ่งนี้”
.
4.Depression
เป็นช่วงเวลาของความ “โศกเศร้า” รู้สึกว่างเปล่า ไม่มีเรี่ยวแรง เสียใจกับความสูญเสียที่เกิดขึ้น อาจจะนอนไม่ค่อยหลับ เบื่ออาหาร หรือไม่อยากพบเจอผู้คน ใช้เวลาจมดิ่งกับความสูญเสีย ระยะเศร้านี้ไม่ได้แปลว่าเราเป็นโรคซึมเศร้า มันเป็นเพียงอาการเศร้าเพราะจิตใจเราตอบสนองต่อความสูญเสียนั้นเอง
.
5.Acceptance
เป็นระยะสุดท้ายที่สามารถ “ยอมรับ” ความจริงที่เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นเราสามารถจัดการกับมันได้นะ คนเรามีสติและความมั่นคงทางอารมณ์มากขึ้น รู้ว่าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอดีตได้ แต่ก็พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
.
.
พอเห็นภาพรวมของพฤติกรรมของเรามากขึ้นไหมครับ สำหรับผมนั้นเชื่อว่าคงไม่มีใครที่ไม่เคยพบกับความสูญเสียหรือการเปลี่ยนแปลงในเชิงลบ สิ่งที่สำคัญคือการรู้จักวิธีในการเยี่ยวยาตนเอง ยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น และเข้าใจผู้อื่นเมื่อเขาเจอกับเรื่องร้าย ๆ
.
หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อตัวคุณและคนรอบตัวไม่มากก็น้อย ขอให้ทุกคนมีพลังใจที่จะเผชิญหน้าสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไปด้วยกันครับ
.
by krittamate
เข้ากลุ่มอาสาสรุป : http://bit.ly/TheConclusionGroup
.
สารบัญ อาสาสรุป : http://bit.ly/SarabunTheConclusion
.
The Conclusion Podcast 🎧
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา