23 มิ.ย. 2020 เวลา 23:37 • ธุรกิจ
ทำไมคนไทยจึงไม่ชอบธุรกิจเครือข่ายหรือขายตรง
เชื่อว่าหลายคนคงจะมีประสบการณ์ที่ไม่ดีนักกับธุรกิจขายตรง เอาแบบที่ถูกกฎหมายก็มีอย่างเช่น มาขอร้องให้ซื้อเพื่อปิดยอด หรือให้ได้ยอดตามรายการโปรโมชั่น การโทรตามตื้อ การนำเสนอแบบไม่ตรงไปตรงมา ไม่ว่าจะเป็นชวนไปดื่มกาแฟแต่ถือโอกาสนำเสนอธุรกิจ หรือโทรมาเรียกไปเพื่อสัมภาษณ์งาน แม้กระทั่งแจ้งว่าทำธุรกิจส่งออกแต่พอไปถึงกลับชวนขายปุ๋ยพืชเฉยเลย
ส่วนที่ทำผิดทั้งกฎหมายทั้งจรรยาบรรณการทำธุรกิจ คือการชวนให้ลงทุนหรือซื้อสินค้าจำนวนมาก ซื้อสินค้าที่ราคาแพงแต่เป็นสินค้าที่ในตลาดราคาถูกมาก ส่วนที่ผิดกฎหมายชัดเจนคือ การชักชวนคนมาสมัครมากๆแล้วนำค่าสมัครนั้นมาเป็นค่าตอบแทนคนที่ชวน และยังมีการนำเสนอผลตอบแทนที่สูงมาก พร้อมยกเหตุผลมาประกอบให้น่าเชื่อถือ และอีกมากมายสาเหตุที่ทำให้คนไทยไม่ชอบ
นี่คือสาเหตุจากการกระทำของคนที่ทำธุรกิจไม่เป็นมืออาชีพหรือมีวัตถุประสงค์ไม่สุจริต ที่ทำให้ภาพลักษณ์ธุรกิจขายตรงไม่เป็นที่ยอมรับ
https://distaphong.com
ในอดีตที่ผ่านมากกว่า 30 ปี มาคนที่ทำธุรกิจขายตรงส่วนมากเป็นคนที่ไม่สามารถไปทำอาชีพอื่นได้ แล้วก็เริ่มพัฒนามาจนมีคนสร้างผลลัพธ์ใหญ่ๆได้จากธุรกิจนี้จำนวนมากมาย จนเริ่มเกิดการยอมรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่คนส่วนมากก็ยังไม่ชอบอยู่ดี นั่นเพราะอะไรมาดูคำตอบกัน
สิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่ชอบเพราะสิ่งที่รับรู้ต่อๆกันมา ซึ่งหลายคนก็ไม่เคยได้สัมผัสกับเหตุการณ์ข้างต้นเลย ซึ่งเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับหลายเหตุการณ์หรือกับหลายๆอาชีพในโลกนี้ นี่คือเหตุผลแรก
ส่วนเหตุผลต่อมาที่ต่อเนื่องจากเหตุผลแรก นั่นคือการตัดสินโดยที่ไม่ได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะธูรกิจขายตรงหรือเครือข่ายเองหลายๆบริษัทก็มีอายุการทำธุรกิจมาหลายสิบปี มีสาขากระจายอยู่ทั่วโลก หากผิดกฎหมายหรือพบว่าเอาเปรียบคงยากที่จะทำธุรกิจต่อไปได้
แต่เหตุผลที่สำคัญทีสุดกว่าทุกอย่างที่กล่าวมาข้างต้นคือ “การกลัวดูไม่ดี” เพราะหลายคนจะมองไปว่าเป็นอาชีพที่คนไม่มีอะไรทำแล้วไปทำ หรือต้องไปง้อหรือหลอกล่อผู้อื่น เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พบเห็นเองได้หลายครั้ง “ยุคใหม่ฯ” เองเป็นนักการตลาด การที่จะตัดสินใจทำอะไรหรือไม่ทำอะไรต้องมีเหตุผลประกอบ เรื่องแรกคือถูกกฎหมายหรือปล่าว ส่วนเรื่องใหญ่มากๆที่จะทำไม่ทำก็คือมันคุ้มหรือปล่าว ไม่ได้เกี่ยวว่าเป็นธุรกิจอะไรแบบไหน
คราวนี้เรามาดูกันว่าทำไม “ยุคใหม่ฯ” จึงใช้เกณฑ์นี้มาพิจารณา นั่นก็เพราะว่าจะเป็นการขายตรงเครือข่ายขายผ่านตัวแทน ขายทางช่องทางต่างๆ เช่น ห้างค้าปลีก ร้านค้าทั่วไป หรือขายออนไลน์ก็ตามที ล้วนแล้วแต่มีโอกาสทำพฤติกรรมคล้ายๆกัน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวเลยว่าเป็นขายตรงหรือไม่ ไม่ว่าจะธุรกิจรูปแบบไหนก็มีคนทำพฤติกรรมไม่ต่างกัน เพียงแต่เราเน้นหรือให้ความสนใจธุรกิจขายตรงว่ามีกลุ่มคนที่ทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม จึงทำให้เราพบเจอเรื่องแบบนี้
ลองมาดูเรื่อง 4Ps หรือส่วนประสมการตลาด
P1 Product หมายถึง สินค้าหรือบริการก็ได้ มีทั้งจับต้องได้และไม่ได้
P2 Price หมายถึง ราคาจำหน่ายหรือราคาที่ถูกนำเสนอ
1
P3 Place หมายถึง ช่องทางในการจัดจำหน่าย จะเป็นสถานที่ที่ผู้คนมาพบเจอกัน หรือไม่มีสถานที่ก็ได้ แต่ต้องเป็นช่องทางที่ให้ทำให้เกิดการซื้อและการขาย
P4 Promotion หมายถึง การส่งเสริมการขาย โดยภาพรวมแล้วคือการกระตุ้นให้เกิดการซื้อ จะเป็นการลดราคาหรือไม่ลดราคาก็ได้ หรืออาจจะเป็นการขายรวมกับสินค้าหรือบริการชนิดอื่นก็ได้
Pinterect
แล้วการขายตรงหรือเครือข่ายคืออะไร?
รูปแบบที่มีการนำเสนอสินค้าเพื่อให้เกิดการซื้อขาย นั่นคือช่องทางการจัดจำหน่าย หรือ Place จะเป็นการขายออนไลน์ วางจำหน่ายหน้าร้าน ขายผ่านตัวแทนจำหน่าย ขายในห้างร้านต่างๆ แม้กระทั่งใส่รถเข็นขาย ก็เป็นช่องทางการจัดจำหน่าย
“การขายตรงหรือเครือข่าย” ก็เป็นหนึ่งในช่องทางการจัดจำหน่ายที่ผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายเลือกใช้ เพราะการขายในรูปแบบนี้ มีวัตถุประสงค์แต่เดิมที่ต้องการให้เกิดการเคลื่อนตัวของสินค้าได้อย่างรวดเร็ว และที่สำคัญคือการกระจายรายได้ลงสู่ผู้บริโภค แทนที่เงินจำนวนเดียวกันจะไปกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนไม่กี่ตระกูล
แต่ด้วยเหตุผลใดมิทราบได้ว่าทำไมคนที่ทำธุรกิจผ่ายช่องทางนี้ใช้วิธีที่คนส่วนมากไม่ชอบกัน จึงทำให้วัตถุประสงค์ของการตลาดการขายตรงและเครือข่ายผิดเพี้ยนไป
กรุงเทพธุรกิจ
กฎเกณฑ์เบื้องต้นที่เราจะมาพิจารณาว่าจะทำหรือไม่ทำมีดังนี้
1. สินค้าผิดกฎหมายหรือไม่ ได้รับการรับรองหรือขออนุญาตจากหน่วยงานราชการแล้วยัง
2. เป็นการทำธุรกิจที่เน้นในการนำเสนอสินค้าหรือไม่ ถ้าไม่ก็ไม่ควรข้องแวะ
3. แนะนำให้คนสมัครโดยให้ค่าตอบแทนในการสมัครสูง จากค่าสมัครหรือให้ซื้อสินค้าที่มีมูลค่าสูงเกินจริงมากๆ
4. เสนอผลตอบแทนสูงๆในช่วงเวลาสั้นๆ
5. ไม่สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปของรายได้ของบริษัทได้
หากเราจะตัดสินใจร่วมธุรกิจ ควรมีข้อพิจารณาดังนี้
2
1. สินค้ามีคุณภาพได้รับการรับรองอย่างถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่
2. มีการแจ้งราคาและเงื่อนไขอย่างชัดเจน โดยเฉพาะเงื่อนไขการรับประกันสินค้า
3. บริษัทจดทะเบียนรูปแบบการประกอบธุรกิจจากสมาคมขายตรงหรือไม่ รวมทั้งมีการรับรองจากสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคด้วยหรือไม่
4. สามารถตรวจสอบที่มาของรายได้ได้หรือไม่
5. มีการประกอบธุรกิจเป็นระยะเวลานานเพียงใด
6. มีระบบการจ่ายผลตอบแทนที่คุ้มค่าขนาดไหน การจ่ายต้องสามารถจ่ายได้จริงและนาน
ที่จริงแล้วการขายตรงกับการตลาดแบบเครือข่ายหากลงในรายละเอียดแล้ว จะมีความแตกต่างกันพอสมควร แต่ครั้งนี้ตั้งใจที่จะสื่อให้เห็นการทำตลาดในรูปแบบนี้ที่ทำไมหลายคนจึงตั้งข้อรังเกียจกัน จึงไม่ได้ทำการลงในรายละเอียดของเรื่องนี้
การขายตรงกับการตลาดแบบเครื่อข่าย ก็เป็นเพียงช่องการทำตลาดหนึ่งที่ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายเลือกใช้เท่านั้น หากไม่ผิดกฎหมายและมีการทำธุรกิจที่ตรงไปตรงมาไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่ารังเกียจแต่อย่างใดหากเราลองเปิดใจ และที่สำคัญยังเป็นการประกอบอาชีพที่สุจริตชนทำกัน
ธุรกิจผิดกฎหมาย ธุรกิจที่เอารัดเอาเปรียบประชาชน ธุรกิจผูกขาดที่ใช้ความได้เปรียบการเล่นเส้นสาย น่าจะถูกรังเกียจมากกว่าหรือไม่
ข้อมูลมุมมองการตลาดที่ทันสมัยจากประสบการณ์จริง อ่านได้ใน Blockdit ยุคใหม่การตลาดของไทย
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย) ตอนล่าสุด
โฆษณา