24 มิ.ย. 2020 เวลา 08:25 • ธุรกิจ
ส่งออกไทย พ.ค. 2563 ติดลบ 22.5% ยังไหวอยู่ไหม??
ตัวเลขส่งออกเดือน พ.ค. 2563 ติดลบ เยอะขนาดนี้ เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง และติดลบแบบนี้ยังไหวอยู่ไหม
หากพร้อมแล้ว เราไปติดตามกันเลย
1) ภาพรวมประเด็น สำคัญ ก็คือ โควิด ไม่ใช่กระทบแค่ไทย แต่โดนกันทั่วโลกกระทบทั้ง Demand-Supply ซึ่งปัญหาน่าจะลากยาว...ซึ่งไม่เหมือนช่วงน้ำท่วม ปี 2554 ซึ่งกระทบแค่ฝั่ง Supply
2) สินค้ากลุ่มเกษตรและอาหาร ก้าวขึ้นมามีสัดส่วนสำคัญของการส่งออก ครองสัดส่วนถึง 22.7% เลยทีเดียว จากของเดิม 15-16% นั่นคือ อาหารก็ยัง เป็นพระเอก แต่ก็ต้องมุ่งมั่น ในการเพิ่มมูลค่าสินค้า ให้ขายได้แพงขึ้น และต้องระวังเรื่องการติดเชื้อ เอาไว้ให้ได้
สินค้าเกษตรฯ ที่เติบโต สูงมากๆ ได้แก่ ทุเรียน (+63.7%), ไก่ (+27.9%), ข้าวหอมมะลิ (+25.5%), และอาหารน้องหมาน้องแมว (+16.1%)
3) การส่งออก เทียบกับประเทศอื่นๆ ไทยก็ยังดูพอไปได้ โดย 5 เดือนแรก ส่งออกติดลบเพียง 3.7% เทียบกับเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย ติดลบไป 8.1% หรือ เทียบอินเดียยิ่งหนัก ติดลบไป 26.5%
แต่สำหรับการฟื้นตัว ยังต้องรอดูต่อไป โดยภาคอุตสาหกรรม มองว่าเดือน เมษายน และพฤษภาคมที่ผ่านมา คือ ต่ำแล้ว แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะลากยาว ขนาดไหน และจะฟื้นเมื่อไหร่
4) ราคาน้ำมัน ยังอยู่ในระดับต่ำ ก็กระทบการส่งออกโดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับปิโตรเลียม ส่วนค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาก ยังไม่ได้สะท้อนในตัวเลขเดือน พฤษภาคมที่ผ่านมา
5) ที่น่ากลัวคือ มูลค่านำเข้า เดือน พ.ค. ติดลบ ถึง 34.41% ทั้งปีติดลบไป 11.6% โดยเฉพาะมูลค่านำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักร ติดลบกว่า 25-26% ซึ่งก็บ่งบอกอนาคตได้ว่า ภาคการผลิต ยังไม่กลับมาในเร็ววันอย่างแน่นอน
6) จริงๆ แล้วตัวเลขส่งออก หากหักสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธ จะหดตัวถึง 27.2% แต่หากมองดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ หรือ PMI ก็จะพบว่าเริ่มมีการฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในเดือน เมษายนแล้ว
7) ตลาดส่งออก มีแค่จีน ที่เติบโต เดือน พ.ค. โตถึง 15.3% ทั้งปี โต 4.7%, สหรัฐฯ 5 เดือนแรกยังบวก นอกนั้น ติดลบกระจาย โดยเฉพาะอินเดีย ติดลบไป...76% เลยทีเดียว
8) รถยนต์ ส่งออก ติดลบหนักมาก เดือน พ.ค. - 62.6%, ทั้งปี -30.3% โดยของไปติดอยู่ตามท่าเรือต่างๆ ทั้งนี้ ความต้องการเริ่มกลับตัวมาแล้ว
ยางพารา ที่เห็นราคาหุ้นพุ่งเป็นจรวจ ก็ ยอดส่งออกติดลบถึง 42% เลย แต่อันนี้คือ ยางดิบ, ยางรถยนต์ก็ติดลบเช่นกัน แต่สำหรับพวกถุงมือยาง ก็ยังเติบโตดีอยู่
อุปกรณ์กึ่งตัวนำ เริ่มมีนักลงทุนมาลงทุนเพิ่มในไทย
อัญมณี สินค้ามีราคาแพง ก็ยังติดลบหนัก ยกเว้นทอง ส่งออกเติบโตมาก
9) ข้อเสนอแนะด้านนโยบาย ได้แก่
หนึ่ง การรักษาชีวิต ของผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs, และผู้ให้บริการโลจิสติกส์
สอง เน้นทำตลาดประเทศใกล้เคียงกับไทย ไม่ว่าจะเป็น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีใต้ คือ เลือกประเทศที่ยังพอมีกำลังซื้อ สำหรับอินเดีย
สาม สินค้าก็ต้องเลือก ต้องเน้นกลุ่มที่มีศักยภาพ สินค้ากลุ่ม New Normal ได้แก่ กิน อยู่ ใช้ บริโภคทุกวัน สินค้าที่เน้นความปลอดภัย หรือสินค้าเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการ WFH
สี่ ต้นทุนการขนส่งระหว่างประเทศ ยังแพงอยู่ (เช่น ขนส่งทางอากาศ ราคาแพงเป็น 5-10 เท่าตัว แถมการบินไทย ก็จอดอยู่นิ่งๆ) โดยที่สำคัญคือ ผู้ประกอบการต้องรวม order กัน แล้วส่งออกทีเดียว รวมกันส่งออกไปทางอากาศ
ห้า ความเสี่ยงค่าเงิน เงินบาทแข็ง ผู้ประกอบการนำเข้าส่งออก ต้องคำนึงถึงการประกันความเสี่ยง
หก การย้ายฐานการผลิต ไทยต้องพยายาม ดึงเงินทุนมาลงทุนให้ได้ (นักลงทุน แห่กันไปเวียดนาม เยอะมากจริงๆ)
ก็ต้องมองว่า ตัวเลขต่างๆ ก็เป็นเลขในอดีตไปแล้ว คงต้องมองไปข้างหน้า ว่าเราจะกลับมาได้หรือไม่? สำหรับภาพระยะสั้น ค้าขายต่างประเทศ ก็ต้องระวังเรื่อง เครดิตเทอม ลูกค้าเบี้ยวไม่จ่ายหนี้ให้ดี อาจแก้ด้วยการใช้ L/C หรือการทำประกันความลูกหนี้การค้าเอาไว้
ระยะยาว ที่น่ากลัวกว่าโควิด ก็คือ การ Disruption ของ เทคโนโลยีดิจิตอล คือ ใครปรับตัวไปทำธุรกิจโดยใช้ช่องทางออนไลน์ไม่ทัน ก็คงเหนื่อยแน่ๆ
นอกจากนี้ ปัญหาสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ก็เป็นสิ่งที่ต้องประเมินผลกระทบสำหรับแต่ละธุรกิจ และรับมือกันให้ดี ประเด็นการเข้าร่วม CPTPP ก็ต้องพิจารณากันให้ดี การเริ่มต้นเจรจา น่าจะดีกว่าไม่ทำอะไรเลย
หากบทความเป็นประโยชน์ กดไลค์ และแชร์ ได้เลยครับ
=====================
ผู้นำเข้า ส่งออก หาขนส่งมืออาชีพ
นึกถึง ZUPPORTS
=====================
ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า
❤️ อ่านบทความย้อนหลังได้ที่
นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า marketplace
โฆษณา