มารู้จักกับ ..เจตนาซ่อนเร้น..กันครับ
📚 เจตนาซ่อนเร้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 154 บัญญัติว่า
" การแสดงเจตนาใด แม้ในใจของผู้แสดง จะมิได้เจตนาให้ตนเองต้องผูกพัน ตามที่แสดงออกมาก็ตาม หาเป็นมูลเหตุให้ การแสดงเจตนานั้นเป็นโมฆะไม่ เว้นแต่ คู่กรณี อีกฝ่ายหนึ่ง จะได้รู้ถึงการแสดงเจตนาอันซ่อนเร้น อยู่ในใจของผู้แสดงนั้น "
👩🚒 นี่แหละครับหน้าตาของ เจตนาซ่อนเร้น ในการทำนิติกรรมหรือ สัญญา 2 ฝ่าย มีฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาโดยไม่ประสงค์ผูกพัน ตามนิติกรรมหรือสัญญา นั้น โดยคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่ได้รู้เห็นหรือล่วงรู้ด้วย จึงเข้าทำสัญญานั้น โดยที่ไม่รู้ว่า อีกฝ่าย ไม่ประสงค์ผูกพันตามที่ตกลง การแสดงเจตนาก็จะไม่ตกเป็น โมฆะ สามารถใช้บังคับได้ ครับผม 🌾
🐸 เหตุผล ทำไมไม่เป็นโมฆะ เพราะเจตนารมณ์ของกฎหมายคุ้มครองบุคคลที่สุจริต เนื่องจากเจตนา ที่อยู่ในใจ มันไม่สามารถล่วงรู้ได้นั้นเอง จึงต้องถือเอา พฤติกรรมที่แสดงออกโดยการกระทำเป็นหลัก
🌺 ยกตัวอย่างนะครับ สมปองทำสัญญากู้เงินสมศรี โดยมี กำหนดชำระคืน 1 ปี โดยมีสมใจทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ แต่สมใจมีเจตนาค้ำประกัน 6 เดือนซึ่งเป็นเจตนาซ่อนเร้นในใจ แต่ไม่แจ้งหรือแสดงออกมาให้สมศรีทราบหรือล่วงรู้ อย่างนี้ สมใจจะมาอ้างว่า ฉันมีเจตนาค้ำประกันเพียง 6 เดือนไม่ได้...สัญญาค้ำประกันจึงผูกพันสมใจ ไม่ตกเป็นโมฆะครับ
💦 สั้น ๆ พอเข้าใจได้กับการแสดงเจตนาประเภทนี้ที่กฎหมายกำหนดไว้ แท้จริงแล้วก็ไม่ค่อยพบเจอซักเท่าไหร่ เพราะการแสดงเจตนาของบุคคลชัดเจนมากขึ้น
รู้กฎหมายมากขึ้น..นั้นเองครับ 🌲
👨 มีเพื่อนผมคนหนึ่งกลัวเมียมาก ( แต่น้อยกว่าผม 555 ) แกลั่นวาจาว่า ตูต้องทำให้เมีย.. กราบ..ให้ได้ หายไป 1 เดือน ผมนึกถึงก็เลยโทรหา ☎️
ผม " เฮ้ย ..เป็นไงสบายดีไหม เออ..เมียเอ็งกราบหรือยัง..ฟะ " ผมถามด้วยอยากรู้
เพื่อน " เดี๋ยวนี้กราบทุกวันเลย ทำกับข้าวกับปลาให้กินทั้งเช้าทั้งกลางวัน "
ผม " เออ..เอ็งเก่งนี้หว่า.ทำยังไง แล้วตอนนี้อยู่ที่ไหน " ผมสงสัยวิธีการ เผื่อเอามาใช้บ้าง 555
เพื่อน" อาตมาบวชอยู่วัดข้างบ้าน โยมเมียทำอาหารมาให้ฉัน ..ทุกวัน "
ผม " ...นมัสการกราบลาพระคุณท่านขอรับ... "
ภาพจากpixabay
👫 เมียกราบทุกวันจริง ๆ ส่วนผมบวชครั้งเดียวพอครับ วิธีนี้ไม่เหมาะกับกระผม 555 เลิกคิดดีกว่า..
😇 บุญรักษาทุกๆ ท่านนะครับผม 🍀
โฆษณา