25 มิ.ย. 2020 เวลา 01:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
จักรวาลวิทยา ตอนที่ 2 "กาแล็กซี่"
รูปภาพประกอบบทควม ที่มา - spaceth.co
ในปัจจุบันนี้วิทยาการซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ได้ประเมินว่าในเอกภพอันกว้างใหญ่ มีกาแล็กซี่อยู่มากถึง 500000 ล้านกาแล็กซี่ โดยนักดาราศาสตร์ได้แบ่งประเภทของกาแล็กซี่ตามรูปร่าง ดังนี้
- แบบกังหัน
- แบบกังหันมีคาน
- แบบทรงรี
แต่ก็มีกาแล็กซี่อีกแบบนึงที่พบได้มากเช่นกัน นั่นก็คือ แบบไร้รูปร่างซึ่งมันอาจจะเคยเป็นกาแล็กซี่แบบใดแบบหนึ่งมาก่อน กาแล็กซี่ที่เป็นบ้านของเราคือกาแล็กซี่ทางช้างเผือก ซึ่งถูกจัดอยู่ในแบบกังหันมีคาน ซึ่งระบบสุกริยะของเราก็อยู่บริเวณที่เรียกว่า Orion-Cygnus Arm
รูปภาพประกอบคำอธิบาย ที่มา - https://earthsky.org/space/does-our-sun-reside-in-a-spiral-arm-of-the-milky-way-galaxy
โดยกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรานั้นมีความสูงอยู่ที่ราว ๆ 10000 ปีแสง และมีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ราว ๆ 27000 ปีแสง และมีใจกลางอยู่ห่างจากตำแหน่งของดวงอาทิตย์ราว ๆ 25000 - 30000 ปีแสง โดยใจกลางของกาแล็กซี่นั้นกระจุกไปด้วยดาวฤกษ์อย่างหนาแน่น
แม้กาแล็กซี่แต่ละกาแล็กซี่จะมีระบบและรูปร่างที่ต่างกัน แต่ในเอกภพอันกว้างใหญ่ก็ยังมีการรวมกลุ่มกันของกาแล็กซี่เกิดขึ้น โดยกาแล็กจะถูกแรงโน้มถ่วงของกันและกันดึงดูดเข้ามารวมกัน โดยเราจะเรียกว่า Cluster of galaxy ซึ่งจะประกอบไปด้วยกาแล็กซี่มากกว่า 50 กาแล็กซี่ โดยกาแล็กซี่ทางช้างเผือกของเราเองก็มีกลุ่มเช่นกัน เรียกว่า Local group
ในตอนนี้เราก็จะเห็นภาพกันแล้วว่าในเอกภพจะถูกบรรจุไปด้วยกาแล็กซี่กระจายอยู่ทั่วทุกมุม และในแต่ละกาแล็กซี่ก็จะมีดาวฤกษ์กระจายอยู่ทั่วกาแล็กซี่แต่มีการกระจุกกันแน่นที่บริเวณใจกลาง ส่วนดาวฤกษ์แต่ละดวงก็จะมีระบบของมัน คือ มีบริวารโคจร เช่น ระบบสุริยะของเรา แต่ก็ใช่ว่าดาวฤกษ์ทุกดวงจะมีบริวารโคจร และดาวฤกษ์แต่ละดวงก็มีมวลและอุณหภูมิที่ต่างกันออกไป
อ้างอิง
Which spiral arm of the Milky Way contains our sun? จาก earthsky.org

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา