24 มิ.ย. 2020 เวลา 14:09
“ช้างมงคล” ไม่ใช่ช้างที่มีสีเผือกเสมอไป
ประวัติศาสตร์ตั้งแต่เริ่มยุคสร้างบ้านสร้างเมือง จะพบว่ามีเรื่องราวของสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก "ช้าง" เข้ามาผูกพันธ์เกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้คนในอดีต
ภาพจิตกรรมฝาผนัง ใน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
"ช้าง" มีส่วนเกี่ยวข้องในการรบการสงครามและป้องกันบ้านเมือง บรรพบุรุษจึงยกให้ "ช้าง" เป็นสัตว์ที่มีบุญคุณต่อประเทศชาติบ้านเมือง ไม่แพ้วีรกษัตริย์
ช้างเป็นสัตว์ซึ่งถูกจับเอามาฝึกเลี้ยงจนสามารถจะทำการใดเพื่อการช่วยเหลือมนุษย์ได้ ตั้งแต่เป็นพาหนะในการเดินทาง ใช้ลากขนซุง ใช้ไถนาแทนวัวควาย (ในประเทศอินเดียแถบแคว้นอัสสัม) และที่สำคัญเป็นพาหนะในการรบ
1
ช้างจึงมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะ "ช้างเผือก" ซึ่งถือเป็นช้างสำคัญขององค์พระมหากษัตริย์แต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ผมเชื่อว่ายังมีท่านผู้อ่านอีกหลายท่านเข้าใจว่า "ช้างเผือก" เป็นช้างที่มีสีผิวเป็นสีขาวอมชมพูแกมเทา แบบควายเผือก ซึ่งยังเป็นความเข้าใจที่ผิดกัน การดูสีผิวอย่างเดียว
ยังไม่สมารถกำหนดได้ว่า ช้างเชือกนั้น เป็นช้างเผือกที่เป็น "ช้างสำคัญ" ซึ่งจะต้องมีมงคลลักษณะครบถ้วน ทั้งจะต้องมีการดูลักษณะประกอบอื่นๆ
ภาพจิตกรรมฝาผนัง ใน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
หากจะให้ชัดเจนลงไปอีก ต้องจำแนกอีกว่า ช้างนั้นอยู่ในพงศ์ใด ตระกูลใด อีก
ด้วย ตามพระราชบัญญัติรักษาช้างป่า พ.ศ. 2465 ได้กล่าวถึงช้างลักษณะพิเศษไว้ 3 ชนิด โดยระบุไว้ว่า
https://mobile.twitter.com/SoraidaSalwala/status/1098405075507007488
"ช้างสำคัญ" เป็นช้างที่มีมงคลลักษณะ 7 ประการ ตามตำราพระราชคชศาสตร์ ประกอบด้วย
[ ช้างสำคัญ ]
1. ตาขาว (ดวตหรือแก้วตาสีขาว รวมทั้งขนตาก็มีสีขาวด้วย)
2. เพดานปากขาว
3. เล็บขาว
4. ขนสีขาว
5. พื้นหนังสีขาว หรือคล้ายสีหม้อใหม่ (สีอมชมพู)
6. ขนหางสีขาว
7. อวัยวะโกส (อวัยวะเพศ) สีขาว หรือสีคล้ายสีหม้อใหม่ (สีอมชมพู)
1
[ช้างประหลาด] หรือ "ช้างสีประหลาด" เป็นช้างที่มีลักษณะมงคลอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างแต่มีไม่ครบ 7 อย่าง
1
[ ช้างเนียม ] เป็นช้างที่มีลักษณะพิเศษ 3 ประการ คือ
1.สีผิวกายดำสนิท
2.งาเป็นลักษณะเป็นปลีกล้วย ซึ่งเรียกงาชนิดนี้ว่า "งาเนียม" จึงมีบางครั้งอาจมีผู้เรียกช้างเนียมว่า "ช้างงาเนียม"
3. เล็บมีสีดำสนิททุกเล็บทั้ง 4 เท้า
ทั้งช้างเผือก ช้างประหลาด และช้างเนียม นี้ถือเป็นช้างคู่บารมีของพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น เมื่อเจ้าเมืองหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับช้างทราบว่ามีช้างทั้ง 3 ชนิด เกิดอยู่ ณ ที่ใด ก็จะกราบบังคมทูลให้พระมหากษัตริย์ทรงทราบ เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้ผู้เซี่ยวชาญการดูคชลักษณ์ไปตรวจดู โดยคำนึงถึงลักษณะอันเป็นมงคลด้วย เมื่อตรวจสอบคชลักษณ์แล้วพบว่าเป็นช้างเผือก หรือช้างสำคัญแล้ว ก็จะน้อมเกล้าฯ ถวายแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและจัดให้มีพระราชพิธีสมโภช และขึ้นระวางเป็นช้างหลวงต่อไป
ภาพจิตกรรมฝาผนัง ใน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ทั้งนี้ถ้าใครมีช้างประเภทนี้อยู่ในครอบครอง กฏหมายก็ระบุไว้ว่าต้องนำขึ้นน้อมกล้าๆ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ซึ่ง
พระองค์ก็จะพระราชทานบำเหน็จให้ตามสมควร
ผู้เซี่ยวชาญในการตรวจดชลักษณ์ และดูแลช้างหลวง ที่เรียกกันว่า "กรมช้างต้น" จะถ่ายทอดความรู้กันมาทางสายตระกูล โดยตำแหน่งเจ้ากรมช้างหลวงในสมัยโบราณ คือ ตำแหน่งพระเพทราชา (ที่เห็นชัดที่สุดคือ พระเพทราชา ผู้ทำหน้าที่ควาญช้างพระที่นั่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในสมัยกรุงศรียุธยา ซึ่งต่อมาเมื่อทำพิธีปราบดาภิเษกหลังชิงบัลลังก์ สมเด็จพระเพทราชาก็ตั้งตนเป็นกษัตริย์แทน
ตำแหน่งนี้ยังคงมีสืบต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ที่เห็นชัดคือ พระยาเพทราชา (อ๋อย คชาชีวะ) ท่านผู้นี้เป็นเจ้ากรมช้างต้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ดั่งเช่น ต้นสกุลคชาชีวะ ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบคชลักษณ์สืบต่อกันมาหลายชั่วคน
ภาพจิตกรรมฝาผนัง ใน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ความเชื่อของคนในอดีตช้างเผือกนั้นไม่ใช่สัตว์ธรรมดา มีศักดิ์เทียบเท่าชั้นเจ้าฟ้ และว่ากันว่าสัตว์เลี้ยงคู่บุญของช้างเผือก คือ ลิงเผือกและกาเผือก เพราะสัตว์ทั้งสองชนิดนี้ จะสามารถป้องกันสิ่งอวมงคลที่จะมาสู่ช้างเผือกได้ ตำนานคชศาสตร์ ในคัมภีร์พราหมณ์บอกเรื่องราวคู่กับตำนาน "พรหมธาดา" เล่าเรื่องพระเจ้าผู้สร้างโลกไว้ว่า
ครั้งเมื่อพระนารายณ์รับบัญชาจากพระพรหมธาดาให้เสด็จมายังพิภพเพื่อสร้างโลก ในขณะนั้นพิภพยังไม่มีพื้นดิน มีแต่มหาสมุทร เพราะโลกยังไม่บังเกิด พระนารายณ์ประสงค์จะหาที่ประทับพักผ่อน จึงเสด็จไปประทับบนหลังพระยาอนันตนาคราช เจ้าแห่งสมุทร ในอีกพิภพหนึ่ง แล้วทรงบรรทมอยู่เหนือหลังของพระยาอนันตนาคราช ทรงเนรมิตดอกบัวให้ผุดขึ้นจากพระนาภี บัวดอกนั้นคือ "โลก" ที่เราอาศัยกันอยู่ในทุกวันนี้
ตำนานคชศาสตร์ บรรยายความต่อจากตำนานพรหมธาดาว่า เมื่อพระนารายณ์เนรมิตเป็นโลกแล้วก็ทรงแบ่งกลีบและเกสรบัวนั้นออกเป็น 4 ส่วน ถวายแด่ พระพรหม พระอิศวร พระวิษณุ และพระอัคนี จากนั้นมหาเทพทั้ง 4 องค์ ก็ได้เนรมิตช้างจากกลืบแลเกสรบัวนั้น ทำให้บังเกิดตระกูลช้างขึ้น 4 ตระกูล คือ
1. พรหมพงศ์ มี 10 หมู่ หมู่ที่โดดเด่นคือ หมู่ฉัททันต์ และอุโบสถ ซึ่งเป็นช้างที่สูงส่งด้วยวิทยาการและมีอายุยืนยง ในชาดกพระพุทธศาสนากล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ในชาติภพที่เกิดเป็นช้างก็เสวยพระชาติเป็นพระยาฉัททันต์หรือพระอุโบสถ 2 หมู่นี้เท่านั้น
2. ช้างเผือกตระกูลอิศวรพงศ์ มี 8 หมู่
3. ช้างเผือกตระกูลวิษณุพงศ์ แยกเป็น 6 หมู่
4. ช้างเผือกตรกูลอัคนีพงศ์ แยกได้มากถึง 42 หมู่ ส่วนใหญ่ คือช้างที่มีสีผิวประหลาด แต่ขาดคชลักษณ์สำคัญอื่นๆ ก็จะถูกจัดเข้าไป
อยู่ในตระกูลช้างตระกูลนี้ และในตระกูลนี้ก็ยังจัดได้อีก 2 ประเภท คือ
1
- ก. ช้างเผือก ที่แบ่งตามสีผิวกายและขนเป็น
ช้างเผือกเอก มีสีขาวบริสุทธิ์
ช้างเผือกโท มีสีบัวโรย
ช้างเผือกตรี มีสีใบตองแห้ง
- ข. ช้างเนียม ที่แบ่งตามสีผิวและขนเป็น
ช้างเนียมเอก สีดำ
ช้างเนียมโท สีคล้ำ
ช้างเนียมตรี สีขี้เถ้า
คัมภีร์พราหมณ์เทวภูมิกล่าวถึงเรื่องราวของพระคเณศวรว่า เป็นครูแห่งเหล่าควาญช้างที่มีศาลปะกำเรียกว่า "พิฆเณศวร" อาศรมเป็นที่สักการะ
พระพิฆเณศวรเป็นบุตรพระอิศวรกับพระอุมาเทวี มีเศียรเป็นช้าง และถือว่าเป็น
"พระยาช้าง" ที่จะดูแลความเป็นไปของช้างในมนุษยโลก รวมทั้งประทานเทวนุญาตในการต่อช้างร่าง เหมือนขององค์พิฆณศวรพระกรหนึ่ง (ในสี่พระกร) จะถือบ่วงบาศ อันเป็นเครื่องมือในการต่อช้างป่า
ในตำนานพุทธประวัติ กล่าวถึงช้างเผือกว่า เป็นสัญลักษณ์แห่งความรู้และการเกิด เพระก่อนที่พระพุทธมารดา (พระนางสิริมหามายา)
จะทรงครรภ์พระพุทธเจ้าได้ทรงพระสุบินว่ามีช้างเผือกมามอบดอกบัวให้ซึ่งดอกบัวนั้นหมายถึง ความบริสุทธิ์และความรู้
ทรงพระสุบินได้ 7 วัน ก็ตั้งพระครรภ์พระพุทธเจ้า ช้างเผือกนั้นถือว่าเป็นของสำคัญ เป็น 1 ในแก้ว 7 ประการ อันเป็นเครื่องหมายของจักรพรรดิ ซึ่งมีนางแก้ว ขุนคลัง
แก้ว ขุนพลแก้ว จักรแก้ว มณีแก้ว ม้าแก้ว และช้างแก้ว
ช้างเผือกจึงเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์และความเชื่อ ถือเป็น
สัตว์มงคลแห่งองค์พระมหากษัตริย์ผู้มีบุญญาธิการ เช่น ในสมัยกรุง
ศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงมีช้างเผือกมากถึง 7 ช้าง จนได้
รับพระราชสมัญญา "พระเจ้าช้างเผือก"
ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
รัชกาลที่ 2 ทรงมีช้างเผือกถึง 6 ช้าง และมีช้างเผือกเอกถึง 3 ช้าง จึงได้รับพระราชสมัญญาว่า "พระเจ้าช้างเผือก"เช่นกัน
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทำรูปช้างสีขาวอยู่ในวงจักรสีขาวไว้กลางธงพื้นสีแดง ที่มีใช้
อยู่เดิม ซึ่งเท่ากับประกาศว่า ธงมาจากแดนที่พระเจ้าแผ่นดินทรงมีช้างเผือก
จากรัชกาลที่ 2 มาถึงรัชกาลปัจจุบัน ก็มีช้างเผือกเข้ามาบ้าง และรับสืบต่อกันมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน
3
ดังเช่นรัชกาลที่ 9 ทรงมีช้างเผือกรวมทั้งสิ้นถึง 21 ช้าง แต่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 11 ช้าง โดยศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง รับหน้าที่ดูแลช้างสำคัญเพศผู้จำนวน 6 ช้าง ดังนี้
1. พระเศวตพาสุรคเซนทร์
2. พระเศวตศุทธวิลาส
ส่วนอีก 4 ช้าง ยังไม่ได้เข้าพิธีสมโภชขึ้นระวางช้าง คือ
1. ขวัญเมือง
2. ยอดเพชร
3. วันเพ็ญ
4. ทองสุก
อีกที่หนึ่งที่ดูแลช้างต้นที่ขึ้นระวางแล้ว คือ ที่โรงช้างต้นภายในเขต
พระราชวังภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร ดูแลช้างสำคัญเพศเมีย 4 ช้าง คือ
1. พระวิมลรัตนกิรินี
2. พระศรีนรารัฐราชกิรินี
3. พระเทพวัชกิรินี
4. พังมด (เฉพาะช้างเผือกนี้ ยังมิได้ทำพิธีขึ้นระวางเป็นช้างต้น)
รัชกาลที่ 9 และพระเศวตอดุลยเดชพาหน
ส่วนอีกหนึ่งช้าง เป็นช้างพลายเผือกโท ซึ่งเป็นช้างเผือกช้างแรกที่ได้มาในสมัยรัชกาลที่ 9 และเป็นช้างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงโปรด เพราะเป็นช้างที่แสนรู้มาก คือ พระเศวตอดุลยเดชพาหน ซึ่งได้
มาจากจังหวัดกระบี่ เมื่อปี พศ. 2499 อยู่ที่โรงช้างต้น ในพระราชวังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
และในตอนหน้า ผมจะพาท่านผู้อ่านเจาะลึกวิธีการคล้องช้างแบบสมัยโบราณกันต่อครับผม อย่าลืมติดตามกันนะครับ
❤️กดไลค์ กดแชร์ ติดตามเป็นกำลังใจ❤️
🙏ขอบพระคุณครับ🙏
เรียบเรียงโดยเจาะเวลาหาอดีต
อ้างอิงเนื้อหาและรูปภาพ
- ย้อนรอยสยาม; วิศนุ ทรัพย์สุวรรณ
- ตำหนักวาสุกรี วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ; ครบ 100 ปี พระธรรมปัญญาบดี
- พระสมุดตำราแผนคชลักษณ์; กรมศิลปากร

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา