25 มิ.ย. 2020 เวลา 02:04 • การเมือง
🤬 เพจดังเผลอเอ่ยชื่อที่ไม่ควรเอ่ยคืนเดียวยอดฟอลหายเกือบ 1 ล้าน (และกำลังลดลงเรื่อยๆ)
แคปชั่นบรรทัดเดียวเขียนว่า "ผมได้เจอ.. ตัวจริงแล้ว" เพียงเท่านี้ ไม่ถึง 20 ชั่วโมง ยอดติดตามหายไปกว่า 700,000 บัญชี และกำลังลดลงเรื่อย ๆ ล่าสุดที่เข้าไปดู หายไปเกือบ 1 ล้านแล้ว.. คนทำคอนเท้นท์ออนไลน์ได้อะไรจากเรื่องนี้?
ผมไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นน้องเขาถึงได้เขียนแคปชั่นถึงชื่อที่ไม่ควรเอ่ย ณ เวลานี้ ซึ่งเหตุผลที่สนับสนุนให้ถูกกดเลิกติดตามมากที่สุด มาจากเหตุเกิดในวันที 24 มิถุนายน 2563 ซึ่งตรงกับ 85 ปี คณะราษฏร์ปฏิวัติสยาม
ซึ่งภาพที่ปรากฎในคลิปวิดีโอที่เผยแพร่นั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น ดูเป็นกิจกรรม CSR ที่ทำเพื่อสังคม
แต่ด้วยความที่เจ้าตัวเป็น Influencer จึงมีอิทธิพลให้เรื่องนี้กลายเป็นข่าวขึ้นมาได้ในชั่วข้ามคืน โดยผู้คนให้ความสนใจว่า "เรายังคงต้องติดตามเพจน้องเขาอยู่หรือไม่?"
ถ้ามองตามความธรรมดา การกระทำในคลิปค่อนข้างน่าชื่นชม และส่งผลเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น แต่มีเพียงประเด็นที่ทำให้ผู้ติดตามรู้สึกแปลกใจก็คือการพูดถึงบุคคลทางการเมืองในปัจจุบันนี้ ทำให้แตกประเด็นได้ต่าง ๆ นานา ซึ่งตั้งแต่บุคคลต้นเรื่องนี้เป็นที่รู้จักเขาก็ไม่เคยกล่าวล่วงถึงการเมืองเลย
🗣 เห็นได้ชัดว่าการเมืองมีผลต่อ ยอด Follow Social Media และความนิยมอันวัดได้ในทุกช่องทาง จากแต่ก่อน ดารา คนดัง คนที่อยู่ในสังคม ไม่ค่อยแสดงทัศนคติเกี่ยวกับการเมืองเลย จนยุคนี้แม้ว่าจะมีความเสรีมากขึ้น แต่การแสดงออกทางการเมือง ในมุมมองของตัวเอง มีผลต่อความชอบของผู้ติดตาม
👥 ในการพูดถึงชื่อนักการเมือง ในเวลานี้ อาจจะไม่เหมาะกับการนำมาใช้ทำประโยชน์ทางโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์ใดๆ ก็ตาม แต่หากอยากจะทำ ต้องเลือกว่ายอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้หรือเปล่า
ในบริเวณกล่องช่องติดตามของฟีด หากเรากด Unlike แล้วบริเวณ เครื่องหมายจำนวนผู้ติดตามยังคงอยู่ ซึ่งทำให้เราสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนจากตัวเลข 2 ช่องนี้ ซึ่ง Content ล่าสุดที่ทางเพจปล่อยออกมา ได้เขียนแคปชั่นคล้ายกับว่าจุดประเด็นต่อเนื่องจากคลิปที่ปล่อยออกไปเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2563 มีผู้มาแสดงความคิดเห็นกว่า 7,000 คน ทั้งในทางที่ดีและไม่ดี
ถ้าเรากด Unlike แล้ว แต่การติดตามอาจยังคงเห็นอยู่
หากมองในการตลาดที่เข้ามาสร้างรายได้นั้น จะคุ้มค่าหรือเปล่า ? หรือมีบางคนตั้งข้อสงสัยว่าทำไมถึงเลือกใช้วิธีพูดแบบนั้น
อย่างไรก็ดี คลิปที่โพสต์ สิ่งที่พูด คือสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว
เป็นบทเรียนให้คนทำสื่อต่าง ๆ ต้องออกมามองว่าหากเราจะโพสต์ จะพูดอะไรในคลิป หรือมีแค่เสียงใน Podcast ควรคำนึงถึงอะไรบ้าง
ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ ผมว่าเรื่องนี้อาจจะยังไม่จบ เป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อครับ
25.06.2020

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา