6 ก.ค. 2020 เวลา 11:00 • การศึกษา
ในชีวิตหนึ่งชีวิตของคนเรา หลาย ๆ คนต้องเคยมีความฝันที่อยากจะรวยมีเงิน ซื้อของได้ตามที่ใจอยาก กินได้ตามใจคิด สักครั้งหนึ่งในช่วงชีวิตไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น ตอนโต
หรือแม้กระทั่งในปัจจุบันเองก็ตาม หลายคนก็อาจยังมีความฝันเช่นนั้นอยู่
การมีเงินและการเป็นคนรวยนั้นคือสิ่งที่หลาย ๆ คนใฝ่ฝัน (แม้กระทั่งตัวผมเองก็ยังเคยฝัน) การมีเงินช่วยให้ชีวิตเราสะดวกสบายยิ่งขึ้น ซื้อรถขับเพื่อความสบายในการเดินทาง
ไม่ต้องไปเบียดเสียดกับผู้คน ไปไหนมาไหนไม่ต้องรอ ติดแอร์เปิดเเอร์เพื่อให้สดชื่น คลายความร้อนจากสภาพอากาศที่ร้อนอบอาวเช่นนี้ ทุกสิ่งอย่างเป็นไปได้ขอเพียงมีเงิน
เงินสามารถซื้อความสะดวกสบายได้จริง ๆ
แต่ความสะดวกสบายเหล่านี้ยั่งยืนจริงหรือ ?
ถ้าหากความรวยทำให้เราสบายตอนนี้แล้วลำบากตอนหน้า ด้วยสาเหตุที่ว่า
"ยิ่งรวย โลกยิ่งร้อน" เรายังอยากรวยกันอยู่ไหม ?
มีงานวิจัยหนึ่งจากมหาวิทยาลัยลีดส์ จากประเทศอังกฤษได้ทำการเก็บข้อมูลจาก 86
ประเทศที่เป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อน อาทิเช่น อเมริกา จีน ฯลฯ โดยศึกษาจาก
พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินที่เกี่ยวข้องกับพลังงานเช่น ค่าไฟ ค่าน้ำ ฯลฯ
ผลปรากฎว่า 10 % ของคนที่รวยที่สุดนั้นใช้พลังงานมากกว่า 10 % ของผู้คนที่จนที่สุดถึง 20 เท่า คิดง่าย ๆ ว่า หากคุณจ่ายค่า 1,000 บาทต่อเดือน กลุ่มคนรวยจะจ่ายค่าไฟที่
20,000 บาทต่อเดือน
กิจกรรมที่แตกต่างกันมากที่สุดของคนรวยและคนจนคือการคมนาคมหรือการเดินทาง
นั้นก็เพราะว่าคนรวยส่วนใหญ่มักมีพาหนะส่วนตัวเป็นของตัวเอง จึงไม่ค่อยใช้รถสาธารณะกันเท่าไหร บวกกับคนรวยบางกลุ่มอาจมีเครื่องบินส่วนตัวหรือนั่งเครื่องบินบ่อยครั้ง ในขณะที่คนอีกกลุ่มทั้งชีวิตเขาอาจไม่เคยได้นั่งเครื่องบินเลยสักครั้ง
ยิ่งคุณมีเงินมากเท่าไหรนั้นจะทำให้คุณอำนาจมากขึ้นเท่านั้น และยิ่งมีโอกาสที่คุณจะเห็นค่าของสิ่งแวดล้อมน้อยลง สาเหตุก็เพราะว่าความรวยทำให้คุณเข้าถึงทรัพยากรได้มากกว่าคนทั่วไป มีโอกาสเลือกมากกว่า นั้นทำให้คุณต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวคุณ
เอง และเมื่อเงินถูกใช้ตีมูลค่าของทรัพยากร คุณค่าของทรัพยากร จิตสำนึกถึงสิ่งแวดล้อมจะค่อย ๆ เลือนหายไป
หากเราตีมูลค่าของไฟฟ้าเป็นตัวเงิน และคุณมีเงิน 1 ล้านบาท ค่าไฟเพียง 2 หมื่นอาจเป็นเรื่องเล็กสำหรับคุณ แต่ถ้าเราพูดถึงปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่ต้องเกิดจากกระบวนการเผาไหม้ของถ่านหิน หรือกระบวนการอื่น ๆ ซึ่งปล่อยของเสียสู่สิ่งแวดล้อม ราคา 2 หมื่นนั้นถือว่ามากเลยทีเดียว
งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมในโลกของทุนนิยม ที่ความ
เหลื่อมล้ำทางรายได้สะท้อนไปถึงความเหลื่อมล้ำทางด้านพลังงานอีกด้วย
ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านพลังงาน เป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขโดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะนักการเมืองที่อาจต้องออกนโยบายหรือสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มคนที่มีเงินมีแรงจูงใจในการลดการใช้พลังงาน เช่น การเก็บภาษีด้านการใช้พลังงาน หรือ การเก็บภาษีบำรุงสิ่งแวดล้อม ในกรณีที่คุณใช้พลังงานมากกว่าคนปกติ สร้างมาตรฐานข้อกำหนดขึ้นมาว่าหากใช้พลังงานเกินกว่าที่กำหนดต้องเสียค่าบำรุงสิ่งแวดล้อม ไม่อย่างนั้นแรงจูงใจในการที่จะลดใช้พลังงานจะเป็นเรื่องยาก
ไม่ใช่คนรวยทุกคนที่ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ยังมีคนรวยคนมีเงินอีกมากมายที่ถึงแม้ตัวเองจะมีเงินมากก็ตามก็ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สิ่งนี้เป็นเพียงแนวทางที่ชี้ให้เราเห็น
ว่า เงินนั้นมีอำนาจมากขนาดไหน มันจะสามารถทำให้เราลืมได้แม้กระทั่งสิ่งแวดล้อม
ยิ่งมีเงินมากขึ้นโอกาสที่เราจะหลงในอำนาจของเงิน นั้นยิ่งมีมากขึ้นตามไปด้วย
เรียบเรียงโดย : เรื่องเล่าคนเข้าป่า
โฆษณา