25 มิ.ย. 2020 เวลา 12:17 • ธุรกิจ
คุณ 'เข้าใจและจดจำ' ข้อมูลไหนได้มากกว่า ระหว่าง
🔹 คนเราใช้เวลาอยู่หน้าจอเฉลี่ย 7.2 ชั่วโมง ต่อวัน 👀 หรือ
🔹 คนเราใช้เวลาอยู่หน้าจอเฉลี่ยต่อวัน นานเท่ากับ ✈️ นั่งเครื่องบินจากไทย 🇹🇭 ไปญี่ปุ่น 🇯🇵 ได้เลย!
.
📊 มาเปลี่ยนการเล่า Data ที่แสนธรรมดา ให้คนฟังเข้าใจง่าย เห็นภาพ และจดจำได้มากกว่าเดิม ด้วยเทคนิค 3C จากทีม Punch Up (Data-Storytelling Consulting & Studio)
.
🙋‍♂ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Infographics ที่เคยสร้างผลงานสุดเจ๋งมากมาย เช่น คอนเทนต์ในเว็บไทยรัฐ : คุณรู้จัก "ปลาทูไทย" ดีแค่ไหน https://www.thairath.co.th/spotlight/platu
1. Chunking (แบ่งส่วน)
หากตัวหนังสือติดกันมากเกินไป เวลาอ่านอาจทำให้สับสนบรรทัดหรือลายตาจนไม่น่าอ่านได้ง่ายๆ ดังนั้นควรปรับการเล่าข้อมูลให้ผู้ใช้เข้าใจง่าย
.
โดยเริ่มจากแบ่งส่วนข้อความออกจากกัน เพื่อแยกเรื่องที่ต้องการสื่อสารออกเป็นทีละประเด็น อาจจะแบ่งโดยการเขียนเป็นข้อ (1,2,3) หรือ แบ่งเป็นย่อหน้าก็ได้ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านรู้สึกสบายตา และสามารถโฟกัสกับเนื้อหาแต่ละย่อหน้าได้
2. Context (เปรียบเทียบ)
บางครั้งการเล่าข้อมูลด้วยตัวเลข อาจจะทำให้ผู้ฟังคิดภาพตามไม่ออก
.
หากเราสามารถหาตัวอย่าง ที่เปรียบเทียบแล้วเข้าใจง่ายและเห็นภาพ ก็จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจมากขึ้น
.
เช่น ในตัวอย่าง อวนที่ใช้จับปลามีขนาด 45-60 เมตร ผู้ฟังอาจจะนึกไม่ออกว่าอวนยาวขนาดไหน แต่หากเปรียบว่ามีขนาดเท่ากับเครื่องบิน 1 ลำ จะทำให้ผู้ฟังเห็นภาพตามได้ว่า อวนนี้มีใหญ่ขนาดไหน
3. Common (คุ้นเคย)
การใช้รูปภาพช่วยเล่าเรื่อง เพื่อทำให้ผู้ฟังเข้าใจและจดจำข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น ควรเลือกภาพที่สอดคล้องกับข้อมูลที่จะเล่า และเคยผ่านตาผู้ฟังมาก่อน
.
เช่นในตัวอย่าง กำลังเล่าถึงข้อมูลของสัดส่วนปลาทูที่ลดลง จึงนำภาพเข่งปลาทูที่มีลักษณะเหมือน Pie Chart และเป็นภาพที่ผู้ฟังคุ้นเคยมาทำ Data Visualization
โฆษณา