🍀รู้จัก...โมฆะกรรม ..กันซักหน่อย 🍁
📢 คำว่า "โมฆะ" ตามพจนานุกรม แปลว่า ไม่มีประโยชน์ ไม่มีผล ในทางกฎหมายการแปลความก็เช่นเดียวกัน การกระทำนิติกรรมใด ๆ หากขัดต่อกฎหมาย จะทำให้การแสดงเจตนานั้น ๆ เสียเปล่าไป กล่าวคือไม่มีผลใด ๆ และเมื่อการแสดงเจตนา ที่คู่กรณี ได้ทำนิติกรรมหรือสัญญา หวังจะให้ผูกพันกันนั้น ไม่มีผลใด ๆ แล้ว ย่อมไม่ก่อให้เกิดสัญญา ...🍅
🌻 เมื่อนิติกรรมหรือสัญญาใด ๆ ที่ตกเป็นโมฆะ เสียแล้ว ก็ไม่ก่อให้เกิดเป็นสัญญา อันเป็นมูลหนี้ เช่นนี้ โมฆะกรรมก็ย่อมไม่ก่อให้เกิดหนี้ อันเกิดจากมูลสัญญาที่ได้ทำกันขึ้น
🌲โดยหลักทั่วไปแล้ว เมื่อมีนิติกรรมหรือสัญญาที่ถูกต้องตามกฎหมาย หากมีการผิดสัญญาย่อมก่อให้เกิด สภาพการบังคับให้ชำระหนี้ เช่นให้กระทำการใด , ไม่กระทำการใด หรือ ส่งมอบทรัพย์สิน เพราะด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 194 แต่หากนิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ ก็ไม่สามารถบังคับให้ชำระหนี้ได้ ต้องไปใช้ในเรื่อง ของลาภมิควรได้ แทน ตามมาตรา 172 วรรค 2
ถามว่า แล้วมูลหนี้คืออะไร มูลหนี้ก็คือที่มาหรือบ่อเกิดแห่งหนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ได้แก่สัญญา หรือละเมิด เช่น นายจุ่น กู้งิน นาย จอง 1000 บาท นายจุ่น เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้นายจอง ชำระหนี้จำนวน 1000 บาท หรือมูลหนี้จากการละเมิด เช่น ขับรถด้วยความเร็วชนคนบนถนนได้รับบาดเจ็บ ก็เกิดหนี้ที่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย , ค่าสินไหมทดแทน เป็นต้นครับ แหม่...วันนี้เนื้อหาล้วน ๆ 🌿
🌾 ย้อนกลับมาที่โมฆะกรรมอีกสักนิด..นะขอรับ สำหรับนิติกรรมที่เป็นโมฆะ นั้นผู้ที่ได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากนิติกรรมที่เป็นโมฆะนั้น สามารถยกขึ้นกล่าวอ้าง ความเป็นโมฆะแห่งนิติกรรมนั้นได้ เราเรียกบุคคลพวกนี้ว่า" ผู้มีส่วนได้เสีย" 😁
👩 ตัวอย่างเช่น พ่อเป็นบุคคลล้มละลาย ซึ่งตาม พรบ. ล้มละลาย พ่อไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ ได้ แต่พ่อดันไปทำนิติกรรมสัญญาซื้อขายที่ดิน ต่อมาพ่อตายผู้ซื้อมาฟ้องขับไล่ ลูกออกจากที่ดิน ดังนี้ ลูกถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาซื้อขายที่เป็นโมฆะนั้น สามารถยกประโยชน์จากนิติกรรมที่เป็นโมฆะ ขึ้นอ้างได้ว่า สัญญาดังกล่าวไม่สามารถบังคับได้ เพราะขณะทำสัญญาพ่อเป็นบุคคลล้มละลาย ..
( ฎีกาที่ 3072/2536 ) 🍂
🤗 ถ้อยคำในทางกฎหมายบางที่ก็แปลความได้หลายนัย แล้วแต่ผู้ใช้แล้วแต่สถานการณ์ การทำนิติกรรมสัญญาใด ๆ ควรตรวจสอบควรมประสงค์ของคู่สัญญาให้ชัดเจน รวมทั้งความสามารถ ของคู่สัญญาด้วยเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ในภายหน้า ซึ่งปัจจุบัน เราก็สามารถตรวจสอบได้หลายทางนะครับ ...
🤫อย่างที่ผมบอก คำว่าโมฆะ มันอยู่ที่ผู้ใช้จะนำไปใช้ในสถานการณ์ไหน มีอยู่วันหนึ่งผมก็ขับรถพาครอบครัวไปต่างจังหวัด แวะจอดปั๊มน้ำมัน ก็เห็นสามีภริยาเขาทะเลาะกัน หลังจากทำธุระเสร็จ ก็กลับมาขึ้นรถ ระหว่างขับรถมา ผมก็ลองถามภริยาว่า
ผม " นี่เธอถ้าวันใดวันหนึ่งความรักของผมที่ให้คุณมันกลายเป็นโมฆะ เสียแล้ว คุณว่า ..ลูกจะเลือกอยู่กับใคร "
ภริยา " ...ลูกจะไม่ได้อยู่กับใครหรอกนะ " ภริยาผมตอบเสียงห้วน ๆ
ผม " อ้าวทำไม่ละ .."
ภริยา " ก็มึงตาย ส่วนกู ติดคุก " ..
ภาพจากpixabay
😁 เรื่องอมยิ้มในครอบครัว กับข้อกฎหมายเล็กน้อยมาเล่าสู่กันฟัง ครับ งานเริ่มเยอะ ฝนเริ่มตก ดูแลตัวเองและคนที่คุณรักออกกำลังกายรักษาสุขภาพด้วยนะครับ 🌺
😇 บุญรักษาทุก ๆ ท่านครับ 🤟🤟🤟
โฆษณา