27 มิ.ย. 2020 เวลา 01:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Habitable zone ความหวังของการตามหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก
รูปภาพระกอบบทความ ที่มา - spaceth.co
Habitable zone หรือที่มักเรียกติดปากกันว่า Goldilocks zone โดยตั้งตามเทพนิยายเรื่อง "Goldilocks and the Three Bears" ที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กหญิงผู้เลือกตุ๊กตาหมีตัวที่ไม่ใหญ่ และไม่เล็กเกินไป ซึ่งตรงกับคอนเซปของ Habitable zone ที่หมายถึงบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยได้ ยกตัวอย่างเช่นโลกของเรา ที่ไม่อยู่ใกล้และไม่ไกลดวงอาทิตย์มากจนเกินไป จึงเอื้อให้เกิดปัจจัยในการดำรงชีวิตอยู่ได้ของสิ่งมีชีวิต
การตามหาสิ่งมีชีวิตนอกโลกในอดีตนั้น ดาวเคราะห์ทุกดวงเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ แต่ด้วยการนำหลักการข้างต้นมาจัดหมวดหมู่ดาวเคราะห์ว่าดวงไหนอยู่ใน Habitable zone และดวงไหนไม่อยู่ ช่วยให้สโคปการตามหาสิ่งมีชีวิตนอกโลกเล็กลงและเป็นไปได้มากขึ้น
รูปภาพประกอบบทความ ที่มา - https://en.wikipedia.org/wiki/Circumstellar_habitable_zone
โดยแนวคิด Habital zone นี้ได้รับการบันทึกว่าถูกเผยแพร่ในปีค.ศ. 1953 และต่อมาในปีค.ศ. 2013 ได้มีการยืนยันออกมาว่าจากการอ้างอิงข้อมูลใน Kepler data มีดาวเคราะห์ที่ถูกระบุว่าอยู่ใน Habitable zone จำนวน 40,000 ล้านดวง
ซึ่งเหตุผลที่เราต้องอ้างอิงกับโลกนั่นเป็นเพราะว่า ในปัจจุบันนี้เรายังไม่ค้นพบสิ่งมีชีวิตนอกโลกเลย ดังนั้นเราจึงรู้จักแค่สิ่งมีชีวิตบนโลกเท่านั้น ความคิดที่ว่า "สิ่งมีชีวิตนอกโลกอาจไม่ได้มีปัจจัยในการดำรงชีวิตเฉกเช่นสิ่งมีชีวิตบนโลก" เป็นไปได้จริง เพียงแต่ว่าตอนนี้เรารู้จักแค่สิ่งมีชีวิตบนโลกเท่านั้นตามที่กล่าวไปข้างต้น จึงนำปัจจัยในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลกมาเป็นเกณฑ์ในการค้นหาดาวเคราะห์ที่อาจมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น
อ้างอิง
Circumstellar habitable zone จาก en.wikipedia.org
โฆษณา