26 มิ.ย. 2020 เวลา 11:09 • ประวัติศาสตร์
ที่มาของการติดรูปที่ประตูทางเข้า
จตุรัสเทียนอันเหมิน
อย่างที่เราทราบกันดีครับว่า จตุรัสเทียนอันเหมิน เป็นสิ่งก่อสร้างที่อยู่คู่กับพระราชวังกู้กง
(พระราชวังต้องห้าม) ที่ตั้งอยู่กลางกรุงปักกิ่ง
ของประเทศจีนในปัจจุบัน โดยมีการสร้างตั้งแต่
สมัยราชวงศ์หมิง ซึ่งเป็นราชวงศ์รองสุดท้ายของการปกครองในระบอบจักรพรรดิของจีน
พระราชวังกู้กง (พระราชวังต้องห้าม)
แต่วันนี้ผมไม่ไ่ด้มาพูดถึงเรื่องราวของจตุรัส
เทียนอันเหมิน แต่ประเด็นที่ผมจะมาบอก
ให้ทุกท่านรู้คือ ทำไมที่จตุรัสเทียนอันเหมินนี้
จึงต้องมีการติดรูปผู้นำจีนด้วย
หลังจากการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
หรือระบอบจักรพรรดิของจีนจบลงอย่างเป็นทางการ
ใน ค.ศ.1912 ดร.ซุน ยัด เซน เองได้มีการใช้จตุรัสเทียนอันเหมินนี้ในการเรียกประชุมผู้นำระดับสูง
อยู่บ่อยครั้ง สถานที่นี้จึงมีความสำคัญต่อเนื่อง
เรื่อยมา
คณะรัฐบาลของดร.ซุน ยัด เซนหลังการปฏิวัติซินไห่
แม้ ดร.ซุน ยัด เซน ต้องลี้ภัยไปที่ญี่ปุ่น
เพราะโดนขุนนางเก่าแห่งราชวงศ์ชิง คือ
หยวน ซือ ข่าย เข้ายึดอำนาจและสถาปนา
ตนเองเป็นจักรพรรดิ ใน ค.ศ.1913 และแสวงหา
การรับรองจากนานาชาติ แต่สิ่งที่หยวนทำนั้น
ไม่มีคนจีนคนไหนเห็นด้วยและเกิดสงคราม
ระหว่างพรรคก๊ก มิน ตั๋งกับหยวน ซือ ข่าย
อยู่เนืองๆ แต่สุดท้ายก็โดนพรรคพวกของ
ดร.ซุน ยัด เซน เข้าทำการยึดอำนาจกลับคืนมา
1
หยวน ซือ ข่าย สถาปนาตัวเองเป็นฮ่องเต้
ในช่วงปี ค.ศ.1913 - 1928 เป็นช่วงที่จีน
ตกอยู่ในสภาวะระส่ำระสายหนักทั้งมีการประท้วงของนักศึกษา การแบ่งก๊กแบ่งเหล่าของบรรดาขุนศึกต่างๆที่ไม่เห็นด้วยกับระบอบการปกครอง
แบบประชาธิปไตยของก๊ก มิน ตั๋ง
1
ดร.ซุน ยัด เซนและพรรคพวกได้ทำการปราบปรามขุนศึกและผู้ไม่เห็นด้วย จน ดร.ซุน เสียชีวิตในวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ.1925 จึงเกิดสุญญากาศทางการเมืองในพรรคก๊ก มิน ตั๋ง และหลังการเสียชีวิต
ของดร.ซุน ยัด เซน ก็มีการแขวนรูปเพื่อแสดง
ความไว้อาลัยที่จตุรัสเทียนอันเหมินและนับเป็น
ภาพบุคคลคนแรกที่ได้แขวนหน้าประตูของ
จตุรัสเทียนอันเหมิน
1
เจียง ไค เช็กยืนข้างศพของ ดร.ซุน ยัด เซน
ในพรรคก๊ก มิน ตั๋งเองมีการเสนอหัวหน้าพรรคใหม่
ทั้งวาง จิงเว่ย, เลี่ยว จ้งข่ายและหู ฮั่นหมิน
แต่สุดท้ายทั้ง 3 คนนี้ไม่มีใครได้เป็นหัวหน้าสักคน
เพราะขัดผลประโยชน์กันเอง
สุดท้ายวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1926 ฝ่ายขวา
ของพรรคก๊กมินตั๋งและกองทัพทั้งหมด รวมถึงทหารจากโรงเรียนหวงผู่เจียงได้พร้อมใจกันเสนอชื่อ เจียง ไค เช็ก ให้รับการตั้งเป็นผู้บัญชาการ
ทหารสูงสุดแห่งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนและเป็นหัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋งด้วย
เจียง ไค เช็ก หลังรับตำแหน่งผู้นำจีน
ในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ.1926 เจียง ไค เช็ก
ก็ได้เสนอนโยบายรวมชาติอีกครั้ง เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของดร.ซุน ยัตเซ็นที่ต้องการรวมชาติจีน ปราบเหล่าขุนศึกและใช้ระบอบประชาธิปไตย
โดยใช้หลักลัทธิไตรราษฎร ที่ผ่านมาต้องประสบความล่าช้าจากการกรีฑาทัพขึ้นเหนือ เพื่อปราบเหล่าขุนศึกมาตลอด เมื่อเจียงจึงนำทัพกรีฑาทัพ
ขึ้นเหนือ เพื่อมุ่งเอาชนะขุนศึกภาคเหนือและรวมจีน
เข้าด้วยกันภายใต้พรรคก๊กมินตั๋ง ในที่สุดเจียง
ก็ทำได้สำเร็จในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1928
และเริ่มต้นการปกครองของเขาจากนั้นเป็นต้นมา
รูปเจียง ไค เช็ค ในขณะที่พรรคก๊ก มิน ตั๋ง ขึ้นทำการปกครองจีนแผนดินใหญ่
ในปี ค.ศ.1945 หลังจากที่เจียง ไค เช็คได้นำจีน
ได้ร่วมกับกองทัพสัมพันธมิตรรบชนะญี่ปุ่น
เขาจึงเกิดแนวคิดที่จะทำอย่างไรก็ได้ให้คนจีน
จดจำเขาในฐานะผู้นำตลอดกาล จึงมีการ
ทำภาพถ่ายขนาดใหญ่ใส่กรอบแล้วนำไปติดตั้ง
ที่หน้าประตูทางเข้าของจตุรัสเทียนอันเหมิน
เพราะเขาเชื่อว่า สถานที่นี้เป็นสถานที่มงคลและ
คนสังเกตง่ายและเป็นสัญลักษณ์ของการฉลองชัยชนะของจีนด้วยในเหตุการณ์สงครามโลก
ครั้งที่ 2
เหมา เจ๋อ ตุง ประกาศชัยชนะในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ.1949และสถาปนาการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ขึ้นในจีน
หลังสงครามกลางเมืองจีนจบลง ในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ.1949 เหมา เจ๋อ ตุง ได้เปลี่ยนการปกครองของประเทศเป็นคอมมิวนิสต์ ได้สั่งให้มีการทำลายรูปปั้น รูปถ่ายและสัญลักษณ์ต่างๆ ที่สื่อถึงรัฐบาล
จีนคณะชาติ (รัฐบาลเจียงไคเชค)ทั้งหมด
ทำให้รูปของเจียงที่หน้าจตุรัสเทียนอันเหมิน
ก็โดนถอดออกด้วย และมีการนำรูปของ
เหมา เจ๋อ ตุง ขึ้นมาติดแทนในวันนั้นเป็นต้นมา
รูปของโจเซฟ สตาลินหน้าประตูจตุรัสเทียนอันเหมิน
ครั้งหนึ่งเคยมีการนำรูปของโจเซฟ สตาลิน
มาติดแทนรูปของ เหมา เจ๋อ ตุง ชั่วคราว
ในวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ.1953 ซึ่งเป็นวันที่สตาลิน เสียชีวิต เพื่อสดุดีวีรกรรมและรำลึกถึงในฐานะพันธมิตรที่ดี สตาลินเองได้ให้ความช่วยเหลือจีนเสมอมา จึงไม่แปลกเมื่อสตาลินตายแล้ว
เหมาจะทำเช่นนี้
1
การสวนสนามครั้งแรกหลังชัยชนะของเหมา เจ๋อตุงที่หน้าจตุรัสเทียนอันเหมิน ค.ศ.1949
แม้เหมา เจ๋อ ตุงจะถึงแก่อสัญกรรมไปตั้งแต่
ปี ค.ศ.1976 แต่ทางรัฐบาลจีนไม่ได้มีการปลดรูปของเหมาลงแต่อย่างใด เพราะเป็นการให้เกียรติว่า เหมา เป็นผู้นำที่วางรากฐานให้ประเทศจีน
ก้าวสู่ความเจริญงอกงามครั้งใหม่
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา