27 มิ.ย. 2020 เวลา 08:45 • ไลฟ์สไตล์
มี เรื่อง แน่หล่ะ วันนี้ (อยากมีเรื่อง นิ)
การสรุปเรื่องในหนังสือ โปรดอย่าตัดสินหนังสือจากปก เพราะนี่คือข้อเสียเดียวของเล่มนี้ ที่ดูแล้วน่าเบื่อมาก (ฉบับภาษาอังกฤษก็หน้าปกแบบนี้ครับ) หรือถ้าจะมีอีกข้อ ก็คือการตั้งชื่อหนังสือที่แห้งแล้งไปหน่อย
ไม่มีอะไรน่าจดจำเลย (หมายถึงฉบับภาษาอังกฤษ)
แต่นอกนั้น เนื้อหาดี ดีมาก ดีที่สุด มีไม่กี่เล่มที่ผมจะอ่านไป รำพึงรำพันไปว่า เจ๋งว่ะ โอโห ใช่เลย เฮ้ย คิดได้ไง
...ในเล่มจึงเต็มไปด้วยไฮไลต์แทบทุกบรรทัด (จนคิดว่าจะไฮไลต์บรรทัดที่ไม่สนใจดีกว่า)
Crucial Conversations ฉบับภาษาอังกฤษเขียนขึ้นในปี 2002 อัพเดทใหม่ในปี 2012 และแปลไทยในปี 2019 พูดถึงช่วงเวลาสำคัญที่อาจเป็นจุดเปลี่ยนในชีวิตของเรา นั่นคือช่วงที่เกิดการสนทนาครั้งสำคัญ หรือ Crucial Conversations
ตอนแรกผมคิดว่านี่คือหนังสือสอนเจรจาธุรกิจ หน้าปกก็ชวนให้คิดแบบนั้นว่าอาจจะน่าเบื่อ แต่พอดูรีวิวใน amazon โอโห ดีมาก ไม่มีใครด่าเลย
สุดท้ายก็เลยซื้อมาอ่าน และพออ่านฉบับไทยจบ ก็สั่งซื้อฉบับ kindle มาอ่านใหม่อีกรอบ และกดสั่งซื้อฉบับเล่มปกแข็งมาสะสมไว้ด้วย
ความดีงามของเล่มนี้ก็คือ Crucial Conversations ไม่ได้หมายถึงการเจรจาทางธุรกิจเท่านั้น แต่หมายถึงการพูดคุยในสถานการณ์ไหนก็ได้
ขอแค่ความเห็นไม่ตรงกันและมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง นั่นแหละการสนทนาครั้งสำคัญที่เปลี่ยนชีวิตได้เลย
หลายครั้งบางคนเลือกใช้คำพูดรุนแรงจนเกิดการแตกหัก ในขณะที่บางคนเลือกที่จะเงียบ เก็บทุกสิ่งไว้ในใจ หนังสือเรียก 2 วิธีการนี้ว่า Fool's Choice หรือทางเลือกของคนไม่ฉลาด พูดง่าย ๆ ก็คือ
จะพูดตรง ๆ แรง ๆ หรือจะเงียบเก็บไว้
...มันก็แย่พอกัน
ประเด็นก็คือ หนังสือเล่มนี้นำเสนอทางเลือกใหม่ที่ทำให้เราพูดสิ่งที่อยู่ในใจได้ โดยไม่ต้องทำร้ายอีกฝ่าย รวมทั้งยังเกิดความเข้าอกเข้าใจกันทั้งสองฝ่ายอีกด้วย
ที่เจ๋งก็คือเขานำเสนอแนวคิด เครื่องมือ และวิเคราะห์การสนทนาครั้งสำคัญได้อย่างเป็นระบบระเบียบ นำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีสติและสื่อสารได้ดีขึ้น แม้ทำได้แค่ 10% ของที่เขาสอนไว้ (ซึ่งผมลองไปใช้แล้ว) ชีวิตก็จะดีขึ้นมาก
ที่ชอบมากคือ เขามีวิธีอธิบาย ยกตัวอย่างชัดเจน แถมยังมีศาสตร์อื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น วิทยาศาสตร์ทางสมอง / NLP แบบไม่มโน และพออ่านไปสักพัก ผมรู้สึกว่าเขากำลังอธิบายธรรมะให้เรารู้เท่าทัน "การปรุงแต่งของความคิด" ที่สุดท้าย เรามักกลายเป็นพวก "คิดเอง ช้ำเอง"
แนะนำให้อ่านฉบับภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วย ถ้าทำได้ครับ ไม่ใช่ภาษาไทยแปลไม่ดี แต่เพราะบางคำ อ่านเป็นภาษาอังกฤษจะเข้าใจง่ายกว่า เช่นคำว่า Condition / Mutual Purpose / Mutual Respect
"เรื่องสำคัญต้องพูดเป็น" เขียนโดย Kerry Patterson/Joseph Greenny/Ron McMillan/Al Switzler
มีเรื่อง
การพูดดีอาจถึงเป้าหมายโดยเร็ว
ชอบกดไลท์จร้า
โฆษณา