27 มิ.ย. 2020 เวลา 10:15 • ประวัติศาสตร์
อิเหนา....นิทานปันหยี
อิเหนา เป็นบทละครพระราชนิพนธ์
ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นบทละครที่
วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็นยอดของบทละครรำ
เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีพร้อมทั้งเนื้อหา ทั้งความไพเราะ
ทั้งกระบวนที่จะเล่นละครประกอบกัน และยังเป็นหนังสือดี
ในทางที่จะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์
ตรงตามตำราทุกอย่าง แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าเรื่อง
มาจากนิทานพื้นเมืองชวา แต่ทรงดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับธรรมเนียม
ของบ้านเมือง อัธยาศัยและรสนิยมของคนไทย
ความเป็นมา
อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีมาแต่เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
มีที่มาจากนิทานปันหยี ซึ่งเป็นคำสามัญที่ชาวชวาใช้เรียกวรรณคดี
ที่มีความสำคัญมากเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องอิหนา ปันหยี กรัต ปาตี
วรรณคดีเรื่องนี้มีเนื้อเรื่องเป็นพงศาวดารแต่งขึ้นเพื่อการ
เฉลิมพระเกียรติ กษัตริย์ชวาพระองค์หนึ่งซึ่งทรงเป็นนักรบ
นักปกครอง และทรงสร้างความเจริญให้แก่ชวาเป็นอย่างมาก
ชาวชวาถือว่าอิหนาเป็นวีรบุรุษ เป็นผู้มีฤทธิ์ เรื่องที่เล่าสืบต่อกันมา
จนกลายเป็นนิทานจึงเต็มไปด้วยอิทธิปาฏิหาริย์
ว่าพลางทางชมคณานก โผนผกจับไม้อึงมี่
เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา
นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
จากพรากจับจากจำนรรจา เหมือนจากนางสการะวาตี
แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง เหมือนร้าง
ท้องมาหยารัศมี
นกแก้วจับแก้วพาที เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา
ตระเวนไพรร่อนร้องตระเวนไพร เหมือนเวรใดให้นิราศเสน่หา
เค้าโมงจับโมงอยู่เอกา เหมือนพี่นับโมงมาเมื่อไกลนาง
คับแคจับแคสันโดษเดี่ยว เหมือนเปล่าเปลี่ยวคับใจในไพรกว้าง
ชมวิหคนกไม้ไปตามทาง คะนึงนางพลางรีบโยธี
ภาพวรรณคดีอิเหนาpinterest
เรื่องย่ออิเหนา
เนื้อเรื่องตอนที่ 1
บ้านเมืองและกำเนิดตัวละคร
ใน ชวาสมัยโบราณ มีกษัตริย์ปกครองเมืองใหญ่เมืองน้อย
กษัตริย์วงศ์เทวาซึ่งถือว่าเป็นชาติตระกูลสูงสุด ด้วยสืบเชื้อสายมาจากเทวดา
ใช้คำนำหน้าพระนามว่า ระเด่น ส่วนกษัตริย์นอกวงศ์นั้น ใช้คำว่า ระตู
เริ่มต้นบทละครเรื่องนี้ กล่าวถึงกษัตริย์วงศ์ 4 องค์ ต่างเป็นพี่น้อง
ร่วมบิดามารดา ทรงพระนามว่าท้าวกุเรปัน ท้าวดาหา ท้าวกาหลัง
ท้าวสิงหัดส่าหรี ครองเมือง 4 เมือง ซึ่งมีชื่อเช่นเดียวกับพระนามกษัตริย์
ทุกพระองค์ต่างก็มีมเหสี 5 องค์ ตามประเพณี เรียงลำดับศักดิ์
คือ ประไหมสุหรี มะเดหวี มะโต ลิกู และเหมาหลาหงี
ประไหมสุหรีของท้าวกุเรปันและท้าวดาหานั้น เป็นธิดาของกษัตริย์หมันหยาเมืองใหญ่อีกเมืองหนึ่ง จึงทำให้เมืองหมันหยามีความเกี่ยวดองกับกษัตริย์วงศ์เทวามากขึ้น
ท้าวกุเรปันมีโอรสกับลิกูองค์หนึ่งทรงพระนามว่า กระหรัดตะปาตี ซึ่งได้หมั้นไว้กับบุษบารากาธิดาของท้าวกาหลังซึ่งเกิดจากลิกู ต่อมาพระองค์ปรารถนาจะให้ประไหมสุหรีมีโอรสบ้าง จึงได้ทำพิธีบวงสรวง ก่อนประไหมสุหรีทรงครรภ์ก็ได้สุบินว่าพระอาทิตย์ทรงกลดลอยมาตกตรงหน้า และนางรับไว้ได้เมื่อประสูติก็เกิดอัศจรรย์ต่าง ๆ เป็นนิมิตดี องค์ปะตาระกาหลาซึ่งเป็นเทวดาต้นวงศ์บนสวรรค์ เหาะนำกริชมาประทานให้พร้อมทั้งจารึกนามโอรสด้วยว่า อิเหนา
2
ต่อมาประไหมสุหรีได้ธิดาอีกหนึ่งองค์ พระนามว่า วิยะดา
ฝ่ายท้าวดาหาประไหมสุหรีก็ประสูติธิดา ได้พระนามว่า บุษบา
ขณะประสูติก็เกิดอัศจรรย์ก็มี กลิ่นหอมตลบทั่วเมือง
หลังจากประสูติบุษบาแล้ว ประไหมสุหรีก็ประสูติโอรสอีกพระนามสียะตรา
ท้าวกาหลังมีธิดา พระนามสะการะหนึ่งหรัด
ท้าวสิงหัดส่าหรีมีโอรส พระนามสุหรานากง และธิดาพระนามจินดาส่าหรีกษัตริย์ ในวงศ์เทวาจึงได้จัดให้มีการตุนาหงันกันขึ้นระหว่างโอรสและธิดาในวงศ์เดียวกันโดยให้ อิเหนาหมั้นไว้กับบุษบา
กระหรัดตะปาตีกับบุษบารากา สียะตรากับวิยะดา สุหรานากงกับสะการะหนึ่งหรัด แต่ก่อนจะมีการแต่งงาน ความยุ่งยากก็เกิดขึ้น
ติดตามตอนต่อไปนะคะ
เจเจ้รวบรวมสาระดีๆไว้ค่ะลำดับชื่อกันตาลายเลยทีเดียวฝากด้วยนะคะ
ขอบคุณที่มาหนังสือบทเรียนมัธยมชั้นที่4เรื่องอิเหนา
เล่าเรื่องอิเหนาฉบับหอสมุดแห่งชาติ
ขอบคุณบทความรูปภาพpinterest

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา