27 มิ.ย. 2020 เวลา 13:59 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
NOAA ตรวจพบฝุ่นทรายจากแถบแอฟริกาตะวันตกจำนวนมาก นำไปสู่การค้นพบไฟป่าขนาดใหญ่ในแถบแอฟริกาใต้
เป็นหาเรื่องมลภาวะบนโลกเรานั้นดูไม่ใช่เรื่องที่แก้ไขได้ยากนัก แต่กลับกลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำซาก โดยในครั้งนี้ NOAA ได้ตรวจพบฝุ่นจำนวนมาก ที่จะนำไปสู่การไขปริศนาของไฟป่า
Suomi National Polar-orbiting Partnership หรือ Suomi NPP เป็นดาวเทียมตรวจอากาศภายใต้การควบคุมโดย National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) ถูกปล่อยขึ้นสู่วงโคจร Sun-synchronous orbit (SSO) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2011 ซึ่ง Suomi NPP เป็นส่วนหนึ่งของ Joint Polar Satellite System (JPSS) กลุ่มดาวเทียมในวงโคจร Polar orbit ที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งเดิมจะมาแทนที่ระบบ Earth Observing System หรือ EOS ของ NASA แต่ไป ๆ มา ๆ ก็กลายเป็นใช้ด้วยกันไปเลย
ระยะเวลาภารกิจเดิมถูกกำหนดไว้เพียงแค่ 2 ปีเท่านั้นแต่ดาวเทียมก็ยังใช้ได้มาถึงทุกวันนี้เกินระยะเวลาภารกิจที่กำหนดไว้ถึง 9 ปี บนดาวเทียมมีระบบถ่ายภาพตรวจการทางอากาศทั้งหมด 5 ระบบ ดังนี้
1) Advanced Technology Microwave Sounder (ATMS) เรดาร์สะท้อนคลื่นไมโครเวฟใช้สำหรับตรวจค่าความชึ้นและอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศ
2) Cross-track Infrared Sounder (CrIS) ใช้สำหรับตรวจความชี้นและความดันชั้นบรรยากาศ
3) Ozone Mapping and Profiler Suite (OMPS) เครื่อง Imaging spectrometers ใช้สำหรับวัดระดับ Ozone ในชั้นบรรยากาศโดยเฉพาะเหนือขั้วโลก (ก็มันโคจรผ่านขั้วโลกจะให้ไปวัดไหน // ผิด ๆ)
4) Visible Infrared Imaging Radiometer Suite (VIIRS) เรดาร์ 22 คลื่นความถี่สำหรับตรวจจับแสง Infrared, แสงที่มองเห็นได้ เพื่อสังเกตการณ์สภาพอากาศ, ไฟป่า, การละลายของน้ำแข็ง, และการเปลี่ยนแปลงบนผื้นผิวโลก
5) Clouds and the Earth’s Radiant Energy System (CERES) เรดาร์วัดการแผ่คลื่นความร้อนจากผิวโลกโดยเฉพาะคลื่นจากดวงอาทิตย์ที่โลกสะท้อนกลับมา
Aerosol Index Map จากข้อมูลของ OMPS และ VIIRS บน Suomi NPP – ที่มา spaceth.co
โดยวันที่ 13 มิถุนายน 2020 ดาวเทียม Suomi National Polar-orbiting Partnership (Suami NPP) ของ NOAA ได้ตรวจจับกลุ่มพายุทรายขนาดใหญ่กำลังพัดผ่านเหนือมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือกระจายในพื้นที่กว่า 3,200 กิโลเมตร ซึ่งมีถิ่นกำหนดมาจากแถบแอฟริกาตะวันตก ถือว่าเป็นเรื่องที่นาน ๆ ที่จะเกิดเพราะอยู่ ๆ คงไม่เกิดพายุทะเลทรายเหนือมหาสมุทร แต่จากกระแสลมยกตัวที่่รุนแรงพอสมควรในเขตทะเลทรายทำให้ทรายจำนวนมากถูกพัดปลิวมาด้วยกับกระแสลมออกนอกชายฝั่งแอฟริกาตะวันตกและการค้นพบพายุฝุ่นนี้นำไปสู่การค้นพบไฟป่าและ Hot Spot จำนวนมากในประเทศแองโกลาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2020 ซึ่งนี่กำลังจะเป็นการซ้ำรอยประวิติศาสตร์การเผาป่า Amazon เมื่อปี 2019 ในอีกไม่ช้านี้
ต่อมาในวันที่ 18 มิถุนายน 2020 กล้อง VIIRS ก็ได้ถ่ายภาพในช่วงคลื่นแสงที่มองเห็นได้เหนือมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือแสดงให้เห็นถึงฝุ่นที่พัดกระจายจากชายฝั่งแอฟริกาตะวันตกไปมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือกว่า 3,200 กิโลเมตร ซึ่งโดยปกติก็จะมีฝุ่นที่พัดมาจากกระแสลมพัดขึ้นที่เรียกว่า Updraft แล้วพัดมาฝั่งแอตแลนติกเป็นธรรมดาอยู่แล้ว
แต่เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2020 ฝุ่นจำนวนมากถูกพัดมาถึงแถบอเมริกาใต้และอเมริกากลางปกคลุมอ่าวเม็กซิโกและมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือส่วนหนึ่ง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นน้อยมาก NASA ได้ใช้ OMPS, NM, VIIRS บนดาวเทียม Suomi NPP เพื่อตรวจสอบว่า Aerosol particles ที่เห็นอยู่นี้คืออะไร จากการตรวจสอบ Aerosol Absorbance ได้ผลว่าสิ่งที่เห็นอยู่นี้คือ UV Absorbing Particles กล่าวคือมันกลืนแสง UV นั่นเองซึ่งสื่งที่เป็นไปได้สุดก็คือฝุ่นทะเลทราย
ซึ่งฝุ่นระดับนี้ว่าแย่แล้วเพราะมันทำให้ Aerosol Index แย่ลงมากเป็นผลทำให้ค่าคุณภาพอากาศแย่ลงหมายถึงมันมีการปนเปือนมากขึ้นนั้นเอง เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2020 NASA และ NOAA ทำการ Trace หรือตามรอยฝุ่นที่ว่านี้ไปถึงแถบแอฟริกาแล้วสแกนพื้นที่ด้วย VIIRS บน Suomi NPP ก็พบว่าพื้นที่ทั้งหมดในเขตประเทศแองโกลาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกได้กลายเป็นทะเลเพลิงไปซะแล้ว ในเขตประเทศแองโกลามี Hot Spot มากกว่า 61,661 จุด และในคองโกมี Hot Spot มากกว่า 102,738 จุดไปแล้ว ซึ่งจากการคาดคะเนของ NASA เอง นี่อาจจะเป็นฤดูที่เกษตรกรเคลียร์พื้นที่หรือเตรียมพื้นที่สำหรับการปลูกพืชรอบใหม่ แต่เป็นการเตรียมด้วยการเผ่าเพราะว่ามัน “ง่าย” และประหยัด ซึ่งเป็นเคสแบบเดียวกับที่เกิดการเผาป่า Amazon ในช่วงเดือน สิงหาคม ปี 2019 เลย
เมื่อเรารวบรวมการแจ้งเตือนไฟป่าจากฐานข้อมูล MODIS (Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer) เราจะได้ข้อมูลของ Fire alert ตั้งแต่ปี 2001 จนถึงปัจจุบัน เราจะเห็นได้ว่ากราฟสีเทา ซึ่งก็คือกราฟของจำนวน Fire alerts ในปีก่อน ๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีแน้วโน้มไปทิศทางเดียวกันชัดเจนมาก หากถามว่าทำไม ก็เพราะว่าการเผาป่าแบบนี้แบบเดียวกันเลยมาเกินขึ้นมาเป็นสิบ ๆ ปีแล้วและมันก็กำลังจะเกิดในปีนี้อีกครั้ง เหตุผลใดจึงไม่มีใครให้ความสนใจกับการเผาป่าแบบเผ่ามันทุกปี ๆ
จุด Hot Spot จาก VIIRS ของ Suomi NPP – ที่มา NASA
ผลกระทบของการเผาป่าลักษณะเดียวกันกับการเผาป่า Amazon ร้ายแรงจนอาจทำให้ค่า Aerosol Index แย่ลงมาก ๆ รวมถึงอาจลามไปทำลายผืนป่า Rainforest ที่เปรียบเสมือนปอดของโลกด้วย NASA ได้ระบุไว้ว่าการเผาป่าแบบนี้จะสร้างควันและ Particulate Matter หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ PM จำนวนมาก รวมทั้งยังสร้างแก๊ส Carbon Monoxide และ Carbon Dioxide เป็นจำนวนมาก เป็นผลให้อากาศปนเปื้อน สุดท้ายนี้ Fire alert ในฐานข้อมูล MODIS ก็ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน หวังว่าในอนาคตการกระทำแบบนี้จะหมดไปในที่สุดเพราะมันเป็กความมักง่ายที่ดีแค่เพียงระยะสั้นแต่ผลระยะยาวนั้นจะคงอยู่ไปอีกสิบ ๆ ปี
อ้างอิง
NASA-NOAA’s Suomi NPP Satellite Analyzes Saharan Dust Aerosol Blanket จาก www.nasa.gov
NASA Observes Large Saharan Dust Plume Over Atlantic Ocean จาก www.nasa.gov
Angola and the Democratic Republic of the Congo Experiencing High Numbers of Agricultural Fires จาก www.nasa.gov
โฆษณา