28 มิ.ย. 2020 เวลา 16:40 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
จะเกิดอะไรขึ้นหากดาวพฤหัสกลืนโลกของเราไป?
มันเปิดไปได้มากน้อยแค่ไหน แล้วทำไมมันถึงอาจเกิดขึ้นได้จริง!!
ดาวพฤหัสจะเปลี่ยนไปขนาดไหน?
ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) เป็นดาวเคราะห์แก๊ส (Jovian Planet) ขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะที่สุกสว่างและสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากคุณใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กส่องไปที่มัน สิ่งที่ปรากฏเด่นชัดคือแถบสีน้ำตาลแดง (Belt) กับแถบสีขาว (Zone) ที่เกิดจากแก๊สชนิดต่างๆ พาดตัวตามแนวละติจูด
และพายุหมุนสีแดงขนาดยักษ์ (The Great Red Spot) ที่พัดมาเนิ่นนานไม่ต่ำกว่า 300 ปี บรรยากาศของดาวแก๊สยักษ์ดวงนี้ปั่นป่วนด้วยกระแสลมความเร็วสูงกว่า 600 กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งเกิดจากการที่ดาวพฤหัสบดีหมุนรอบตัวเองด้วยเวลาเพียง 10 ชั่วโมงต่อรอบ
ร่องรอยของการถูกชนเมื่อ 4 พันล้านปีก่อน
เมื่อมองย้อนกลับไปในอดีต จะเห็นได้ว่านี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ดาวพฤหัสได้พุ่งชนกลับดาวเคราะห์ดวงอื่น
ย้อนกลับไปประมาณ 4 พันล้านปี ดาวพฤหัสได้เกิดการชนที่รุนแรงกับดาวเคราะห์ที่มีมวลมากกว่าโลก 10 เท่า การชนในครั้งนี้ทำให้แก่นของดาวพฤหัสเปลี่ยนแปลงไป
ครั้งนึงเมื่อตอนดาวพฤหัสเพิ่งเกิดใหม่ๆ กำลังหาที่อยู้ในจักรวาล จากนั้นแรงดึงดูดของดาวพฤหัสมีพลังเพิ่มขึ้นถึง 30 เท่าภายในเวลาไม่ถึง 1 ล้านปี
ส่วนประกอบดาวพฤหัส
การโคจรที่เบี้ยวของดาวเคราะห์เกิดใหม่ที่อยู่ใกล้ๆ ทำให้มันไปชนกับดาวพฤหัส ดาวเคราะห์ดวงที่เคยชนกับดาวพฤหัสเมื่อ 4 ล้านล้านปีก่อน มันมีมวลมากกว่าโลกแค่ 10 เท่า แก่นกลางของมันเป็น Silicte ice เป็นหลัก มันชนด้วยความเร็ว 46 km/s แต่ดาวพฤหัสสูญเสียมวลไปเพียงเล็กน้อย แต่แก่นกลางดั้งเดิมเปลี่ยนไปอย่างมาก
ก่อนเกิดการชน แก่นกลางของดาวพฤหัสหนาประกอบด้วยธาตุหนักจำนวนมาก และธาตุอืนๆเป็นHydrogen & Helium หลังจากเกิดการชนแก่น Silicate ice ของดาวเคราะห์เกิดใหม่ได้รวมไปกับดาวพฤหัส ทำให้แก่นของมันบางลง ธาตุหนักกระจายออกไปรวมกับช้นนอก
แล้วจะมีโอกาสชนกับโลกของเรามั้ย?
โลกของเราโคจรรองดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วเฉลี่ย 29.78 km/s ในความเร็วนี้ถ้าโลกเกิดหลุดวงโคจรรอบดวงอาทิตย์แล้วพุ่งตรงไปหาดาวพฤหัส จะใช้เวลา 242 วันในการไปถึง
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์
จากนั้นดาวพฤหัสจะส่องสว่างเติบโตขึ้นเรื่อยๆในทุกๆวันทุกๆชั่วโมง ภายใน 6 วันดาวพฤหัสจะส่องสว่างเหมือนดวงจันทร์เลย ในไม่ช้าเราจะสังเกตเห็นช่วงเวลากลางวันมืดลง เราจะได้รับแสงอาทิตย์แค่ 50% จากปกติเมื่อไปถึงวงโคจรของดาวอังคาร
ช่วงเวลากลางวันได้รับแสงอาทิตย์ลดลง 50%
บรรยากาศโลกจะแสดงเป็นBuffer ทำให้เราต้องเจอสภาพอากาศที่หนาวมากขึ้น ดาวอังคารมีอุณหภูมิพื้นผิว -63 องศาเซลเซียส ครั้งหนึ่งถ้าเราเร่งความเร็วทะลุผ่านวงโคจรดาวอังคารเราจะเห็นดาวเคราะห์น้อยเป็นจำนวนมาก เราจะเห็นดาวตกที่สวยงาม
เราจะเจอกับอากาศที่หนาวเหน็บตลอดทั้งปี
แต่ดาวตกอันสวยงามเหล่านั้นมีความเสี่ยงที่จะชนกับโลกได้
ถ้าโลกของเราเกิดหลุดวงโคจรและถูกดาวพฤหัสดูดเข้าไปหา ความเร็วในการเคลื่อนที่ของโลกเราจะเพิ่มขึ้นถึง 60 km/s ซึ่งค่ามากกว่าความเร็วของเครื่องบิน 250 เท่า
ณ ตอนนี้ดาวพฤหัสมีดวงจันทร์อยู่ 79 ดวงโคจรรอบตัวมันตลอดเวลา ดังนั้นมันมีความเสี่ยงมากที่จะชนโลกของเราเมื่อถูกดูดจนเข้าใกล้ดาวพฤหัสมากขึ้น
โลกอาจชนกับดวงจันทร์ของดาวพฤหัสได้
แต่ถ้าเกิดไม่ชนดวงจันทร์บริวารเหล่านั้น มันจะเกิดสิ่งที่แย่กว่า นั่นคือโลกจะชนกับดาวพฤหัสอย่างจัง ทำให้ชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ทั้งสองบีบอัดมากขึ้น อุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนอากาศเกิดลุกเป็นไฟ
แต่เราไม่ต้องกังวลว่าโลกเราจะไปชนกับแก่นกลางดาวพฤหัส เพราะมันเป็นไปไม่ได้ โลกมีขนาดเล็กเกินไปและจะระเบิดในบรรยากาศก่อนจะถึงแก่นกลางนั่นเอง
References
📌https://www.jpl.nasa.gov/news/news.php?release=2014-231
📌https://www.jpl.nasa.gov/news/news.php?release=2014-231
โฆษณา