29 มิ.ย. 2020 เวลา 12:13 • การตลาด
Press Release คืออะไร ?
แล้วเรานำมาใช้ประโยชน์กับการตลาดอย่างไรได้บ้าง ?
พร้อมตัวอย่างการเขียน Outline อย่างง่าย
คำว่า Press Release เราเข้าใจว่าเป็นอะไที่เบสิคมากๆ ซึ่งเพื่อนๆทุกคนแค่ได้ยินคำนี้ ก็แทบจะรู้ความหมายโดยที่ไม่ต้องอ่านแล้วเนาะ 5555
แต่วันนี้เราจะมาเขียนเกี่ยวกับเรื่องของ Press Release แล้วเราจะสามารถใช้งานเค้าให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไรบ้างงงเน้อะ
ซึ่งเราขอบอกว่า บทความนี้จะเป็นประโชยน์กับเพื่อนๆที่ชอบเขียนบทความด้วยน้ะ อิอิ
Press Release หรือ ข่าวประชาสัมพันธ์
- การที่เราเปิดตัว หรือ ทำข่าวผ่านสื่อต่างๆ เพื่อเข้าถึงผู้คนทั่วไปจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น Online (เว็ปข่าว เฟซบุค Line) หรือ Offline (นิตยสาร หนังสือพิมพ์)
- โดยที่ข้อมูลต้องบ่งบอกว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน และที่สำคัญคือ ทำไม ? (ไม่จำเป็นต้องบอกว่าอย่างไรน้า)
- โดยที่ความยาวควรมีไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ รวม Headline แล้ว
ความใจผิดเกี่ยวกับ Press Release
- ไม่ใช่การโพสบทความธรรมดา
- ไม่ใช่สิ่งที่เราทำได้บ่อยๆ หรือ ถี่
- ไม่ใช่ประเภทของ Media Alert และไม่จำเป็นต้องส่งไปยัง personal communication ถึงลูกค้า
- และต้องไม่ใช่เรื่องราวที่ผู้คนสามารถหาอ่านทั่วไปได้
ตัวอย่างของ Press Release ที่เป็นแบบทางการเลย คือเนื้อหาจะอัดแน่น และไม่ได้มีการโฆษณาโดยตรงหรือเชื้อชวน (แต่จะมีเป็นแบบเล่น การตลาด SEO แทนนะ อิอิ)
Media Alert คือ
- การประกาศแจ้งข้อมูลที่ สั้น เนื้อหาไม่มาก และ Direct หรือจะเป็นพวก Invitation แบบนี้ก็ได้
ตัวอย่างของ Media Alert คือการแจ้งสั้นๆ เพื่อดึงความสนใจ โดยมีข้อมูลหลักๆคือ ใคร ทำอะไร ต้องไปที่ไหน ?
Press Release vs Media Alert แตกต่างกันยังไง ?
จะบอกว่าถ้าเพื่อนๆเข้าใจผิดเนี่ย อาจใช้งานประสิทธิภาพของ Press Release ได้เพียงแค่ Media Alert เท่านั้นน้ะ !
- Press Release เป็นข่าว ที่มีเนื้อหาและสาระสำคัญ แต่ Media Alert เป็นการประกาศเสียมากกว่า
- Press Release ต้องดูจังหวะและเวลาที่สำคัญ และไม่สามารถใช้กับ event ทั่วๆไปได้ แต่ Media Alert เหมาะกับการประกาศสำหรับ Event ต่างเช่น School, Travel, Education
- Media Alert เหมาะกับการยิงโดยตรงสู่ลูกค้า แต่ Press Release เหมาะกับการโพส หรือ ไปขอสื่อเพื่อลงพื้นที่ในหน้าหนังสือ หรือ สัมภาษณ์ ซึ่งเหมาะกับการแชร์มากกว่า
เริ่มต้นคิด Press Release ยังไงดีน้า ?
สมมุติว่าบริษัทเพื่อนๆ จำเป็นต้องให้เพื่อนๆเขียนจดหมายข่าวเพื่อเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือ แก้ไขความเข้าใจผิด เพื่อนๆจะเริ่มทำยังบ้างน้าาาา
1. หาให้ได้ก่อนว่า ข่าว ที่เพื่อนๆจะเขียนคือ ?
- อาจต้องเริ่มจากการคิดหัวข้อของตัว Press Release
- ต้องการเน้นการสื่อ"สาร" อะไรถึงคนอื่น ?
- ใครคือผู้รับสารหลักกันนะ ?
- แล้วผู้รับสารต่างๆ จะสามารถเริ่มใช้บริการนี้ หรือติดต่อได้ผ่านทางไหนบ้าง ?
- มีเทรนด์อะไร หรือข้อมูลทางตลาดที่เราสามารถใช้ในการเขียนนี้ได้บ้าง เช่น บริการเพื่อนๆมีการนำ AI ตัวใหม่มาใช้ ? มีการปรับปรุงทาง Software Innovation ?
2. ลองตอบคำถาม What Why เหล่านี้ดู
- ผู้อ่านต้องรับรู้เกี่ยวกับอะไร ?
- ทำไมเค้าต้องเสียเวลา 1-2 นาที ในการอ่านข่าว Press Release ฉบับนี้ ?
- แล้วทำไมบริษัทเพื่อนๆอาจต้องจ่ายค่าพื้นที่สื่อ เพื่อลงข่าวนี้ให้กับเพื่อนๆ ?
3. เรามี Data Asset อะไรบ้าง ที่จะทำให้ Press Release เราเข้าใจง่าย
- เช่น Logo, รูป, วีดีโอ หรือ Infographic
- สิ่งที่จะทำให้ Press Release มีความน่าสนใจมากขึ้น
- การที่มี Logo แบรนด์ของเพื่อนๆ ก็จะเอาไว้กันการเข้าใจผิดในการ ตีแผ่ หรือแชร์ Press นี้ต่อๆไป โดยเฉพาะ แบรนด์ของเพื่อนๆที่ชื่อคล้ายๆกับคนอื่น
- Video Press Release สามารถเข้าถึงผู้คนได้มากกว่า 2.8เท่ากว่าบทความตัวหนังสือ
- แต่เพื่อนๆเชื่อไม๊ว่า คนเรามักจะเลือกอ่านอะไรที่เป็นสีสัน หรือ มีภาพที่พอๆกับตัวหนังสือ อย่าง Infograhic เพราะ Press Release ไม่ได้กำหนดว่าต้องมีเขียนแต่ในกระดาษ A4 หรือ Microsoft Word แต่สำคัญคืออย่าลืมเรื่องเนื้อหาของเพื่อนๆด้วยละ :)
Infographic Press Release
แล้วการเขียน Press Release ละ เป็นยังไง ยากไม๊ ?
การวางแผน Outline การเขียน
ถ้าเพื่อนๆมีการวางแผน วางหัวข้อ หรือฐานต่างๆในการเขียนเนี่ย การสร้างPress Release ขึ้นมาก็จะไม่ใช่เรื่องยาก
เราจะแป่ะตัวอย่าง Press Release Outline ไว้ในภาพข้างล่าง ตัวอย่างของบริษัท "Air Asia" นะ แล้วเราจะเขียนตัวเลขเอาไว้ซึ่งจะมีการอธิบายไว้ข้างล่าง กว่าจะหาตัวอย่างที่ดีได้ อิอิ เพื่อนๆไม่ต้องอ่านบทความน้า มันยาวไป เดี๋ยวลงไปดูที่เราสรุปเทคนิคการเขียนไว้ ง่ายก่าาาาา
ตัวอย่างฉบับเราทำเอง โดยอ้างอิงจาก Press Release ของ AirAsia Thai
1. Headline
แน่นอนว่าต้องมี ประธาน (Company) กริยา (What they do?) และทำกับใคร ?
คิดว่าเเพื่อนๆ อ่าน Headline เค้าแล้วก็จะร้อง อ้ออ เลยละ เราไม่พูดซ้ำแต่ ขอเพิ่มเทคนิคดีกว่า
- ห้ามเขียนอะไรที่เป็ Negative หรือ เป็น Bias push ไม่ยั่งงั้นเพื่อนๆต้องไปเขียนบทความแทน Press Release น้า ระวังให้ดีเด้อ
- ให้เพื่อนๆคิดว่า นักข่าว หรือ ผู้อ่านมีเวลาน้อย แล้ว อะไรที่จะทำให้เค้าเลือกอ่าน หรือ เลือกแชร์ Press ของเราละ แน่นอน หัวข้อ Headline ไงงงงง
- แนะนำให้เขียนหัวข้อที่ Direct เลย เพราะ จะได้เป็นการ บรีฟผู้ที่จะอ่านว่า ใครทำอะไร กับใคร แบบ clearๆ
2. Subhead คือ
เพื่อนๆสังเกตตัวหนังสือที่เล็กมาลงมาข้างล่างไม๊ ตรงเบอร์ 2 สีม่วงนะ
- จะมี หรือไม่มีก็ได้นะ
- ส่วนใหญจะมีเอาไว้ สำหรับวิธี SEO จะได้เสิชเจอ
- หรือ Headline ไม่สามารถอธิบายอย่างชัดเจนได้เพียงพอในเนื้อหาทั้งหมด
- ควรมีเพียงแค่ไม่เกิน 2 บรรทัดน้ะ
- ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ ควรใช้ตัวใหญ่ Capital letter เฉพาะตัวแรกเท่านั้น เชื่อว่า หลายๆคนคงอยากเน้น จนเผลอใช้ในทุกๆคำ (เราก็เป็นจ้า 555555 มันดูสวยงะ แต่จริงๆ ไม่ถูกน้ะจ้ะ)
3. First Paragraph หรือ ย่อหน้าแรกเริ่มต้น
เราทำกล่องสีแดงไว้ให้เพื่อนๆน้ะ
- ถ้าเพื่อนๆ คิดว่าคนอ่านมีเวลาน้อย การที่เข้ามาอ่านย่อหน้าแรก แล้วน่าเบื่อ หรือไม่ดึงดูเนี่ย บอกเลยว่า ปิดทิ้งแน่นอน เราก็ได้แค่ Click rate ไม่ใช้ Read All rate
- ควรจะเริ่มด้วย เนื้อหาทั้งหมดแบบสั้นๆ สรุป ว่า ใครทำอะไรที่ไหน และใส่เวลา รวมถึงึวามสำคัญ หรือเราเรียกว่า Executive summary
- สำคัญที่สุดคือ Specific date & time อย่างตัวอย่างนี้คือแอร์เอเชียบอกทั้งราคา และ ช่วงเวลาของโปรโมชั่นนี้
4. Stakeholder quote
ตรงนี้เราจะลงมาเนื้อหาแล้วนะ ซึ่งถ้าเป็น Press Release เนี่ย ต้องมีบุคคลอ้างอิง แล้วจะเป็นใครไปได้ถ้าไม่ใช้ Company stakeholder เนอ
- ใครคือ Stakeholder คือ CEO, President, City of council member เช่นถ้าเป็นท่องเที่ยว ก็สามารถอ้างอิงถึง Governor, TAT หรือ ททท. ได้
- เพื่อนๆสังเกตไม๊ว่าเรามีใส่ เลข 4 กับไฮไลท์สีเหลืองไว้ 2 ที่ ก็เพราะว่า
ส่วนที่1 เป็นการเริ่มเกริ่น ส่วนที่2 เป็นการตอกย้ำเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มน้ำหนักจ้า
5. Trend Tie-in
เบอร์ 5 สีเขียวอันนี้ จะเป็นการเสริมน้ำหนักว่า เข้า Press ของเราอันนี้ สำคัญอย่างไร
- โดยการใส่ เทรนด์ตัวเลขเข้าไป เพื่อทำให้สิ่งที่ Company หรือ Stakeholder อ้างถึง จะทำให้มีน้ำหนักมากขึ้น และควรมาจากแหล่งอ้างอิงอื่นๆ ที่เปิดเป็นสาธารณะ
6. Testimonial quote
จริงๆแล้ว จะมีหรือไม่มีก็ได้นะ แต่เป็นการโชว์ให้เห็นว่า บุคคลสำคัญ หรือมีผลกระทบ เนี่ย เค้าได้มีการใช้งานแล้ว เป็นอย่างไร ซึ่ง มีไม่มีก็ได้
- จริงๆแล้วส่วนใหญ่ก็จะเอาไว้ท้ายบทความ
- ด้วยเนื้อหาที่จำกัด อาจทำให้หลายๆบริษัทใส่ตรงนี้ไปไม่ได้
- เราไฮไลท์สีม่วงเลข 6 ไว้ตรงกลางบทความเนอะ เพราะตรงนี้เค้ามีการพูดถึง UNESCO ว่า โคตากินาบาลู นี้ได้รับการยกย่องให้เป็นสถานที่เที่ยวสำคัญอันดับที่ 4
- จริงๆส่วนตัวเรามองว่าถ้าเราสามารถ merge ไปกับข้อ 5 ได้ เนียนๆ จะดีมากก ไม่ยาวไป
จบแล้วจ้าาาา เราหวังว่า บทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่ใช่แค่เพื่อนๆที่ทำ Press Release แต่คงมีประโยชน์กับเพื่อนๆที่เขียนบทความ เรียงความ ต่างๆด้วยน้า :):)
โฆษณา