29 มิ.ย. 2020 เวลา 14:30 • ประวัติศาสตร์
การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1830
การปฏิวัติใหญ่ครั้งที่ 2 ของฝรั่งเศส
หลายคนผมเชื่อว่า หากพูดถึงการปฏิวัติฝรั่งเศส
คงจะต้องยกกรณีการปฏิวัติใน ค.ศ.1789
มาพูดถึงก่อนแน่นอนและได้รู้จักบุคคลที่มีชื่อว่า
นโปเลียน โบนาปาร์ต
แต่วันนี้ผมไม่ได้มาเล่าถึงเหตุการณ์นี้แน่นอน
เพราะผมกำลังจะเล่าการปฏิวัติใหญ่ครั้งที่ 2
ในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส คือ การปฏิวัติ ค.ศ.1830
หรือ July Revolution
นโปเลียน โบนาปาร์ต
การปฏิวัติ ค.ศ.1830 มีมูลเหตุเริ่มต้นเมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 18
สิ้นพระชนม์ลงในปี ค.ศ.1824 เคานท์ แห่ง อาร์ตัวส์
พระอนุชาได้เสด็จขึ้นครองบัลลังก์สืบต่อมาในฐานะ
ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10
พระเจ้าหลุยส์ที่ 18
เคานท์ แห่งอาร์ตัวส์หรือพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10
เคยเสด็จลี้ภัยไปประทับอยู่ในประเทศอังกฤษ
เมื่อเกิดการปฏิวัติในปี ค.ศ. 1789
พระองค์เสด็จกลับมายังฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1814
และได้กลายมาเป็นผู้นําของกลุ่มนิยมเจ้า
เคานท์ แห่งอาร์ตัวส์หรือพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 เสด็จกลับมายังฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1814
ในปี ค.ศ. 1920 ได้เกิดเหตุการณ์รุนแรงสะเทือนใจพระเจ้าชาร์ลที่ 10มากเมื่อ ดุ๊ก แห่ง แบร์รี่
พระโอรสของพระองค์ถูกฆาตกรรม
โดยพวกหัวรุนแรงจึงมีผลทําให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ทรงเปลี่ยนนโยบายเอนเอียงเข้าหากลุ่มนิยมเจ้า เช่น มีการแต่งตั้งพวกนิยมเจ้าให้ขึ้นดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีและการส่งกองทหารฝรั่งเศสไปช่วย
พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 7 แห่งสเปนต่อสู้กับ
พวกเสรีนิยม
ดุ๊ก แห่ง แบร์รี่
พระเจ้าชาร์ลที่ 10 ขณะดำรงพระอิสริยศเป็นเคานท์ แห่งอาร์ตัวส์ (ภาพซ้าย) พระเจ้าชาลส์ที่ 10 ขณะทรงครองราชย์ (ภาพขวา)
เมื่อพระเจ้าชาลส์ที่ 10 ทรงขึ้นเป็นกษัตริย์
พระองค์ทรงพยายามผลักดันให้ฝรั่งเศสหันกลับไปสู่การปกครองในระบอบเก่า โดยทรงดําเนินนโยบายใกล้ชิดกับศาสนจักรซึ่งได้สูญเสียอํานาจไป
ในสมัยการปฏิวัติใหญ่ ค.ศ.1789 ให้กลับมา
ทําหน้าที่ควบคุมทางด้านการศึกษา
พระองค์ทรงให้ความช่วยเหลือแก่พวกอพยพลี้ภัยให้ได้รับเงินค่าชดเชย จากการสูญเสียทรัพย์สิน
ที่ถูกยึดไปในอดีตเป็นจํานวน 1,000 ล้านฟรังค์
ซึ่งเป็นเงินภาษีที่เก็บจากประชาชนฝรั่งเศส
นอกจากนี้พระองค์ยังได้ทําการปลดนายทหาร
ของนโปเลียนออกจากตําแหน่งทุกคน
2
ต่อมาในปี ค.ศ.1827 ได้มีการตรวจข่าวหนังสือพิมพ์อย่างเข้มงวด สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นได้สร้างความ
ไม่พอใจแก่ประชาชนฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก
และส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งในปี ค.ศ.1828
เพราะทําให้ฝ่ายค้านได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภา
เป็นจํานวนมาก
เจ้าชายโปลิแนค
ในปี ค.ศ.1829 พระเจ้าชาลส์ที่ 10 ทรงแต่งตั้ง
เจ้าชายโปลิแนก สมาชิกกลุ่มนิยมเจ้า
ซึ่งเป็นที่เกลียดชังของประชาชนฝรั่งเศส
ให้ขึ้นดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยทรงหวัง
ที่จะให้เจ้าชายโปลิแนกช่วยฟื้นฟูการปกครอง
ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นมาใหม่
ในฝรั่งเศส
นอกจากนี้พระองค์ยังทรงขยายอํานาจของ
ประเทศฝรั่งเศสโดยการส่งทหารเข้ายึด
เมืองแอลเจียส์ ซึ่งเป็นรัฐในอารักขา
ของอาณาจักรออตโตมานในแอฟริกาเหนือ
ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสได้สําเร็จ
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1830
1
ทหารฝรั่งเศสยึดเมืองแอลเจียส์ซึ่งเป็นรัฐในอารักขาของอาณาจักรออตโตมานในแอฟริกาเหนือให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสได้สําเร็จในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1830
พวกเสรีนิยมซึ่งเป็นฝ่ายค้านในสภาได้คัดค้าน
การขึ้นดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีของเจ้าชาย
โปลิแนกโดยอ้างว่าผู้ที่ขึ้นดํารงตําแหน่ง
นายกรัฐมนตรีจะต้องผ่านความเห็นชอบ
โดยเสียงส่วนใหญ่จากรัฐสภาเสียก่อน
พระเจ้าชาลส์ที่ 10 จึงทรงประกาศยุบสภา
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1830 และจัดให้มี
การเลือกตั้งขึ้นใหม่ แต่ผลกลับปรากฏว่า
ฝ่ายรัฐบาลต้องสูญเสียเสียงสนับสนุนในสภา
ไปอีก 50 เสียง
พระเจ้าชาลส์ที่ 10 ขณะกำลังร่างกฤษฎีกาซังคลูส์
พระเจ้าชาลส์ที่ 10 จึงทรงประกาศภาวะฉุกเฉิน
ในวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1830 โดยการออก กฤษฎีกาซังคลูส์ ให้ยุบสภาและให้ลดจํานวน
ผู้มีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งให้เหลือเพียง 25,000 คน และรัฐบาลได้เข้าควบคุมเสรีภาพ
ของหนังสือพิมพ์
เจ้าหน้าที่รัฐทำการตรวจข่าวหนังสือพิมพ์อย่างเข้มงวด
พระเจ้าชาลส์ที่ 10 และเจ้าชายโปลิแนกคิดว่าประชาชนส่วนใหญ่กําลังดีใจกับชัยชนะ
ที่ได้รับจากเมืองแอลเจียส์ คงจะยอมรับ
ในกฤษฎีกาฉบับนี้ แต่กลับปรากฏว่า อะดอล์ป ธิแอร์
และกลุ่มนักหนังสือพิมพ์ได้ช่วยกันปลุกระดม
ชาวฝรั่งเศสให้ออกมาต่อสู้กับรัฐบาล
การประท้วงที่กรุงปารีสในวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ.1830
การต่อสู้บนท้องถนนเริ่มขึ้นในวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ.1830 ทหารประจําการของรัฐบาล
ได้ก่อการกบฎและหันเข้าร่วมมือกับพวกปฏิวัติ
ในที่สุดกรุงปารีสก็ตกอยู่ภายใต้การควบคุม
ของฝ่ายปฏิวัติ
การเสด็จออกจากฝรั่งเศสของพระเจ้าชาลส์ที่ 10 หลังการทรงสละราชสมบัติ
พระเจ้าชาลส์ที่ 10 ทรงสละราชสมบัติ
ในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ.1830 และเสด็จลี้ภัย
ไปพํานักในอังกฤษหลังจากที่พระองค์
ได้ทรงทําลายระบบการประกันเสรีภาพของประชาชนซึ่งปรากฏอยู่ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ฉบับปี ค.ศ.1814 และทรงผิดหวังจากการฟื้นฟู
การปกครองระบอบเก่าขึ้นมาใหม่ในฝรั่งเศส
1
ภายหลังการปฏิวัติ พวกปฏิวัติได้เกิดการแตกแยกออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1. พวกที่ต้องการให้ฝรั่งเศสปกครองในระบอบสาธารณรัฐโดยให้นายพลลาฟาแยตขึ้นเป็นประธานาธิบดี
นายพลลาฟาแยต
2. พวกที่ยังคงต้องการให้ฝรั่งเศสปกครอง
ในระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
เสียงส่วนใหญ่ยังไม่กล้าเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ เพราะ เกรงว่าจะถูกต่อต้านจากประเทศมหาอํานาจ
พระเจ้าหลุยส์ ฟิลิป
ดังนั้นกลุ่มผู้นําการปฏิวัติภายใต้ การนําของ
ธิแอร์ ,กีโชต์ ,ตาลเลรังค์ และ ลาฟาแยต จึงไปเชิญเจ้าชายหลุยส์ ฟิลิป ดุ๊ก แห่ง ออร์เลอองส์
ผู้มีเชื้อสายราชวงศ์บูร์บอง และเคยมีบทบาทร่วม
ในการปฏิวัติใหญ่ ค.ศ.1789 ให้ขึ้นดํารงตําแหน่ง
กษัตริย์แห่งฝรั่งเศสในฐานะของ พระเจ้าหลุยส์
ฟิลิป โดยพระเจ้าหลุยส์ ฟิลิป จะทรงปกครอง
ในระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังที่ธิแอร์
ได้กล่าวว่า
“พระเจ้าแผ่นดินปกเกล้า แต่มิได้ปกครอง"
อะดอล์ป ธิแอร์
ความสงบครั้งนี้เป็นความสงบที่ไม่ถาวรเพราะ
ยังมีความเคลื่อนไหว ของพวกนิยมเจ้าอยู่เนืองๆ
จนนำไปสู่การปฏิวัติใหญ่ครั้งที่ 3 ใน ค.ศ.1848
ที่ครั้งนี้ลามไปทั่วยุโรปเลยทีเดียว
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา