30 มิ.ย. 2020 เวลา 01:00 • ธุรกิจ
การตลาดออนไลน์รูปแบบใหม่ที่จะกลายมาเป็นการทำธุรกิจหลักของโลก
ตอนที่ 3
ที่มา: brandinside.asia
จากรูปแบบของ Social Ecommerce ประกอบกับผู้คนส่วนมากเข้าถึง Socail Network อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Face book, LINE, Instragram, TikTok, Wechat, Twiter หรือแม้กระทั่ง Blockdit และอีกมากมายหลากหลายผู้ให้บริการ
การที่ผนวกการทำตลาดกับการนำเสนอผ่านช่องทาง Social Network จึงเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพสูง เข้าถึงผู้คนได้มากกว่าช่องทางอื่นๆ ลดอุปสรรคของรายย่อยหรือบุคคลทั่วไปในการเข้าถึงธุรกิจ ตลาดนี้จึงมีขนาดของลูกค้าจำนวนมหาศาล และยังสามารถกระจายเม็ดเงินเข้าสู่ผู้คนได้มากมายเช่นกัน
แม้จะเป็นช่องทางที่เข้าสู่ธุรกิจได้ง่ายใช้ทุนต่ำ แต่การที่จะพิจาวณาว่าจะทำงานร่วมกับผู้ให้บริการหรือ Platform รายใด เราต้องพิจารณาให้รอบครอบ เพราะเราอาจจะกลายเป็นคนที่มีส่วนร่วมในขบวนการหลอกลวงก็เป็นได้
ที่มา: brandinside.asia
ในเบื้องต้นในการพิจารณาในการเข้าร่วม เราต้องพิจาณาดังนี้
1. บริษัทจดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่
2. บริษัทดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่จดทะเบียนเป็น Ecommerce หรือไม่
3. แผนการจ่ายเงินมาจากการเก็บค่าสมัครแล้วมาจ่ายให้กับผู้แนะนำหรือตัวเราหรือไม่
4. สินค้าจำหน่ายในราคาเกินจริงเมื่อเปรียบเทียบกับท้องตลาดหรือไม่
5. แนะนำให้ซื้อสินค้าเพื่อทำยอดมากกว่าที่จะตอบสนองการใช้จริง (อันนี้ไม่ผิดกฏหมาย แต่จะทำให้เกิดภาวะ Over Demand ที่ส่งผลต่อการนำสินค้ามาจำหน่ายในราคาต่ำกว่าทุนของคนที่ซื้อไปทำยอด)
6. แผนการจ่ายเงินซับซ้อนหรือไม่ ถ้าซับซ้อนมีขั้นตอนมากมายก็มีโอกาสยากที่จะสร้างรายได้จำนวนมากได้
7. แผนการจ่ายสามารถจ่ายได้จริงตามที่ระบุไว้ในหนังสือหรือเอกสารเชิญชวนหรือไม่ (เราสามารถคำนวนจากรูปแบบการจ่ายได้ว่าเอารายได้จากไหนมาจ่าย จากโครงสร้างที่แจ้งไว้)
นี่คือข้อมูลเบื้องต้นที่เราจะได้นำไปพอจารณาในการเข้าร่วมธุรกิจ ในเชิงลึกแล้วอาจจะมีมากกว่านี้ แต่หากผ่านได้ทั้ง 7 ข้อข้างต้นแล้วก็ยากที่จะเกิดความผิดพลาดได้ ขึ้นอยู่กับว่ารูปแบบของธุรกิจหรือ Platform นั้น จะสามารถส่งเสริมให้เราสร้างเม็ดเงินได้มากขนาดไหนมากกว่า
คราวนี้เรามาดูกันว่าในประเทศไทยมีผู้ให้บริการรายใดที่ทำธุรกิจ Social Ecommerce บ้าง
ต้องออกตัวก่อนว่าไม่ได้รู้จักครบทุกรายแต่รู้จักรายหลักๆที่มีผู้คนกล่าวถึง มีสมาชิกและได้ดำเนินมาระยะหนึ่งแล้ว เนื่องจากเป็นธุรกิจรูปแบบใหม่ในประเทศไทย อายุของบริษัทที่จดทะเบียนเหล่านี้อาจจะมีอายุไม่นานมากนัก
YouPik
ผู้ให้บริการรายแรกที่เข้ามาทำธุรกิจ Social Ecommerce ในประเทศไทย ด้วยจุดแข็งที่เป็นบริษัทในเครือของ Lazada และ Alibaba จึงทำให้เป็นที่น่าเชื่อถือพอสมควร
มีสินค้าจำนวนมากและมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่จากบริษัทแม่ ที่สามารถใช้ในการวางแผนดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดี
Fingo
ผู้ให้บริการจากประเทศจีน เติบโตมาจากประเทศมาเลเซีย สินค้าส่วนมากเป็นสินค้ามาจากประเทศจีน รูปแบบการทำธุรกิจก็เหมือนกับ Youpik ส่วนความแตกต่างในรายละเอียดผู้ที่สนใจสามารถหาข้อมูลได้ใน Google นะครับ เพราะ“ยุคใหม่ฯ” มีข้อมูล Fingo ไม่มากเท่าไรนัก
Moomall
เป็นรายที่ 3 ที่เข้ามาสู่การทำการตลาดต่อจาก 2 รายข้างต้น มีความโดดเด่นจากการที่เป็นผู้ให้บริการที่มีเจ้าของเป็นคนไทย นอกจากจะมีสินค้าให้บริการแล้ว Moomall ยังมีบริการอย่างเช่น ร้านอาหาร สปา คาร์แคร์ และอีกหลายธุรกิจบริการ รวมถึง มีห้างสรรพสินค้าที่จำหน่ายอาหารสดเข้ามาอยู่ใน Platform ด้วย
จุดเด่นของการทำ Social Ecommerce ก็คือไม่มี Stock ไม่ต้องจัดส่งสินค้า ไม่ต้องรับภาระในการรับประกันสินค้า
ทั้ง 3 ราย สามารถทำรายได้จากการแนะนำลูกค้า แชร์สินค้าผ่าน Social Network โดยการซื้อสินค้าแล้วได้ค่าแนะนำหรือ Commission ซึ่งเป็นรายได้ที่ไม่จำกัด ต่างกับการซื้อของออนไลน์ทั่วไปที่ให้ส่วนลดลูกค้า เงินส่วนต่างจากส่วนลดที่ให้ลูกค้าของการซื้ออนไลน์ จึงกลายมาเป็นค่าแนะนำหรือรายได้ของผู้ที่เข้าร่วมธุรกิจ
หากท่านที่สนใจจะเข้าร่วมธุรกิจ 7 ข้อข้างต้น สามารถใช้เป็นหัวข้อในการพิจารณาในการเข้าร่วมธุรกิจได้ “ยุคใหม่ฯ” เชื่อว่า Social Ecommerce จะเป็นอีกรูปแบบการตลาดที่เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของไทยในอนาคตอันใกล้นี้
ข้อมูลมุมมองการตลาดที่ทันสมัยจากประสบการณ์จริง อ่านได้ใน Blockdit ยุคใหม่การตลาดของไทย
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย) ตอนล่าสุด
โฆษณา