30 มิ.ย. 2020 เวลา 06:10 • หุ้น & เศรษฐกิจ
หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ ทำไมบริษัท ใหญ่ ๆขยันออก
หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ 1 ในเครื่องมือทางการเงินที่หลาย ๆ บริษัทในมหาชนหลายๆ แห่งกำลังเข็นออกมาใช้ในการระดมเงินกู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทขนาดใหญ่
#หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ คืออะไร
หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ นั้นมีรูปแบบคล้าย ๆ กับหุ้นกู้ทั่วไปที่บริษัทใช้ในการระดมเงินเพื่อมาขยายกิจการหรือมาหมุนในกิจการ แต่จะต่างกันที่ หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์นั้นส่วนใหญ่จะไม่ให้สิทธิ ผู้ถือไถ่ถอนได้ แต่ให้สิทธิผู้ออกในการไถ่ถอนแทน
โดยส่วนใหญ่แล้วนั้นหุ้นกู้ดังกล่าวบริษัทนั้นจะมีการไถ่ถอนกันตอนจะเลิกบริษัท และ มักมีการให้ดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูงกว่าหุ้นกู้ทั่วไปเนื่องจากระยะเวลา การถือครองและการเปลี่ยนสภาพคล่องของตัวมัน
#หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ VS หุ้นกู้ธรรมดา
นอกจากความต่างเรื่องของระยะเวลาแล้วนั้นอีกอย่างที่หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ ต่างจากหุ้นกู้ธรรมดา คือการบันทึก รายการ ทางบัญชี
โดยการออกหุ้นกู้ปรกตินั้น “หุ้นกู้” จะถูกบันทึกไปอยู่ในส่วนของหนี้สิ้น (L) ซึ่งส่งผลกระทบทางตรงกับ สัดส่วน D/E ของบริษัทนั้น ๆ
ในทางกลับกัน “หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์” นั้นถูกบันทึกเป็น “ส่วนของผู้ถือหุ้น ” ซึ่งจะทำให้ D/E นั้นปรับลดลง ไปในตัว
#ทำไม”หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์” ถึงถูกบอกว่าเป็นส่วนของทุน
สำหรับเหตุผลในข้อนี้ผมขอตั้งข้อสันนิฐานว่าเกินจากลักษณะของมันเองนั้นเป็นหุ้นกู้ที่จะอยู่ตราบนานเท่านาน โดยผู้ถือหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ จะได้รับเงินดอกเบี้ยเป็นหลัก ซึ่งหากบริษัทไม่ได้มีการปิดตัว หรือ ซื้อคืนหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ ดังกล่าวแล้วนั้น หนี้ส่วนนี้จะอยู่กับบริษัทตราบนานเท่านาน
และ โดยส่วนมากแล้วนั้น หุ้นกู้ดังกล่าวมักมีสิทธิ ในการเรียกคืน หรือ ฟ้องร้องคืนเป็นอันดับท้ายๆ ก่อนผู้ถือหุ้น ดัง charge ต่อไปนี้
#แล้วทำไม ไม่ออกเป็นหุ้นเพิ่มทุน แทนการออก หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์
หนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ทำไม หลาย ๆ บริษัทเลือกการออก หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ แทน การเพิ่มทุน เนื่องจาก การเพิ่มทุนนั้นจะทำให้ ราคาหุ้นของบริษัทเองนั้นมีการ Dilution (หรือการลดลงของราคาหุ้น อันเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของหุ้น)
ซึ่งการเพิ่มทุนนั้นจะทำให้นักลงทุนที่ถือหุ้นในบริษัท ต้อง ควักเงินตัวเองมาจ่าย เพื่อไม่ให้หุ้นของตัวเอง Dilution ลง และ นักลงทุนที่ไม่เคยซื้อหุ้นบริษัทมาก่อน หรือ ถือหุ้นบริษัทมาก่อนระดมทุนได้ (ยกเว้นการออกทำ PP)
แต่ในทางตรงกันข้าม การออกหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ นั้นจะสามารถเปิดให้บุคคลภายนอกเข้ามาซื้อหน่วยลงทุนของ หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ ได้แบบไม่มีข้อจำกัด และ เจ้าของบริษัทหรือผู้ถือหุ้นเดิมก็ไม่เสียสิทธิในการออกเสีย หรือ อำนาจควบคุมบริษัทไปด้วย
#TAS32 คืออะไร ทำไมกระทบ “หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์”
เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2020 ที่ผ่านมามีการออกบังคับใช้มาตฐานบัญชีใหม่ ซึ่งมีสาระสำคัญกับการบันทึก รายการ “หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์” จากที่ถูกบันทึกให้อยู่ใน”ส่วนทุน(E)” ให้ย้ายไปอยู่ที่ “หนี้สิน (L)”
แต่ในการบังคับใช้นั้นก็ยังมีการผ่อนผัน ในการโยกรายการดังกล่าวไปอีก 3 ปี หรือ ปี 2023 นั้นเอง
#TAS32 ส่งผลกระทบยังไง
TAS32 หากมีการบันทึก หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ เป็นหนี้สินนั้นจะทำให้ D/E ของบริษัทต่าง ๆ ที่ออกหุ้นกู้ประเภทนี้ มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ซี่งจะส่งผลต่อเนื่องต่ออำนาจการกู้เงิน และ credit rating ที่อาจจะทำให้ การกู้เงินเพิ่มเป็นเรื่องที่ยากขึ้น
#End Story
หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ ถือเป็นเครื่องมือทางการเงินหนึ่งที่น่าสนใจ และ อาจจะเป็นการลงทุนอีกรูปแบบสำหรับใครที่ ชอบลงทุนกับ Risky Asset แต่ ยังไม่ Risk สูงเท่าการเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท
ในอนาคตอันใกล้นี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งปี 2020 เชื่อว่าน่าจะมีอีกหลาย ๆบริษัทที่หันมาออกหุ้นกู้รูปแบบนี้เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ธุรกิจของตัวเองสามารถเดินต่อไปได้
สุดท้ายนี้ขอฝากไว้ว่า การลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้นก่อนจะลงทุนกับอะไรสักอย่างควรจะต้องมองให้ขาดว่า บริษัท หรือ ธุรกิจที่เราจะลงทุนด้วยมี วัตถุประสงค์ ในการระดมทุนยังไง
บทความโดย ภูเก็จ ทองสม
อ้างอิง
โฆษณา