1 ก.ค. 2020 เวลา 02:00 • ธุรกิจ
เนเธอร์แลนด์ ประเทศที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล แต่มีระบบจัดการน้ำ ดีที่สุดในโลก
กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของไทยว่าน้ำท่วมบ่อยแล้ว แต่รู้ไหมว่า 60 กว่าปีก่อน พื้นที่เนเธอร์แลนด์มากกว่า 930,000 ไร่ ต้องจมอยู่ใต้น้ำเพราะอุทกภัยครั้งใหญ่..
แน่นอนว่า ประชากรที่อยู่ใกล้เคียง ทั้งที่อาศัยตลอดจนทำมาหากินในแถบนั้น ต้องได้รับผลกระทบคิดเป็นจำนวนประชากรมากกว่า 2,000 คน
หลังจากนั้น รัฐบาลกลางเนเธอร์แลนด์จึงได้มีโปรเจ็คบริหารจัดการน้ำยักษ์ใหญ่ ซึ่งที่น่าสนใจคือใช้เวลาร่วมกว่า 40 ปี..
พื้นที่ 930,000 ไร่หายไปจากจอแผนที่ในปี 1953 ทว่าก่อนหน้านั้น 3 ปี เนเธอร์แลนด์ได้วางแผนตลอดจนดำเนินโครงการรับมือกับน้ำท่วมไว้ก่อนแล้ว แต่ถึงกระนั้น ก็ไม่มีใครคาดคิดว่ามันจะกะทันหันเหมือนอย่างวิกฤติโรคระบาด Covid-19
ไม่ถึงสามสัปดาห์หลังจากเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ หน่วยงานศึกษาจัดการสามเหลี่ยมปากน้ำ Rhine-Meuse-Schelde หรือที่ชาวดัตช์เรียกกันสั้น ๆ ว่า “เดลต้า” ได้ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างทันท่วงที
หน่วยเดลต้าสำรวจว่าพื้นที่ต่าง ๆ ของเนเธอร์แลนด์ที่อยู่ติดทะเลอยู่ในระดับที่ต่ำ เมื่อเกิดพายุ หรือภัยทางธรรมชาติ ก็จะส่งผลให้เกิดน้ำท่วมได้ง่าย
ซึ่งปัญหาทุกประการ ถ้าหากได้รับการจัดการที่ดี ก็ย่อมผ่านพ้นไปได้ดีเสมอ..
ไม่นานโปรเจ็คสร้างกำแพง เขื่อนกั้นน้ำ และประตูระบายน้ำก็ได้ถูกออกแบบขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า “เดลต้า เวิร์คส์”
Pic// Wikipedia
รู้ไหมว่าเพียงแค่ 5 ปี นับจากวันที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ กำแพงกั้นคลื่นแห่งแรก มีชื่อว่า Hollandse Lissel ได้ถูกสร้างเสร็จและเปิดใช้งาน
ถัดจากนั้นอีก 2 ปี ประตูน้ำชื่อว่า Veerse Gat และ Zandkreek ก็ได้เริ่มใช้งานตาม เพื่อควบคุมปริมาณน้ำจากกำแพงกั้นคลื่นแห่งแรก
5
ทั้งสองแห่งประสบความสำเร็จในการใช้งานเป็นอย่างดี และครั้งนี้รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ไม่ได้ลงทุนไปสูญเปล่า เพราะมันไม่ได้ช่วยกั้นน้ำทะเล แค่อย่างเดียว แต่ยังช่วยให้น้ำกร่อย กลายเป็นน้ำจืด เอื้อประโยชน์ต่อการทำกสิกรรมและเกษตรกรรมได้อีกด้วย
เมื่อเห็นดังนั้นแล้ว จะทำแค่เขื่อนกั้นเดียวก็คงจะไม่เพียงพอ รัฐบาลดัตช์จึงอนุมัติกฎหมายเดลต้า ออกมาอย่างรวดเร็ว ผ่านความเห็นชอบทั้งฉบับในปี 1959
โดยในรายละเอียดได้กล่าวถึงแผนระยะยาว สร้างเขื่อน สถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ กำแพงกลั้นคลื่น รวมทั้งสิ้น 14 โครงการ โดยใช้งบเบื้องต้นรวมทั้งสิ้น 36,000 ล้านบาท
ที่น่าสนใจ คือกฎหมายทั้งฉบับ ไม่ได้วางแผนแค่จะก่อสร้างที่ไหน แต่ยังได้บอกรายละเอียดว่าจะดูแลรักษาโครงการอย่างไรให้ทำงานได้จนถึงอนาคตระยะยาว ที่ระดับน้ำทะเลอาจมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าเดิม
ทั้งนี้รัฐบาลดัตช์ ยังได้มีการจัดเก็บภาษีจัดการน้ำ ซึ่งจะนำเงินก้อนดังกล่าวมาทำนุบำรุงรักษาโครงการให้สามารถดำเนินไปได้
Pic// Wikipedia
หลังจากนั้น ทีมเดลต้า เวิร์คส์ ก็ได้ลงมือก่อสร้างจริง ตามลำดับในกฎหมายและงบประมาณประจำปีที่เขียนมา
จึงทำให้โครงการแล้วเสร็จในปี 1997 นับเวลาได้ 40 ปี หลังจากอนุมัติ และนับเป็นเวลา 44 ปี หลังจากเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่
และรู้ไหมว่างบประมาณที่ใช้ไม่ใช่แค่ 36,000 ล้าน หากแต่เป็นเงินก้อนใหญ่ถึง 200,000 ล้านบาท มากกว่าที่ตั้งไว้ถึง 6 เท่า
คำถามก็คือ สร้างนานกว่า 40 ปี รัฐบาลดัตช์คุ้มค่าต่อการลงทุนครั้งนี้หรือไม่ ?
คำตอบก็คือ ขาดทุนอย่างยับเยิน แต่สิ่งที่ได้มาคือระบบการจัดการน้ำที่ดีที่สุดในโลก จนประเทศต่าง ๆ ต้องหลั่งไหลเข้าไปดูงาน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็รวมถึงส่วนราชการของไทยด้วย
ไม่เพียงแค่นั้น กำแพง เขื่อน ประตูกั้นน้ำ ยังช่วยให้น้ำไหลไปในทิศทางตามที่ต้องการ น้ำเค็มจากทะเลจึงไม่มีในพื้นที่เพาะปลูก ฉะนั้น เกษตรกรจึงสามารถใช้น้ำจากแม่น้ำและทะเลสาบน้ำจืด เพื่อการเกษตรได้อย่างเต็มที่
ซึ่งถ้าหากนำ 2 แสนล้านมาคิดรวมกับส่วนนี้ ก็อาจจะเป็นกำไรที่มากโผเหมือนกัน เพราะระบบน้ำที่ดี ช่วยให้ผลผลิตทางเกษตรของเนเธอร์แลนด์ ส่งออกเป็นอันดับที่ 2 ของโลก คิดเป็นมูลค่ากว่า 3.5 ล้านล้านบาท ในปี 2017
และจากที่น้ำท่วมซ้ำซากจากเดิม 26% ของประเทศ ทางการเนเธอร์แลนด์ก็สามารถวางแผนล่วงหน้าได้ ไม่เพียงแค่นั้น สันเขื่อนก็ใช้ประโยชน์ได้อีกหลายต่อ ทั้งเป็นถนนสัญจรของชาวดัตช์จากอีกฝั่งไปยังอีกฝั่ง โดยไม่ต้องเสียเวลาขับอ้อมไปไกล
แถมชาวประมงก็สามารถประกอบอาชีพได้อย่างปลอดภัยทั้งในแหล่งน้ำจืดและน้ำเค็ม
ปิดท้ายกันด้วยความน่าสนใจ
รู้ไหม ว่าแผนการป้องกันน้ำท่วม 40 ปีที่เสร็จสิ้นไปแล้ว แต่เนเธอร์แลนด์ยังไม่หยุดเพียงแค่นั้น เพราะตั้งแต่ปี 2008 พวกเขายังคิดไปถึงอีก 190 ปีข้างหน้า ว่าน้ำทะเลจะเพิ่มระดับสูงขึ้น
เพราะฉะนั้น รัฐบาลเนอเธอร์แลนด์จึงได้เตรียมระบบการเงินไว้รองรับแผนการในอีก 100 ปีข้างหน้า ว่าจะต้องใช้ถึง 4.6 ล้านล้านบาท..เลยทีเดียว
ส่งต่อทุกแรงบันดาลใจ Share For Inspire
Follow Us On “Facebook” https://www.facebook.com/swivelth
Follow Us On “Instragram” https://www.instagram.com/swivel.th/
โฆษณา