30 มิ.ย. 2020 เวลา 16:21 • ธุรกิจ
Sustainability Strategies หรือ กลยุทธ์ด้านความยั่งยืน คือ ?
พักจากเรื่องเหตุการณ์ต่างที่ใกล้ตัว มาลองมองสิ่งที่เป็นเป้าหมายระยะไกลกันบ้าง อย่าง ความยั่งยืน หรืออ Sustainability
จริงๆเราอยากบอกว่า เจ้า Concept นี้มันเป็นที่ฮิตมากในราว 2016-2017 ที่เราจะเห็นเจ้า Sustainability หรือ Corporate Sustainability เต็มบ้านเต็มเมืองเลย บริษัทหลักที่นำมาปรับใช้กับกลยุทธ์หลักของบริษัทในไทยก็คือ SCG Gulf หรือ Unilever แม้กระทั่ง SET เองก็ยังนำมาเรื่องนี้มาเป็นบทเรียนเลย
เราก็เลยไปนั่งศึกษาเพิ่มเติมนอกจากอ่านบทความ ก็มีการเข้าไปเรียนคอร์สออนไลน์ แล้วก็เลยมาย่อยเขียนให้เพื่อนๆอ่านกันเหมือนเดิมม :)
ไปดูกันว่าทำไม Sustainability Strategies ถึงได้สำคัญถึงขนาดเป็นกลยุทธ์หลักๆของบริษัทใหญ่ข้ามชาติหลายๆประเทศในปี 2020
"เราใช้เวลาเกือบ 20 ปีในการสร้างชื่อเสียงให้กับบริษัท (Reputation) แต่เรากลับใช้เวลาเพียงแค่ 5 นาที ที่จะทำลายมันลงได้ " จาก Warren Buffet
ข้อความด้านบนจะเป็นจริงได้ง่ายมาก ถ้า Company เอาแต่มองผลประโยชน์ส่วนตัว โดยไม่คำนึงผลกระทบถึงส่วนรวม หรือ ผลกระทบในอนาคต 5-10 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะในสมัยนี้นะ โห่ยยย.... แค่เรื่องสิ่งแวดล้อมนี่ก็ชี้ชะตาบริษัทโรงงานได้หลายๆที่เลยละ ซึ่งตัวอย่างที่ดีก็เห็นได้จาก ค่ายรถยักษ์ใหญ่เยอรมันอย่าง Volkswagen ที่สูญเสียเกือบ 1พันล้านดอลล่า ไปกับบทเรียน Sustainability นี้
Sustainability คือการทำธุรกิจคู่ไปกับการรักษาธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรของโลกที่มีอย่างจำกัด
Sustainability Strategies เพิ่มคำว่ากลยุทธ์เข้ามาก็ง่ายเลย คือการที่เราปรับแผนการบริหารงานตั้งแต่ในส่วนของการผลิต ไปยังถึงการแพ็คของ และการขนส่ง หรือเอาง่ายๆ ถ้าจะให้พูดง่ายเลยคือ Sustainability in Supply Chain ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด นั้นเองงงจ้าาาเพื่อนๆ (โถ่วลากซะยาวเชียววว แต่ถ้าเข้าใจคอนเซปตรงนี้ละก็ สบายละ อ่านง่ายทันที 5555)
1. Start Sustain with SUPPLY CHAIN
เพื่อนๆรู้ไม๊ว่าในหลายๆบริษัท ไม่ว่าจะเป็น นำเข้า-ส่งออก, โรงงานผลิต หรือ ซุปเปอร์มาร์เกต เนี่ย เจ้า Supply Chain มีส่วนร่วมในธุรกิจต่างๆเกือบ 30% ของงานทั้งหมด
เพราะงั้นการเริ่มจากเจ้านี้เนี่ย จะเป็นส่วนที่เห็นผลได้ชัดเจนมากที่สุดนั้นเอง
- เริ่มจากการ communication กับ Supplier โดยอาจมีการจัดทำตารางการวัดผล metrics เกี่ยวกับ การใช้ปริมาณวัตถุดิบต่างๆ(material) ของเสีย(toxic waste) รวมถึง พลังงาน (energy) และในที่สุดเราต้องร่างสัญญาที่เกี่ยวกับเรืองนี้ออกมาให้กับ partner ของเรา
- เราควรต้องตระหนักไว้ตลอดเวลาว่า ทรัพยากรบนโลกใบนี้มี้จำกัด (natural resources เช่น ไม้, น้ำ, น้ำมัน, แก๊ซ รวมถึง พืชผักและสัตว์)
- Natural resource แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
>> Renewable คือสามารถนำกลับมาใช้ได้เช่น ดิน ไม้ น้ำ
>> Non-renew คือทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป เช่น น้ำมัน (สิ่งนี้ละ ที่ทำให้ราคาน้ำมันขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นสงครามเย็นเล็กในการกดดันอเมริกา กับ ตะวันออกกลางได้เลยละ)
- แล้วพอพูดถึงเรื่องของ Non-renewable เนี่ย ก็จะโยงมาถึงในขั้นตอนของการผลิต และการขนส่งใน Supply Chain นั้นเองง
2. Stakeholder and Employee engagement หรือการมีส่วนร่วม
สำหรับ Stakeholder
- อันนี้ถือเป็นเรื่องที่ต้องมีการเริ่มรณรงค์จากฝั่งผู้บริหาร หรือกลุ่มเจ้าของซะก่อนเลย
- โดยกลุ่มผู้ประกอบการ ต้องเข้าใจว่า ในทุกวันนี้ พื้นที่สื่อต่างๆมีมากขึ้นและเข้าถึงง่ายขึ้น Brand reputation ก็มีผลกระทบได้-เสีย จากภาพลักษณ์และการกระทำของเราเช่นกัน
- โดยหัวใจหลักใจหลักก็คือ Risk Management และ CSR
สำหรับ Employee
- ต้องบอกว่าบริษัทใหญ่ระดับโลก พนักงานจำนวน 4/5 ของบริษัทได้มีส่วนร่วมในกลยุทธ์นี้
- โดยการสนับสนุนนโยบาย Green Company ได้ทำให้ ความรู้สึกอยากร่วมงานของพนักงานในบริษัทสัญชาติอเมริกันเพิ่มขึ้นถึง 40%
- นอกจากการให้ Employee มีส่วนร่วมแล้ว การที่พวกเค้าได้รับเรื่องของ social achievement และ Reward recognition ร่วมไปกับบริษัทเนี่ย จะทำให้พวกเค้าเนี่ยรู้สึกว่าอยากจะทำมากขึ้น
- เกิน 60% ของคน Gen Millennium สนใจที่จะร่วมงานกับบริษัทที่เป็น Green company และ มีความชอบในการ Volunteering ในสิ่งที่พวกเค้าสามารถทำให้ได้นอกจากงาน และเกิดความภาคภูมิใจส่วนตัว
และเพื่อนๆเชื่อไม๊ว่า ข้อเสนอแนะต่างๆด้านบนของ Sustainability เนี่ย ทำให้บริษัทสามารถทำให้พนักงานมี performance ที่ดีขึ้นได้เกือบ 72% (จากผลวิเคราะห์ในบริษัทสัญชาติอเมริกัน)
3. Create Sustainable Product and Service
นอกจากบริษัทต่างๆต้องทำตาม Basic Compliance ต่างๆแล้ว สิ่งนี้ยังทำให้บริษัทสามารถทำให้เกิด cost efficiency ขึ้นได้อีกด้วยนะ ไม่ใช่แค่ทำให้ถูกหลักการ หรือกฏหมายไปซะเปล่าๆ (บางทีต้องมีการขอใบอนุญาต หรือ license)
- เช่นการ focus ในเรื่องของ Waste management, Substitution material วัสดุทดแทนต่างๆ เช่นแทนการใช้พลาสติก
- การรณรงค์ใช้ Reusable packaging แน่นอนว่าสิ่งนี้แหละที่ทำให้เกิดขยะ และมลพิษ ความรับผิดชอบไม่ได้อยู่ที่ผู้บริโภค แต่เริ่มจากผู้ผลิต
สิ่งที่จะทำให้บริษัท focus ได้ง่ายขึ้นคือออ การตั้ง Vision ในการเชื่อมโยงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับ Sustainability นั้นเอง สิ่งนี้จะทำให้บริษัทเพื่อนๆไม่หลงทาง
4. การที่จะ meet expectation ของผู้บริโภค และ sustainability นั้น ไม่ง่ายเลย
เราเข้าใจว่า customer needs เนี่ย มักจะไปในทางที่ง่าย และสบายที่สุด แล้วหลายๆครั้งก็มักจะไปในทางตรงกันข้ามกับ sustainability ซะเสมอ
ตัวอย่างที่ดีจากบริษัท P&G คือ การผลิตผงซักฟอก ที่มีคุณสมบัติคือ
- ประหยัดการใช้น้ำ
- ไม่มีของเสีย สารเคมี ตกค้าง
ตรงนี้จะเห็นเลยว่า เค้า win-win ทั้ง customer needs และ sustainability
ฟังดูเหมือนง่าย แต่กว่าการที่ P&G จะคิดสูตรผสมต่างๆ สารเคมี หรือแม้กระทั่ง การทดสอบและทดลองเนี่ย สุดท้ายการได้ license มานั้น ไม่ง่ายเลยจ้า...
5. Concept ของ Reduce Energy & Water
2 สิ่งนี้คือสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิด นวัตกรรม การประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค และการรักษาธรรมชาติให้มากที่สุด
Reduce Energy
- พวกสินค้าที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆที่ช่วยให้เกิดการประหยัดไฟ ประหยัดพลังงาน (ไม่ว่าจะเป็น 5 ดาวประหยัดพลังงาน หรือถ้าเป็นเมืองนอกก็จะเป็นพวก Energy save Star)
- หรือแม้กระทั่ง รถที่ประหยัดน้ำมัน รถไฟฟ้า หรือ น้ำมันพลังงานทดแทนต่างๆที่ออกมา ทำให้ เกิด win-win ทั้งลูกค้า แต่พลังงานธรรมชาติ
Reduce Water
- เอาตรงๆเลย Fresh water ใน U.S Mexico หรือ India เนี่ย เริ่มเป็นสิ่งที่ค่อยๆลดลงเรื่อยๆ
- หลายๆบริษัทมีแต่การใช้น้ำ แต่ไม่มีวิธีการบริหารน้ำ (Water management) ซึ่งจริงๆแล้ว น้ำเนี่ยคือ Renewable resource น้ะ ..... แต่พี่มนุษย์ก็สามารถทำให้มันหมดหรือคุณภาพแย่เอาซะได้ 555
- การเริ่มต้นด้วยคำถามที่ดีคือ บริษัทได้มีการใช้น้ำปีละเท่าไร ? รู้ไม๊ว่าคิดเป็นสัดส่วนเท่าใดของบริษัทอื่นๆ ?
- แล้วด้วยการรณรงค์ของสื่อต่างๆเนี่ย ก็ทำให้ผู้บริโภคเค้าหันมาใส่ใจกับเรื่องของ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้น้ำน้อยลง แต่ให้ประสิทธิภาพที่มากขึ้นด้วยนะ
6. Risk management
Legal Compliance and above !
- คือนอกจากพวกการกำกับดูแลต่างๆเช่น การทำยาหรืออาหารให้ถูกต้องตาม อย. หรือความปลอดภัยของการใช้สินค้าตามมาตรฐาน จะช่วยลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจแล้ว
- การที่เราสามารถพัฒนาขึ้นไปยัง้หนือจุดเหล่านี้ได้ จะได้ทำให้เรากำไรมากขึ้นอีกนะ เช่น ทำให้เกิด Innovation ใหม่ๆ การทำให้คุณภาพของสินค้าที่ดีขึ้น อาจจะเหนือคู่แข่งไปเลย
- วิธีการง่ายๆคือ
1. ต้องรู้ว่า Product เราคืออะไร?
2. ใครบ้างที่จะเกี่ยวข้องกับการสร้างสินค้านี้ ? เราจะควบคุมเค้าได้ยังไง ?
3. เพื่อนๆมีแผนสำรองหากเกิดความผิดพลาดทาง Compliance รึยัง ? เช่นพวกบริษัทยาเนี่ย เวลาเค้าผลิตยาแต่ไม่ผ่าน อย. เนี่ย ..... จะเกิดความสูญเสียต่อบริษัท และรวมถึง คนไข้ที่จำเป็นต้องใช้ยาอีกด้วยนะ
Climate Change
- อาจดูเหมือนไกลนะ แต่ว่าจริงๆแล้ว โลกเราเกิด Climate change ขึ้นเรื่อยๆ และทุกครั้งก็กระทบกับการดำเนินธุรกิจ เช่น Green house gas emission
- แน่นอน ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจในระยะยาวก็จะตามมาจ้าา
- เพราะงั้น เราต้องดูในเรื่องของ Green product choices หรือพวก alternative electricity เช่น Solar power
จบแล้วจ้าาา โอย ยาวมากๆเลยยยยยยย เราว่าอันนี้เหมือนจะง่ายนะ แต่ถ้าจะให้เขียนอธิบายโดยไม่ให้วกวนไปมา และไม่น่าเบื่อแบบไม่เบสิคเกินไปเนี่ย ค่อนข้างยากเลย ส่วนตัวเราว่า การย่อยบทความนี้ challenge เรามากก 555 หวังว่าเพื่อนๆคงได้รับประโยชน์จากบทความนี้น้าาา
อาจเป็นเรื่องที่ดูจะน่าเบื่อไปนิ้ดดดเนอะ เพราะมันคล้ายๆกับ Common sense
แต่รู้ไว้ใช่ว่าเนอะ ! เพราะถ้าเพื่อนๆอยากเข้าไปทำงานในบริษัทระดับโลก หรือเพื่อนๆจะอัพเกรดแบรนด์ตัวเองเนี่ย
เรื่องของ Sustainability Strategy ไม่มี ไม่ได้เลยละ ! :)
โฆษณา