1 ก.ค. 2020 เวลา 16:30 • ความคิดเห็น
EP45: การแก้ปัญหา กับ การตัดสินใจ เหมือนกันอย่างไร?
ผมมักบอกคนที่มาเข้าคลาส training ที่ผมเป็นผู้บรรยายว่า
"การแก้ปัญหา" กับ "การตัดสินใจ" มีหลักการใหญ่ที่เหมือนกันอยู่ข้อหนึ่ง
1
เวลาเราเห็นปัญหาที่ใหญ่และมีความสลับซับซ้อน เราจะเห็นปัญหานั้น
.........."ใหญ่เหมือนช้าง"..............
เวลาเราต้องตัดสินใจในเรื่องสลักสำคัญมากๆ เราก็เห็นเรื่องที่ต้องตัดสินใจนั้น
.........."ใหญ่เหมือนช้าง"..............
1
คำถามคือ แล้วเราจะบริหารจัดการช้างที่อยู่ตรงหน้าได้อย่างไร
แก้จากเล็ก ไปหาใหญ่
ในหลักการใหญ่ของการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
เราต้องทำการ "แตก-ซอย" ปัญหาหรือเรื่องที่ต้องตัดสินใจออกเป็นประเด็นย่อย
ประเด็นเล็กและเล็กลงไปอีกเท่าที่จะทำได้
1
เพราะการทำเช่นนั้น จะทำให้เราเห็นปัญหาเล็กๆ ที่ "ซ่อน" อยู่ในปัญหาใหญ่
และทำให้เรามีโอกาสจัดการแก้ปัญหาที่เล็กกว่าได้ก่อน
และเมื่อเราแก้ปัญหาเล็กกว่าที่มีความเชื่อมโยงกันได้หลายๆ เรื่อง
ก็จะทำให้เราสามารถแก้ปัญหาใหญ่ซึ่งมาจากผลรวมของปัญหาย่อยๆเหล่านั้นได้
แตกปัญหาใหญ่ เป็นประเด็นย่อย
จากตัวอย่างข้างต้น การแตก-ซอย ปัญหาเรื่องการเพิ่มผลตอบแทนการลงทุนออกเป็นส่วนย่อยๆ กระตุ้นให้เราพยายามหาวิธีคิดในการแก้ปัญหาเล็กกว่าได้หลายแบบเช่น
- เพิ่มยอดขาย
- ลดต้นทุนการผลิต
- ลดการลงทุนในสินทรัพย์ถาร
- หาผู้ร่วมลงทุน
และเราสามารถแตกย่อยได้อีกถ้าช่วยในการคิดต่อยอด
เช่น การเพิ่มยอดขายอาจแตกออกเป็นเรื่อง
การเพิ่มราคาสินค้า การเพิ่มช่องทางจัดจำหน่าย การเพิ่มสินค้าใหม่ในพอร์ต ฯลฯ
เรื่องการตัดสินก็เช่นกัน
ในเรื่องใหญ่ๆ ที่เราไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร
การแตกการตัดสินใจใหญ่ออกเป็นการตัดสินใจย่อยๆ จะช่วยทำให้เราได้คำตอบย่อยๆ
ที่นำไปสู่หนทางในการช่วยตัดสินใจเรื่องใหญ่ได้ในที่สุด
ตัวอย่างง่ายๆ สบายๆ เช่นเราคิดไม่ออกว่าจะทำอะไรดีในวันหยุดกลางสัปดาห์
แตกเป็นการตัดสินใจย่อยๆ รวมกัน
เราสามารถแตกการตัดสินใจเป็น 3 เรื่องย่อย
- สำรวจว่ามีงานค้างไหม...แล้วตัดสินใจ
- พยากรณ์อากาศเป็นอย่างไร...แล้วตัดสินใจ
- เพื่อนยุ่งหรือเปล่า...แล้วตัดสินใจ
ในการตอบคำถามย่อยต่างๆ จะช่วยทำให้เราตัดสินใจได้ในที่สุดว่าควรทำกิจกรรมอะไร
ขึ้นอยู่กับคำตอบย่อยของตัวเราเองในแต่ละเรื่องย่อยนั่นเอง (ตามรูปข้างบน)
จริงๆ แล้วไม่ใช่แค่เรื่องการแก้ปัญหาและการตัดสินใจเท่านั้นที่สามารถใช้หลักคิดนี้
การสร้างนิสัยก็มาจากแนวความคิดเดียวกัน คือเริ่มเล็กๆ แล้วค่อยขยาย
เช่นเราวางเป้าจะอ่านหนังสือให้ได้เดือนละเล่ม
จุดเริ่มต้นอาจเริ่มที่การอ่านหนังสือก่อนนอนวันละ 10 หน้า
โดยทุกเช้าตอนตื่นนอนก็วางหนังสือที่จะอ่านตอนกลางคืนไว้บนหมอนทันที
เป็นการกระตุ้น
การแตกหรือย่อยสิ่งใหญ่ที่สลับซับซ้อนให้เล็กลง ทำให้เราจัดการมันได้ง่ายขึ้น
ใช้ได้ทั้งเรื่องการแก้ปัญหา การตัดสินใจ หรือแม้กระทั่งการสร้างนิสัยที่ดี
*** สำคัญที่สิ่งที่เล็กๆเหล่านั้น ต้องสามารถ "เชื่อมโยง" ไปสู่สิ่งที่ใหญ่กว่าเสมอ ***
หวังว่าคงเป็นอาหารสมองจานเล็กที่มีประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อยนะครับ
May the force be with you....
1 July 2020
โฆษณา