2 ก.ค. 2020 เวลา 23:30 • ธุรกิจ
JMART ตบเท้าพร้อมรบ
ส่องอาณาจักรธุรกิจสุดยิ่งใหญ่ที่ไม่ได้มีแค่ “มือถือ” อีกต่อไป
เมื่อพูดถึงชื่อ JMART ขึ้นมาแล้ว คนที่ไม่ค่อยได้ติดตามข่าวสารของวงการธุรกิจก็อาจจะยังมองพวกเขาในฐานะของบริษัทขายมือถืออยู่ แต่ถ้าหากใครได้ติดตามมาเรื่อยๆเลยก็จะทราบว่า JMART ได้เปลื่ยนแปลงไปมาก
ใช่แล้วครับ เดี๋ยววันนี้พวกเราจะพาไปสำรวจความยิ่งใหญ่และการเปลื่ยนแปลงของ JMART กันดีกว่าครับว่าบนเส้นทางที่ยาวนานกว่า 32 ปี ปัจจุบันพวกเขาเป็นยังไงกันบ้าง ?
เตรียมตัวให้พร้อมแล้วไปลุยกันเลยครับ...
JMART หรือบมจ. เจ มาร์ท ถูกก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2531 โดยคุณ “อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา” และคุณ “ยุวดี พงษ์อัชฌา” ซึ่งหลายๆคนอาจจะยังไม่ทราบว่าธุรกิจแรกที่พวกเขาทำก็คือการจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าหลากหลายชนิดในระบบ“เงินผ่อน”
ต่อมาเมื่อเริ่มมองเห็นโอกาส JMART ก็ได้ขยับเข้าไปจับธุรกิจ “ค้าปลีกมือถือ” ทั้งระบบเงินสดและเงินผ่อนจนส่งผลให้บริษัทเจริญเติบโตก้าวหน้า อีกทั้งยังทำให้ภาพของบริษัทถูกจดจำไปกับการเป็นผู้ค้ามือถือรายใหญ่ในไทย
โดยที่ความหมายของคำว่า J ก็จะมาจากชื่อเล่นของคุณจุฑามาส(ลูกสาวคนโต) และ A มาจากอักษรตัวแรกของคุณอดิศักดิ์(พ่อ) และ Y มาจากอักษรตัวแรกของชื่อคุณยุวดี(แม่) ซึ่งรวมแล้วก็จะได้เป็นคำว่า JAY ที่มาจากชื่อคนในครอบครัว ส่วน mart นั้นได้แรงบันดาลใจมาจาก Kmart จึงทำการปรับเปลื่ยนและได้ชื่อออกมาเป็น JAYMART นั่นเองครับ
แต่ทุกวันนี้นั้น JAYMART ก็เรียกได้ว่าเป็น Holding company ขนาด 9,700 ล้าน ที่มีธุรกิจหลากหลายเต็มไปหมด ซึ่งถ้าจะแบ่งง่ายๆแล้ว JAYMART ก็จะมีบริษัทลูกอยู่ทั้งหมด 6 บริษัทก็คือ
Jaymart mobile (สัดส่วนการถือหุ้น 99.99%)
JMT network (สัดส่วนการถือหุ้น 55.81%)
JAS asset (สัดส่วนการถือหุ้น 67.5%)
Singer (สัดส่วนการถือหุ้น 24.9%)
J Fintech (สัดส่วนการถือหุ้น 95.65%)
J Ventures (สัดส่วนการถือหุ้น 80%)
เรียกได้ว่านอกจากธุรกิจมือถืออย่าง Jaymart Mobile แล้วนั้น ปัจจุบันทางบริษัทก็ยังมีธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล, สินเชื่อพิโก, สินเชื่อเช่าซื้อ และสำหรับนาโนไฟแนนซ์ก็กำลังจะมี KB Kookmin Card ธนาคารสัญชาติเกาหลีใต้อันดับที่ 60 ของโลกมาเป็นพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจซึ่งกำลังเตรียมการขอใบอนุญาติกับแบงก์ชาติ เรียกได้ว่าเรื่องสินเชื่อตอนนี้JMART เค้ามีครบหมด
1
ซึ่งเหตุผลที่ทำให้ KB สนใจในตัว JMART ก็คือหน้าร้านมือถือที่มีอสาขาอยู่มากถึง 192 แห่งทั่วประเทศ เนื่องจากว่าจะทำให้ KB ประหยัดเวลาและเงินลงทุนในการเปิดสาขาไปได้เยอะเลยทีเดียว อีกทั้งยังมี JMT ซึ่งเป็นทีมติดตามหนี้ที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้วอีกด้วย เหลือแค่ขนย้ายระบบกับเทคโนโลยีก็สามารถเริ่มวางแผนงานได้เลยครับ
1
โดยรายได้หลักๆของ JMART ก็ยังคงมาจากธุรกิจมือถืออยู่ในสัดส่วน 63% ธุรกิจบริหารหนี้&ประกันภัยที่ 21% ต่อมาเป็นธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลอีก 8% และที่เหลืออีก 8% ก็จะมาจากการให้เช่าพื้นที่
แต่ถ้าลองสังเกตุดีๆก็จะเห็นว่า JMART ได้ทำการลดสัดส่วนของธุรกิจมือถือลงมาเรื่อยๆจากในปีพ.ศ. 2560 ที่เคยมีอยู่ถึง 80% และปีพ.ศ. 2561 ก็ลดลงมาเป็น 72% และลดลงจนเหลือ 63% เมื่อสิ้นปีพ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ในขณะที่รายได้จากธุรกิจบริหารหนี้&ประกันภัยอย่าง JMT มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาจาก 9.9% เป็น 14.2% และ 21% ตามลำดับ
💰งบการเงินย้อนหลังของ JMART
ปี 2560 รายได้ 13,236 ล้านบาท
กำไร 490 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 12,895 ล้านบาท
ขาดทุน 277 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 11,926 ล้านบาท
กำไร 533 ล้านบาท
(ล่าสุด)ไตรมาส 1 ปี 2563
รายได้ 2,802 ล้านบาท
กำไร 104 ล้านบาท
ล้มลุกคลุกคลานกันไปสักพักในช่วงปี 2561 จากปัญหาของธุรกิจมือถือที่เป็นธุรกิจหลัก แต่ถือว่า JMART ก็ยังฟื้นตัวและพลิกกลับมาเป็นกำไรได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากว่าบริษัทลูกอย่าง JMT ที่เติบโตขึ้นมานั้นมาช่วยเอาไว้
โดยในระยะเริ่มต้นที่ JMART ได้ทำการเข้าไปลงทุนใน SINGER นั้น สิ่งแรกที่พวกทำก็คือเป็นการปรับโครงสร้างบริษัทไปก่อน หรือเปรียบเสมือนกับการอุดรอยรั่วหลังบ้านให้เรียบร้อย จากนั้นจึงเริ่มนำเทคโนโลยีใส่ลงไปในระบบพอเข้าปีที่ 5 ก็ได้เพิ่มสินค้าที่มีกำไรมากขึ้น และที่สำคัญคือการขยายอาณาจักรเพื่อเข้าไปลุยในธุรกิจ Car4Cash
เมื่อรอยรั่วเริ่มหมด SINGER ก็สามารถกลับมามีกำไรและเติบโตได้ต่อ
ส่วนทาง J Fintech มีผู้ร่วมทุนเป็น KB Kookmin Card ธนาคารสัญชาติเกาหลีใต้อันดับที่ 60 ของโลกด้วยการเข้ามาถือหุ้นอยู่ 50% ซึ่งนอกจากเทคโนโลยีที่ดีแล้วนั้น บริษัทเกาหลีในประเทศไทยต่างๆเช่น Samsung และ Hyundai ก็จะกลายมาลูกค้าของธนาคารที่มาจากเกาหลีอย่างแน่สอน ซึ่งทีมของทาง KB ก็จะเริ่มเข้ามาทันทีหลังจากที่ไฟลต์บินต่างประเทศของไทยเปิด
ซึ่งแผนของ JMART ก็คือการสร้างอาณาจักรการเงินที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วย พร้อมทั้งพัฒนาสินค้าให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากที่สุด โดยเป้าหมายของพวกเขาคือขึ้นไปเป็นบริษัทที่มี Market cap ระดับ 50,000 ล้านบาทให้ได้ภายในปีพ.ศ. 2565 หรืออีกเพียงสองปีเท่านั้น !
จากผู้ค้าปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้าในระบบเงินผ่อน พัฒนามาสู่ธุรกิจมือถืออันแสนยิ่งใหญ่ แต่เมื่อธุรกิจมือถือมันเริ่มที่จะเติบโตได้ช้าลง วันนี้ JMART จึงได้ทำการปรับเปลื่ยนมาเน้นหนักในเรื่องของธุรกิจสินเชื่อและการเงิน
ถ้าจะบอกว่า JMART เปลื่ยนโฉมไปเลยทั้งหมดจากเดิมไหมเลยก็ต้องตอบว่าไม่ใช่ เพราะจุดเริ่มต้นของพวกเขานั้นก็มีพื้นฐานที่เกี่ยวกับเรื่องการเงินมาตั้งแต่แรกเริ่มอย่างธุรกิจเงินผ่อนแล้วนั่นเอง
JMART จะขยับจาก Market cap ที่ 9,700 ล้านบาทไปสู่ 50,000 ล้านบาทได้สำเร็จตามที่คิดไว้หรือไม่ ??
การเข้ามาของ KB ธนาคารใหญ่จากเกาหลีใต้ในครั้งนี้จะทำให้ JMART พัฒนาไปในทิศทางไหน ?
เรื่องนี้ ต้องมาติดตามกันในตอนต่อไป...
ติดตามบทความดีๆของพวกเราได้ทาง WEBSITE
หรือ FACEBOOK เพจ หุ้นพอร์ทระเบิด
และช่องทางใหม่ YouTube ‼️
- - - -
ผู้สนับสนุน
สนใจเปิดพอร์ท หุ้น TFEX SBL BLOCKTRADE กับโบรคเกอร์ KTBST
ค่าธรรมเนียมเรทพิเศษ
พร้อมรับสิทธิพิเศษมากมาย
- ทีมงานมืออาชีพคอยให้บริการ
- โปรแกรม EFIN//ASPEN
- โปรแกรม SUPPORT อื่นๆเช่น MT4//MODEL TRADE//KTBST SMART และอื่นอีกมากมาย
กรอกรายละเอียดได้เลย 👇
โฆษณา