3 ก.ค. 2020 เวลา 03:02 • ประวัติศาสตร์
เรื่องการตัดเอาบางคำพูดมาพาดหัวให้คนอ่านเข้าใจผิด ทุกวันนี้เราอาจเห็นกันบ่อย
แต่รู้ไหมคะว่าในสมัยรัชกาลที่ 4 ก็เคยมีเรื่องทำนองนี้เช่นกัน เป้ยจะเล่าให้ฟังค่ะ
สาเหตุมาจาก กะปิ เรื่องมีอยู่ว่า
มีผู้แต่งหนังสือถวายฎีกาและในฎีกานั้นกล่าวถึงกะปิ
ก็กะปิที่คนไทยทุกคนเรียกว่ากะปิธรรมดานั่นแหละ
แต่ในฎีกาดันใช้คำว่า "งาปิ" ซึ่งเป็นคำพม่า
เมื่อร.4 ทราบท่านก็กริ้วว่าอุตริ ทรงรับสั่งให้เขียนประกาศไปปิดไว้ที่กำแพงหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์
คือกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านตะวันออก มีใจความว่า
"ห้ามเรียกกะปิว่างาปิ แต่ให้เรียกว่าเยื่อเคย หรือจะคงเรียกว่ากะปิต่อไปก็ตามใจ ให้ประกาศแก่ราษฎรได้รู้โดยทั่วกัน"
เรื่องราวก็ดูเหมือนจะเรียบร้อยดีแล้วใช่ไหมคะ
แต่ไม่ค่ะ กลับบานปลายไปอีก
เพราะสมัยนั้นคนส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ ถึงใครพอรู้หนังสือก็ไม่มีโอกาสได้มาอ่านมาเห็นประกาศตรงนี้
จึงเป็นสาเหตุให้คนคิดไม่ดี หาช่องทางฉวยโอกาส
ตัดเอาเพียงคำพูดบางส่วนไปแอบอ้างคือ
"ห้ามเรียกกะปิ ให้เรียกเยื่อเคย"
1
ทีนี้ชาวบ้านทั่วไปที่เรียกกะปิว่ากะปิ ไม่เรียกเยื่อเคย
ก็ถูกรีดไถข่มเหงจนเดือดร้อนไปทั่ว จนในที่สุดต้องทรงออกประกาศอีกครั้งว่า
1
"ให้อาณาประชาราษฎรเรียกกะปิน้ำปลาตามยุราณแต่เดิม"
เรื่องราวจึงเรียบร้อยได้ค่ะ
...
ส่วนสาเหตุที่ฎีกานั้น เปลี่ยนคำว่ากะปิ ไปเป็นงาปิ
เพราะในสมียร.3 มีเก็บภาษีกะปิ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์รับสั่ง เจ้าพนักงานคลังสินค้าว่าจะเขียนตราตั้งและบาญชีเก็บอย่าให้ออกชื่อว่ากะปิเป็นของหยาบคายต่ำช้าให้เขียนและกราบทูลเสียว่างาปิ ตั้งแต่นั้นงาปิก็เป็นภาษาในราชการเรื่อยมา
จนมาถึงสมัยร.4 ท่านก็ถามว่ากะปิ ทำไมเรียกงาปิ
มีผู้กราบทูลท่านว่าเพราะกะปิเป็นของต่ำ อยู่ใกล้ครกสาก วิธีทำสกปรก มีคนบางพวกดูหมิ่นว่าโสโครก จึงเห็นว่าไม่ควรใช้กราบทูล
ร.4 ท่านจึงว่า ถ้าจะเปลี่ยนก็เปลี่ยนทั้งคำ ท่านโปรดให้ใช้คำว่า "เยื่อเคย" แทน หรือจะใช้กะปิอย่างเดิมก็ได้ (จนมีผู้ตัดเอาแค่คำว่าให้เรียกเยื่อเคยไปแอบอ้าง ดังที่เล่าไปข้างบนค่ะ)
1
...
ทุกวันนี้เราอ่านแค่พาดหัวข่าวกันแล้วไม่ได้อ่านเนื้อความให้ละเอียด ซึ่งหลายครั้งพบว่าเมื่อเราอ่านเนื้อความแล้ว ความหมายหรือสารที่ได้รับ แตกต่างจากการอ่านแค่พาดหัวข่าวอย่างสิ้นเชิง
ซึ่งหากเราไม่ระมัดระวัง อ่านแค่พาดหัวแล้วนำไปพูดต่อ ก็อาจส่งผลเสียตามมาได้ค่ะ ซึ่งหลายครั้งก็เป็นผลเสียที่กระจายเป็นวงกว้าง หรืออาจทำร้ายชีวิตใครได้เลย เราจึงควรระวังให้ดีค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือคุณหมีค่ะ
เป้ย 3 Jul 20
โฆษณา