3 ก.ค. 2020 เวลา 14:18 • หุ้น & เศรษฐกิจ
POLITICS & ECONOMY : กองทุนบำนาญที่ใหญ่ที่สุดในโลกขาดทุนถึง 1.65 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาสเดียว ขณะที่ Joe Biden ได้รับคะแนนโหวตเบื้องต้นจาก Poll สูงกว่าทรัมป์ และความกังวลเรื่องเงินเฟ้อเงินฝืดในอนาคตกำลังเป็นปัญหาสำคัญของตลาด
Bloomberg รายงานว่ากองทุนบำนาญของรัฐบาลญี่ปุ่นขาดทุนกว่า 11% หรือประมาณ 1.65 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรกของปี ซึ่งทำให้สินทรัพย์โดยรวมของกองทุนลดลงเหลือ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพียงไม่กี่เดือนหลังจากกองทุนได้เปลี่ยนตัวผู้บริหารระดับสูง และแก้ไขการจัดสรรสินทรัพย์เพื่อมุ่งเน้นการถือครองหนี้สินของต่างประเทศให้มากขึ้น
Masataka Miyazono ประธานของกองทุนกล่าวว่า การทรุดตัวลงของตลาดหุ้นทั้งในและนอกประเทศ ทำให้ผลตอบแทนออกมาติดลบ แม้ว่าก่อนหน้านี้ ตลาดหุ้นจะสามารถแสดงประสิทธิภาพออกมาได้อย่างดี แต่ Cornavirus ได้ทำให้นักลงทุนกลับไปยืนอยู่ในจุดที่สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้
พันธบัตรต่างประเทศเป็นสินทรัพย์หลักเพียงตัวเดียวของกองทุน ที่สร้างผลตอบแทนรายไตรมาสที่เป็นบวก โดยได้รับกำไรมา 0.5% ซึ่งก็ไปหักลบกับพันธบัตรในประเทศที่ขาดทุน 0.5%
ส่วนสินทรัพย์ประเภทหุ้นที่ถืออยู่นั้น ของภายในประเทศขาดทุนไป 18% และของต่างประเทศขาดทุนไป 22%
กองทุนได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างจากเดิมที่ถือพันธบัตรต่างประเทศไว้เพียง 15% ให้กลายเป็น 25% และขณะเดียวกันก็รักษาสัดส่วนหุ้นภายใน/นอกประเทศไว้ที่ 25%
ดัชนี MSCI ซึ่งติดตามตลาดหุ้นในทุกประเทศทั่วโลกระบุว่า Global Stocks ลดลงไปถึง 22% ซึ่งถือว่าเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตซัพไพรม์เลยทีเดียว
อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปีลดลงถึง 1.25% สู่ระดับเกือบต่ำที่สุดตลอดกาล และยังมีรายงานออกมาอีกว่ากระทรวงการคลังสหรัฐฯ ใช้งบประมาณในเรื่องสวัสดิการว่างงานไปแล้วกว่า 1.08 แสนล้านดอลลาร์
ขณะเดียวกัน ผลสำรวจความเห็นของ Pew Research Center ระบุว่าชาวอเมริกันเกือบ 90% ไม่พอใจกับสถานะของประเทศ ณ ปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะทั้งเรื่องการเมือง และความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจ
มีชาวอเมริกันเพียง 17% เท่านั้นที่กล่าวว่าพวกเขา "ภูมิใจ" ในสหรัฐฯ ณ ปัจจุบันนี้ ขณะที่ 71% กล่าวว่าพวกเขารู้สึกโกรธ และมีถึง 66% ที่รู้สึกกลัวร่วมด้วย
12% กล่าวว่าพวกเขาพอใจกับทิศทางของประเทศในปัจจุบัน ขณะที่อีก 87% รู้สึกไม่พอใจ และ 1% งดออกเสียง
54% สนับสนุน Biden และอีก 44% สนับสนุนทรัมป์ แต่หากพูดถึงประชากรผิวสีในประเทศนั้น ตอนนี้กลุ่มคนผิวดำหันไปสนับสนุน Biden ถึง 90% ขณะที่กลุ่มละตินอเมริกาหันไปสนับสนุน Biden กว่า 66%
นอกจากนี้ รายงานของ CNN ก็ยังมีข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันคือ Biden ได้รับคะแนนความนิยมมากกว่าทรัมป์แล้ว ณ ปัจจุบันนี้
อีกประเด็นที่น่าสนใจก็คือ "ปริมาณหนี้ของรัฐบาล" ซึ่งอาจกลายมาเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้ธนาคารกลางไม่สามารถออกจากตลาดไปได้อย่างอิสระ และอาจจำเป็นต้องผ่อนคลายมาตรการทางการเงินต่อไปในระยะยาว
ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) กล่าวว่า
"ความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดคืออำนาจทางการเงิน"
"นโยบายการเงินที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการปฏิรูปโครงสร้างที่มุ่งเน้นการเติบโตของภาระหนี้ที่สูง อาจสร้างแรงกดดันต่อนโยบายการเงินเพื่อรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ"
"การผิดชำระหนี้ของบริษัทหลายแห่งอาจพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาการล้มละลายที่จะตามมา ธนาคารกลางและรัฐบาลจะเข้ามามีบทบาททางการเงินมากกว่าเดิมหลังจากนี้"
นอกจากนี้ BIS ยังคาดการณ์เอาไว้ว่าระดับหนี้สาธารณะทั่วโลกต่อขนาด GDP ทั่วโลกจะสูงเกิน 100% ภายในปีนี้
ทางด้านปัญหาเงินเฟ้อเอง ล่าสุดก็ได้กลายมาเป็นประเด็นที่มีความสำคัญมากในตลาด ซึ่ง ณ ตอนนี้ก็เป็นเรื่องถกเถียงกันในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายว่า
โลกอนาคตกำลังเสี่ยงต่อภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืด ?
"นี่คือคำถามมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์" Christoph Rieger หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ Fixed-Rate ของบริษัท Commerzbank AG. กล่าว
มุมมองหลักของเรื่องนี้คือ ธนาคารกลางสามารถช่วยเหลือเศรษฐกิจของพวกเขาได้โดยไม่จำเป็นต้องทำให้ราคามีเสถียรภาพ โดยเฉพาะสินทรัพย์ประเภทพันธบัตร ซึ่งมีความอ่อนไหวต่ออัตราเงินเฟ้อที่สุด
ล่าสุดระดับคุ้มทุน (Breakeven Rate) ของพันธบัตรต่าง ๆ ได้พุ่งสูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่านักลงทุนกำลังคาดหวังให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
แต่ก็มีคำถามที่สำคัญไม่แพ้กันคือ
หากนักลงทุนเหล่านั้นคิดผิด และโลกกำลังจะก้าวเข้าสู่ภาวะเงินฝืดล่ะ ?
Christoph Rieger - "เราอาจเข้าสู่วิกฤตการณ์ทางการเงินที่รุนแรงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และความเสี่ยงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของตลาดก็คือ นักลงทุนเหล่านี้คิดผิดเรื่องอัตราเงินเฟ้อ"
Christoph Rieger - "ถ้าคุณเอาสถานการณ์ตอนนี้มาเปรียบเทียบกับในอดีต คุณจะพบว่ามันมีแนวโน้มสูงมากที่อัตราเงินเฟ้อกำลังจะพุ่งสูงขึ้น แต่ในความเป็นจริงมันอาจไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะหากคุณมองไปที่อัตราเงินเฟ้อย้อนหลังเกือบ 100 ปี มันมีอีกหลายช่วงเวลาที่อัตราเงินเฟ้อควรจะสูงขึ้นกว่าตอนนี้เสียอีก แต่ก็ไม่ได้เป็นไปตามนั้น"
BIS - "เศรษฐกิจจะไม่สามารถฟื้นตัวได้รวดเร็วแบบ V-Shaped แต่จะค่อยฟื้นตัวแบบ U-Shaped แทน และนั่นหมายความว่าอัตราเงินเฟ้อไม่อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว"
Bloomberg Intelligence - มีความทรงจำที่ยาวนานเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อต่ำ และตลาดไม่ได้ให้ราคาในการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองโลก ขณะที่บทเรียนจากญี่ปุ่นก็ยังเป็นข้อกังขาอยู่มาก ดังนั้นความไม่แน่นอนของเงินเฟ้ออาจได้รับการป้องกันความเสี่ยงผ่านทางเลือกในระยะยาว
World Maker's Comment : เอาง่าย ๆ ว่าทั้งหมดนี้เป็นการบอกใบ้ถึงความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะบังคับใช้ Yield Curve Control แบบเข้มงวด และจริงจังในระยะยาวครับ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็คาดว่าโครงสร้างตลาดโลกคงไม่มีคำว่า "การค้าเสรี" ไปสักพักเลยครับ
ส่วนเรื่องเงินเฟ้อ เงินฝืดนั้นก็อย่างที่เคยได้บอกไปครับว่า ในอนาคตเรื่องนี้ จะกลายเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดของ FED และรัฐบาลสหรัฐฯ เพราะเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว นั่นจะหมายถึงอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่หาก FED คิดจะทำ Yield Curve Control จริง ๆ พวกเราก็จำเป็นต้องติดตามสถานการณ์ในตลาดอย่างใกล้ชิดครับ ว่า ณ เวลานั้น ๆ รัฐบาลจะมีมาตรการออกมาอย่างไร
การกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม และการติชมในเชิงสร้างสรรค์ของคุณ เป็นกำลังใจให้เราและเหล่าอาชีพนักเขียนทุกคนในการพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ขอเชิญทุกท่านร่วมสร้างสังคมการเรียนรู้ที่ดีด้วยกันกับเรา
World Maker
สามารถติดตาม World Maker ผ่านทาง Facebook ได้แล้ววันนี้ที่
โฆษณา