4 ก.ค. 2020 เวลา 03:25 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
CERN ค้นพบอนุภาคใหม่
'เตตระควาร์ก แบบชาร์ม'
นักฟิสิกส์ เรียก อนุภาคที่ประกอบด้วยควาร์กรวมๆกันว่า ฮาดรอน (hadron) อนุภาคที่เรารู้จักกันดี อย่างโปรตอน นิวตรอน คือ ฮาดรอน ที่ประกอบด้วยควาร์ก 3 อนุภาค
แต่ทฤษฎีทางฟิสิกส์บ่งชี้ว่าเป็นไปได้ที่จะมี อนุภาคฮาดรอนแบบผิดธรรมดา (Exotic hadron) ที่ประกอบด้วยควาร์ก 4 อนุภาคด้วย นั่นคือ เตตระควาร์ก (Tetraquark) ซึ่งเคยมีการค้นพบมาแล้ว
แต่ล่าสุด 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2020
องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป(CERN) ประกาศการค้นพบสัญญาณของเตตระควาร์ก แบบที่ประกอบขึ้นจาก ควาร์กแบบชาร์ม 2 อนุภาค และ ปฏิอนุภาคของชาร์มอีก 2 อนุภาค ซึ่งนับว่าน่าสนใจมาก เพราะชาร์มเป็นควาร์กที่มีมวลค่อนข้างสูง
กระนั้น นักฟิสิกส์ก็ยังไม่มั่นใจนักว่าเตตระควาร์กที่ค้นพบจะเป็น...
- ควาร์กทั้ง 4 อนุภาคเกาะกันแน่นเป็นก้อน หรือ
- ควาร์ก 2 อนุภาคเกาะกัน และ ปฏิอนุภาคของควาร์ก 2 อนุภาคเกาะกัน แล้วเชื่อมต่อกันด้วยกลูออน ซึ่งเป็นอนุภาคสื่อแรงชนิดเข้ม
แต่ไม่ว่าจะเป็นทางไหน
นักฟิสิกส์ก็พบว่ามันน่าสนใจทั้งสิ้น เพราะการศึกษาอนุภาคนี้ให้มากขึ้นจะนำไปสู่ความเข้าใจแรงชนิดเข้ม ซึ่งเป็นหนึ่งในแรงพื้นฐานที่สุดในเอกภพที่นักฟิสิกส์ยังต้องการเข้าใจมันมากขึ้น
โฆษณา