4 ก.ค. 2020 เวลา 16:40
กรอบแนวคิดวางแผนการเงินกับแก่นแท้ของธรรมะ
หลักสำคัญของแผนการเงินที่ดี คือ แนวทาง/วิธีการที่ทำให้เราไปถึงเป้าหมายตามที่เราตั้งใจไว้
ส่วนแก่นแท้ของธรรมะ คือ หลักธรรมคำสั่งสอนสำหรับเป็นทางแห่งการพ้นทุกข์ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
จะเห็นว่าสองสิ่งนี้ล้วนเป็นเครื่องมือหนึ่งสำหรับการพ้นทุกข์ทั้งในทางโลกและทางธรรม(จิตใจ)
อีกทั้งวันนี้ถือเป็นหนึ่งในวันสำคัญทางพุทธศาสนา โดยเป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกของโลก คือ มีทั้งพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เราเรียกวันนี้กันว่า วันอาสาฬหบูชา
Photo : Freepik.com
และเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดวันนี้เกิดขึ้นมาได้ เนื่องด้วยองค์ความรู้หรือหลักธรรม ที่ใช้ในการแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ จนบรรลุธรรม ของพระพุทธเจ้า
จะเห็นว่าแก่นแท้ของธรรมะก็คือ คำสั่งสอน หากเรานำไปปฏิบัติตามย่อมส่งผลดีตามมา
ซึ่งคำสั่งสอนสำคัญ มีดังนี้
หนึ่ง มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง การทำแต่พอดี พอประมาณ ไม่ตึงหรือหย่อนเกิน ไปย่อมทำให้บรรลุเป้าหมายตามที่เราตั้งใจไว้ได้
สอง อริยสัจสี่ คือ แนวทางแห่งความพ้นทุกข์ ซึ่งนี่ถือเป็นหลักธรมมที่สำคัญที่สุดที่ทำให้พระองค์ตรัสรู้
เมื่อเรานำคำสอนสองสิ่งนี้มาประยุกต์ใช้ ย่อมทำให้เรามีความสุขทั้งกับปัจจุบันและอนาคตได้ เช่น
มัชฌิมาปฏิปทา >>> ตั้งเป้าหมายทางการเงินแต่พอดี พอประมาณ
อริยสัจสี่ - ทกข์ >>> ความไม่สบายการ ไม่สบายใจ ex. ไม่มีเงินสำหรับใช้จ่ายในอนาคตตามที่ตั้งใจไว้ หรือใช้จ่ายเกินตัวจนเดือดร้อน
อริยสัจสี่ - สมุทัย >>> หาสาเหตุของปัญหาว่าเกิดจากอะไร ex. เราใช้มากไป ไม่ได้วางแผนสำหรับอนาคต
อริยสัจสี่ - นิโรธ >>> ความสุขจากการที่เราถึงเป้าหมาย ex. หมดหนี้ มีเงินตามที่ตั้งใจไว้
อริยสัจสี่ - มรรค >>> แนวทาง/วิธีการที่ทำให้เราไปถึงเป้าหมายที่เราตั้งใจไว้ ex. การขยันทำงาน หมั่นอดออม ศึกษาหาความรู้ด้านการเงิน
ลองนำไปปรับใช้กันดูนะครับ เป็นกำลังใจให้ทุกคนครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา