🌾จากผู้รับจำนำ..กลายเป็นผู้ยักยอก..ซะงั้น 😥
ผมเคยได้ยินคำพูดประโยคหนึ่ง ว่า " สิ่งที่เขาทำกับคุณคือ " กรรมของเขา " แต่สิ่งที่คุณตอบโต้เขาคือ " กรรมของคุณ " ผมว่ามันก็จริง ก็อยู่ที่ว่าเราจะมีสติแค่ไหนในการถูกกระทำหรือตอบโต้กับบุคคลที่กระทำกับเรา สำหรับผมคิดว่า ใครชอบ ใครชัง ชังเถิด ใครเชิด ใครชู ชังเขา ใครเบื่อใครบ่น ทนเอา ใจเราร่มเย็นเป็นพอ..แค่นี้จริ้ง ๆ คนครับไม่ใช่พัดลมเลี่ยงเรื่องพวกนี้ไม่ได้อยู่แล้ว..หนักแน่นเข้าไว้นะครับ 👍👍
😇 เข้าเรื่องของเราครับ กฎหมายแพ่งและพานิชย์ ในเรื่องจำนำ ในกรณีจำนำหลุดคือไม่มาไถ่ถอน มาตรา 764 การบังคับจำนำ จะกระทำได้ด้วยการขายทอดตลาดเท่านั้น การขายทอดตลาด ก็จะมีอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งพานิยช์ มาตรา 509 ถึงมาตรา 517 ครับ
🍀 ฉะนั้นแล้ว หากเป็นผู้รับจำนำ ที่ไม่ใช่โรงรับจำนำ ครับเพราะโรงรับจำนำ เขาทำตามกฎหมายนำทรัพย์ที่หลุดจำนำขายทอดตลาดครับ ผมเคยไปหาของดีราคาถูกบ่อย ๆ กรณีที่ผู้รับจำนำ เอาทรัพย์สิน ของผู้จำนำไปขายโดยไม่ได้กระทำการตาม มาตรา 764 คือกระทำการขายทอดตลาดตามกฎหมาย จะมีความผิดไหม มาเบิ่งกันครับ 🤪
🚒 นายจน นำรถยนต์กระบะ ไปจำนำไว้กับนายรวย ต่อมานายจนก็พยายามรวบรวม เงินไปไถ่ถอนจำนำ แต่ดันเลยกำหนดที่นายรวยผ่อนผันให้ นายรวยก็เลยขายรถกระบะให้กับคนอื่น โดยไม่ถามนายจนซักคำ นายจนเลยแจ้งความดำเนินคดี ครับ คดีนี้มีคำพิพากษาศาลฎีกา วินิจฉัย เป็นคำพิพากษาที่ 8392/2561 วินิจฉัยว่า ....
" จำเลยรับจำนำรถกระบะ ไว้จากผู้เสียหายแล้วจำเลยขายรถกระบะดังกล่าว ให้แก่ผู้อื่น ไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายรวบรวมเงินได้ครบถ้วนพร้อมที่จะไถ่ถอน หลังพ้นเวลาที่จำเลยผ่อนผันให้แล้ว แต่ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 764 การบังคับจำนำ จะกระทำได้ด้วยการขายทอดตลาดเท่านั้น ไม่มีสิทธิที่จะขายรถกระบะดังกล่าว ด้วยวิธีการอื่น การที่จำเลยขายรถกระบะ เป็นการขายโดยไม่มีสิทธิ ถือว่าเป็นการกระทำโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรก ( ยักยอก ) "
😏 นั้นแหละครับบางที่คดีแพ่งก็กลายเป็นคดีอาญาและอาจทำให้ไปอยู่บ้านหลังใหม่มีเพื่อนเยอะ ๆ นั่งร้องเพลงพีเบิร์ด ธงไชย " ฉันมาทำอะไรที่นี่ ฉันมาทำอะไรที่นี่ ..." ดำเนินการอะไรดูกฎหมายให้ดีก่อนในวิธีปฏิบัติที่กำหนดไว้ในแต่ละเรื่อง นะขอรับ ✍
⚘สุขสวัสดีจงมีแก่ทุกท่าน บุญรักษาครับผม
ฝากกดไลค์,กดแชร์,กดติดตามด้วยนะครับ 🙏🙏🙏
โฆษณา