12 ก.ค. 2020 เวลา 01:46 • หนังสือ
[รีวิว] หนังสือเทคนิคจำแบบไม่ต้องจำที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ !
แค่ชื่อหนังสือก็ทำเอาตาเบิกกว้างได้แล้วจากนักเขียน คะบะซะวะ ชิอง จิตแพทย์และนักเขียน เจ้าของหนังสือที่ใครบางคนอาจจะคุ้นหูกันอย่าง "เทคนิคการอ่านให้ไม่ลืมที่จิตแพทย์อยาบอกคุณ" และหนังสือที่ผู้เขียนจะนำเสนอซึ่งถือว่าเป็นลูกหลานที่ส่งทอดต่อกันมา นั้นคือหนังสือ "เทคนิคจำแบบไม่ต้องจำที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ " โดยสโลแกนที่ว่า
"ไม่ต้องท่องจำ......"
"ไม่ต้องฝืน......"
"ไม่ต้องพยายาม......"
ถึงจะขี้ลืมก็จำได้ แหม๋ ๆ พูดถึงขนาดนี้ ไม่อ่านไม่ได้แล้วละ
ความคิดเห็นหลังจากได้อ่านหนังสือเล่มนี้ของผม
คะแนนของหนังสือ : ⭐ ⭐ ⭐ ⭐ การที่ให้แค่ 4 ดาว(เต็ม 5)ถือว่าเป็นหนังสือที่ดีมาก ๆ แต่ที่เลือกที่จะไม่ให้เต็มก็เนื่องจากยังมีเทคนิคการจำที่ยังไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างสะดวกเพราะต้องได้รับการฝึกฝนให้ดีก่อน หรือแม้กระทั่งต้องใช้ความกล้าที่จะผลักดันศักยภาพของตัวเองในการใช้เทคนิคเหล่านี้ ซึ่งผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ เลยเหมือนเป็นหนังสือพัฒนาตัวเองไปด้วยในตัว ดังนั้นอีกหนึ่งดาวที่หายไปจะถูกเติมเต็มทันทีเมื่อเราได้พัฒนาตัวเองจนสามารถก้าวข้ามขีดจำกัดความสามารถของเราอย่าง....คุณคิดว่าคุณเป็นคนความจำไม่ดีหรือ ?
Content ของหนังสือเล่มนี้
1. 3 สิ่งที่จะได้จาก "เทคนิคจำแบบไม่ต้องจำ" ที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ
2. จำแบบไม่ต้องพยายาม "เทคนิคจำด้วยการส่งออก" ที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ
2
3. สร้างลัพธ์สูงสุดแบบไม่ต้องจำ วิธีการของ"เทคนิคจำแบบไม่ต้องจำ" ที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ
4. ยิ่งมีอารมณ์ร่วมยิ่งจำได้ "เทคนิคจำด้วยอารมณ์ความรู้สึก" ที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ
5. จำได้อย่างไรขีดจำกัด "เทคนิคการจำด้วยโซเซียลเน็ตเวิร์ก" ที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ
6. เพิ่มพื้นที่การทำงานให้สมอง "เทคนิคเพิ่มเมมโมรีสมอง" ที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ
7. วิธีป้องกันสมองแก่ "เทคนิคจำด้วยวิธีใช้ชีวิต" ที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ
ซึ่งแต่ละบทของหนังสือก็จะมีหัวข้อย่อยที่มีความน่าสนใจไม่แพ้กันเลย ซึ่งผมจะขอมาเล่าสิ่งที่ได้เรียนรู้ในแต่ละหัวข้อคร่าว ๆ เพื่อเป็นกุญแจเล็ก ๆ พาคุณผู้อ่านเลือกเทคนิคการจำแบบไม่ต้องจำด้วยตัวเองกันครับ
⭐️1. 3 สิ่งที่ได้จากเทคนิคจำแบบไม่ต้องจำ⭐️
• จะเป็นการปูพื้นฐานให้สำหรับผู้อ่านก่อนว่า ความเชื่อที่คุณคิดว่าตัวเองความจำไม่ดีเนื่องจากปมในตอนเด็กต่าง ๆ อย่างการเรียนหรือ
• เรื่องของอายุที่มากขึ้นอย่างการหลง ๆ ลืม ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของความเชื่อที่คิดว่า "ฉันมีความจำที่ไม่ดี"
❤️ สิ่งแรกที่ได้คือ ป้องกันสมองเสื่อมและช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• แน่นอนว่า คนที่เคยเจอปัญหากับการหลงลืมอะไรบางอย่างในชีวิตประจำวันอย่างเช่น ลืมกุญแจ ลืมกระเป๋าตัง หรือลืมโทรศัพท์ไว้ที่บ้าน
จะคิดว่าตัวเองสมองจะเสื่อมเนื่องจากอายุเริ่มมากขึ้น แต่ผู้เขียนได้ศึกษาและค้นคว้าหา
• งานวิจัยที่ค้นพบว่า "อายุมากขึ้น สมองก็ยังสามารถเติบโตได้" ซึ่งทำให้ความรู้ผิด ๆ ของเราที่คิดว่าอายุเพิ่มจะยิ่งเสื่อมลง ผิดทันที!
• สิ่งที่เราควรตระหนักไม่ใช่ว่า "เราจะไม่มีแรงเรียนรู้ได้ตอนไหน" แต่เป็นการบอกว่า "ฉันจะพัฒนาศักยภาพของสมองให้ได้มากแค่ไหน" ดีกว่าครับ
❤️ สิ่งที่สองที่ได้คือ ผลการเรียนดีขึ้น
• ทุกวันนี้การสอบถือว่าอยู่ในชีวิตประจำวันไปเสียแล้ว ไม่ใช่แค่เรื่องในโรงเรียนอนุบาล ประถม มัธยม หรือมหาลัยแล้ว เพราะในวัยทำงานต้องมีการสอบใบอนุญาติหรือคุณวุฒิต่าง ๆ สอบเลื่อนขั้น สอบใบขับขี่ เป็นต้น ดังนั้นการสอบก็มีอิทธิพลอย่างมากในชีวิตของเราเลย แน่นอนผลการเรียนที่ดี มาพร้อมกับการที่ถูกชื่มชมว่า 'ความจำดีแน่นอน' ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพในการจำก็จะทำให้ชีวิตของคุณก้าวหน้าได้ด้วยครับ
1
❤️สิ่งที่สามที่ได้คือ เก่งขึ้นแบบพรวดพราด
• คุณเคยคิดสักครั้งหรือเปล่าครับว่า ตั้งใจแทบตายแต่กลับไม่เก่งขึ้นเลย อ่านหนังสือไม่ทันไรก็ลืมแล้ว ไปสัมมานาตั้งเยอะแต่ไม่เคยเอามาใช้จริงเลย เสียเงินค่าอบรมแต่กลับไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง หลาย ๆ คนก็คงจะคิดว่า ตัวเองความจำไม่ดี
• แต่ว่าเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับความจำเลยนะครับ เพราะสมองของเราจะทิ้งข้อมูล 99 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับมาแต่ไม่เคยได้เรียกใช้เลย
• การลืมถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมชาติเลยครับ เนื่องจากสมองมนุษย์จะเลือกจำแต่ "ข้อมูลสำคัญ" และจะลืม "ข้อมูลที่ไม่สำคัญ" ทั้งหมดไป
• ดังนั้นการที่จะทำให้สมองจำได้แม่น ๆ ก็ต้องให้ความสำคัญกับข้อมูลนั้นเอง
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลมันสำคัญล่ะ ? มี 2 เกณฑ์ด้วยกันคือ ข้อมูลนั้นถูกเรียกใช้งานบ่อย และ ข้อมูลนั้นมีเรื่องของอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง มันก็เป็นสาเหตุว่า ทำไมเราความเศร้าถึงอยู่กับคุณได้นานไงละครับ
⭐️2. เทคนิคการส่งออก⭐️
• การส่งออกสำคัญกว่าการรับเข้า นี่คือกฎของการจำครับ คุณจะจำได้ดีกว่าถ้าคุณเขียนมากกว่าอ่าน สอนคนอื่นมากกว่าอ่านคนเดียว เป็นต้นครับ เนื่องการส่งออกข้อมูลเป็นการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ๆ จึงทำให้สมองคิดว่า "ข้อมูลนั้นสำคัญ" ซึ่งบทนี้จะแนะนำวิธีการส่งออก 2 วิธีอย่างการเขียนและการแต่งเรื่องเล่า
⭐️เทคนิคการจำด้วยการเขียน
• ผู้เขียนเล่าว่าการทำโจทย์ดีกว่าท่องจำ เพราะว่าการทำโจทย์เสมือนเป็นการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ๆ มาช่วยในการทำโจทย์นั้นทำให้ข้อมูลนั้นมีความสำคัญต่อสมอง
• ถ้าคุณคิดว่าการทำโจทย์เปรียบเสมือนการเล่นเกม ถ้าคุณทำถูกคุณก็จะได้คะแนนถ้าผิดก็จะไม่ได้คะแนน การทำแบบนี้เราจะสามารถเห็นความก้าวหน้าของได้อีกด้วย ซึ่งทำให้เรามีอารมณ์ร่วมในการจำ ทำให้จดจำได้มากขึ้น
• [การเขียนคือการจำ] เขาบอกว่าการเขียนไปอ่านไปทำให้เราจำได้มากขึ้นเนื่องจาก การเขียนเปรียบเสมือนเป็นการทบทวนไปในตัวเอง 1 ครั้งด้วยผู้เขียนยังบอกด้วยว่า ถ้าอยากให้เราจำติดแน่นขึ้นไปอีก ให้ทำการส่งออก 3 ครั้งในหนึ่งสัปดาห์หรือก็คือเขียนแบบเดิม 3 ครั้งในสัปดาห์เท่านี้ก็จะทำให้คุณจำได้นานขึ้นแล้ว (อย่าให้ความขี้เกียจมาครอบงำคุณตอนนี้นะครับ)
• [จดไว้ก่อนจะลืม] การจดไว้ก่อนจะลืมก็เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่เอาไว้ช่วยป้องกันอาการหลง ๆ ลืม ๆ ของเราได้ ถ้าเรากลัวจะลืมก็จดไว้เลยและใครที่สะดวกในการใช้อุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ในการจดอย่าง คอมพิวเตอร์ หรือ โทรศัพท์ก็ทำได้เหมือนกัน เราเน้นความสะดวกเป็นหลัก
• มี 3 เหตุผลว่าทำไมการจดถึงดีต่อการจำ
หนึ่งคือการจดบันทึกทำหน้าที่เหมือนการทบทวนไปด้วยหนึ่งครั้ง
สองคือการจดบันทึกคือการส่งออกพร้อม ๆ กับการกระตุ้นระบบประสาทสั่งการ
และสามการจดบันทึกเป็นการสร้างดรรชนีความจำในรูปแบบหนึ่ง
• [การทำดรรชนีความจำ] การทำดรรชนีความจำเปรียบเสมือนกล่องคำตอบที่มีเนื้อหาที่เราต้องการจะรู้เหลือแค่เราต้องหยิบเปิดมาใช้ ดังนั้นจะมีเรื่องของ ความจำอาศัยความหมาย และ ความจำอาศัยเหตุการณ์เข้ามาเกี่ยว
• [ความจำอาศัยความหมาย] คือ การจำข้อเท็จจริง ข้อมูลต่าง ๆ เช่น สูตรคูณ หรือ ชื่อเมือง ซึ่งเป็นความจำที่เราจำยากแถมลืมง่ายอีก
• ความจำอาศัยเหตุการณ์ คือ การข้อมูลต่าง ๆ ด้วยประสบการณ์ของเรา เช่น เราเคยไปเมืองนี้เมื่อวันที่ xx เดือน xx ปี xxxx อากาศเมืองนี้หนาวมาก และได้เจอสาวงามประจำเมืองจากนั้นก็พาเธอไปทานอาหารและจากนั้นก็....คุณคงจำได้แม่นสินะ นี่แหละครับความจำแบบอาศัยเหตุการณ์มีเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกเข้ามาเกี่ยว
⭐️การใช้ประสาทสัมผัสด้านอื่นด้วยจะทำให้คุณจำได้ดีขึ้น
• ประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่าง การมองเห็น ได้ยิน กลิ่น รส สัมผัส หรืออาจมากกว่านั้น (ผมเชื่อว่ามี) ในการจดจำ ตัวอย่างที่ต้องเคยทำเป็นแน่อย่างการอ่านออกเสียง ซึ่งจะใช้ตาในการมอง ปากในการพูด และหูในการฟัง เท่านี้ก็เพิ่มประสิทธิภาพในการจำแล้ว
• ถ้าอ่านออกเสียงในที่สาธารณะไม่ได้ล่ะ (ก็ป๋มเขินดิครับ) แน่นอนว่าคุณสามารถทำได้อย่างการ อ่านอำพราง คือการอ่านแบบขยับปากโดยไม่ออกเสียง หรือ ออกเบา ๆ เท่านี้ก็เป็นการส่งออกได้แล้ว
⭐️เทคนิคการจำด้วยการแต่งเรื่อง⭐️
❤️ผู้เขียนเล่าว่า ตอนเด็กเราจะจำแบบอาศัยความหมายได้ดีมาก สังเกตไหมครับว่า เด็กทารกเรียนรู้ภาษาพูดจากพ่อแม่ได้รวดเร็วแค่ไหน ดังนั้นเด็กจึงมีความได้เปรียบเรื่องนี้ แต่พอยิ่งโตขึ้นความสามารถแบบนี้ก็เสื่อมถอยลงแต่ความสามารถด้าน ความจำแบบอาศัยเหตุการณ์ของเราจะดีขึ้น เนื่องจากยิ่งเราโตขึ้นผ่านประสบการณ์ต่าง ๆ นา ๆ มามากมายทำให้เราสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ของเราได้อย่างดี พูดง่าย ๆ ว่าผู้ใหญ่จะมองภาพใหญ่เก่งกว่าเด็ก ๆ นั้นเอง
• เทคนิคการแต่งเรื่อง เหมาะสำหรับผู้ใหญ่มากกว่า
• ใส่เหตุผลเข้าไปแล้วจะจำได้ ถ้าคุณต้องการจำข้อมูลบางอย่างให้ได้ การหาเหตุผลหรือต้นตอของข้อมูลนั้นทำให้คุณเข้าใจและจดจำได้ดีขึ้น
เช่น ทำไมฝนถึงตก อ้อเพราะความร้อนนู้นนี่นั้น ทำให้ความชื้นเพิ่ม อ้อแล้วฝนจึงตก ประ
เด็นสำคัญคือ คุณต้องถามตัวเองว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้นบ่อย ๆ ครับ
• เจออะไรก็เล่าให้คนอื่นฟัง การที่เราจะหาวิธีส่งออกเพื่อให้เราจำได้ดีขึ้นนั้นการเล่าประสบการณ์ของตัวเองให้คนอื่นฟังก็เป็นวิธีที่ดีเลยครับ เพราะคุณจะดึงความรู้สึก อารมณ์ขณะนั้นมา ทำให้ข้อมูลนั้นถูกเรียกใช้งานเปรียบเสมือนการทบทวนไปแล้วด้วยหนึ่งครั้ง แน่นอนว่าไม่จำเป็นต้องใช้การพูดอย่างเดียว การโพตส์รูป หรือเขียนข้อความประสบการณ์ให้คนอื่นได้รับรู้ก็ถือว่าใช้ได้แล้วครับ
• สอนคนอื่น ตัวผมเองก็ขอยืนยันเลยครับว่า การสอนคนอื่นช่วยให้เราจำได้มากขึ้นจริง ๆ เนื่องจากเราจะย่อยข้อมูลและต้องทำความเข้าใจถ่องแท้ก่อนไปสอนคนอื่น ๆ ทำให้เรา ทำความเข้าใจ จัดระเบียบ จำ และทบทวนไปด้วยในตัว แถมยังรู้สึกดีอีกด้วยที่จะได้ช่วยเหลือคนอื่น ๆ มาแบ่งปันความรู้กันเยอะ ๆ นะครับ
ภาพจาก unsplash.com
⭐️3. สร้างผลลัพธ์สูงสุดแบบไม่ต้องจำ วิธีการของ"เทคนิคจำแบบไม่ต้องจำ"⭐️
• การจำเป็นเรื่องของการเตรียมการถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเหมาะสำหรับช่วงสอบเป็นอย่างมาก
• [ให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจมากกว่าการจำ] ผู้เขียนบอกว่าการที่เราจะจำอะไรได้นั้นมันต้องผ่านกระบวนการ 4 ขั้นตอนนี้ก่อนคือ 1.การทำความเข้าใจ 2.จัดระเบียบ 3.จำ และ 4. ทบทวน ดังนั้นเราต้องทำขั้นตอนแรกขั้นแรกให้ได้ก่อน ถึงจะจำได้ดี
• [การมองภาพใหญ่เป็นอันดับแรก] เวลาอ่านหนังสือคุณเป็นคนหนึ่งหรือเปล่าที่อ่านตั้งแต่หน้าแรกเลย ถ้าคุณเคยถึงเวลาลองวิธีใหม่ ๆ อย่างการอ่านสารบัญดูก่อนเพื่อดูโครงสร้างของหนังสือทั้งหมด มันจะทำให้คุณเชื่อมโยงข้อมูลในแต่ละหัวข้อได้ ทำให้คุณเข้าใจและจำได้มากขึ้น
• [ตัวช่วยพิเศษในการสอบคือ] การหาคอร์สเรียนครับ ผู้เขียนเล่าว่าการเรียนกวดวิชากับการอ่านด้วยตัวเองได้ผลลัพธ์ที่เท่ากัน แต่ถ้าคุณได้เรียนพิเศษละก็มันจะทำให้คุณเข้าใจภาพรวมได้ดีขึ้นโดยใช้เวลาไม่มาก ทำให้คุณเข้าใจภาพรวมและประหยัดเวลาไปไหนตัวด้วย
• [จัดระเบียบก็ไม่ลืมแล้ว] พูดง่าย ๆ คือการสรุปนั้นเอง ถ้าใครคิดว่าตัวเองไม่เก่งเรื่องการสรุปละก็มี 2 เหตุผลเท่านั้นครับคือ หนึ่งคือขี้เกียจ สองคือคุณยังไม่เข้าใจนั้นเอง แน่นอนว่าเหตุผลที่ 2 มันแสดงถึงความตั้งใจในการทำความเข้าใจของคุณการที่เราเรียนเรื่องใหม่ ๆ ครั้งแรกการเข้าใจเลยก็เป็นเรื่องยากพอสมควรอยู่แล้ว (ผมหวังว่าคุณไม่ได้เป็นแบบเหตุผลที่หนึ่งนะครับ)
• ดังนั้นผู้เขียนเลยให้ทำความเข้าใจส่วนสำคัญหรือหัวข้อข้อความที่ตัวหนา มันจะเป็นส่วนสำคัญ 20 เปอร์เซ็นของหนังสือเลย ซึ่งตรงกับกฎของพาเรโตว่า 80/20 หมายความว่าคุณใช้ความพยายาม 20 เปอร์เซ็นต์แต่ได้ผลลัพธ์สูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
• ดังนั้นการทำความเข้าใจหัวข้อให้ได้ จะทำให้ถึงเข้าใจภาพรวมของหนังสือถึง 80 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
⭐️ในบทนี้เป็นเทคนิคตามชื่อหนังสือเลยคือ เทคนิคการเพิ่มศักยภาพของสมอง ด้วยการนอน ⭐️
ภาพจาก unsplash.com
• แค่นอนก็จำได้แล้ว ความจำฝังแน่นได้ต้องนอนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
• ห้ามโต้รุ้ง ห้ามอดนอน การโต้รุ่งทำให้เซลล์สมองตายได้
 
• ช่วงเวลาทองของการจำ คือ ก่อนนอน การเรียนรู้ในตอนเช้าและทบทวนในกลางคืน จะทำให้คุณจำเนื้อหาได้มากขึ้น
• นอนชดเชย "ช่วยไม่ได้ " ใครที่เคยนอนน้อยในวันทำงานและหวังจะชดเชยในวันหยุดละก็ เป็นความคิดที่ผิดอย่างมาก ถ้าคุณต้องการให้งานคุณมีประสิทธิภาพ
• การงีบหลับมีประโยชน์กว่าที่คิด การงีบหลับ 15 - 20 นาที ช่วยให้คุณมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น ลดอาการเหนื่อยล้าได้และส่งผลดีต่อความจำ
• หากอยากจำแม่งต้องไม่ลืมทบทวน ป้องกันไม่ให้สมองทิ้งข้อมูล
• ทบทวน 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์ ผู้เขียนได้มีระยะเวลาให้คือ 1 3 7 วัน จะทำให้ถึงลืมข้อมูลนั้นยากขึ้น
• อย่าจำรวดเดียว มีการวิจัยให้นักเรียนจำศัพท์โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ แบ่งจำทุก ๆ วันกับจำรวดเดียว การทดลองพบว่า การแบ่งข้อมูลในการจดจำทุก ๆ วัน ทำคะแนนได้สูงกว่าจำแบบรวดเดียวอย่างมีนัยสำคัญและเมื่อให้ทดลองอีกในวันถัดไปโดยไม่ได้นัดหมาย กลุ่มที่จำทุกวันก็ชนะขาดลอยไปเลย
⭐️ 4. ยิ่งมีอารมณ์ร่วมยิ่งจำได้ ⭐️
ภาพจาก unsplash.com
• มีการวิจัยค้นพบว่าเราสามารถจดจำได้ด้วยอารมณ์ หรือการจดจำเชิงอารมณ์ (Emotional Memory) เพราะเวลามนุษย์เกิดอารมณ์ความรู้สึก สมองจะหลั่งสารสื่อประสาทออกมาทำให้เราจำได้ดีขึ้นนั้นเอง
• [ความเครียดไม่ใช่ศัตรูเสมอไป] ผู้เขียนเล่าว่าความเครียดนั้นมีข้อเสียและข้อดีเหมือนกัน ซึ่งความเครียดในระดับ"พอดี"จะช่วยให้เราจดจำได้ดีขึ้น
• [ใช้ลูกฮึดยามวิกฤตให้เป็นประโยชน์] พวกเราคงเคยได้ยินเวลาเกิดไฟไหม้ เราจะสามารถยกตู้เย็นออกมาได้ นั้นเป็นเพราะร่ายกายได้หลั่งอะดรีนาลินออกมาทำให้ปวดและกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น สมองของเราก็เช่นกันจะหลั่งสารนอร์อะดรีนาลีนออกมาทำให้เราใช้สมองอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้การจดจำได้ดี
• [การจับเวลาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ] ความเครียดในระดับพอดีนั้นจะช่วยให้เราจดจำได้ดีขึ้น ดังนั้นเราสามารถสร้างมันได้โดยสิ่งที่เรารู้จักคือ "dead line"
• การมีระยะเวลากำหนดส่งงานทำให้เรานั้นฮึดสู้ทันที ถึงแม้ว่างานนี้ต้องใช้เวลาทำ 3 วัน แต่เรากลับทำได้ภายในวันเดียว ดังนั้นถ้าคุณอยากเพิ่มประสิทธิภาพในการจำหรือการทำงานการจับเวลาจะช่วยคุณได้ครับ
• [ความจำเกลียดอะไรเดิม ๆ] ระหว่างสั่งเมนูอาหารเดิม ๆ หรือ ลองสั่งเมนูใหม่จากทางร้าน อันไหนที่จะทำให้คุณรู้สึกจดจำดีกว่ากัน แน่นอนว่าถ้าเรากินแต่อะไรเดิม ๆ เราอาจจะไม่ใส่ใจกับการกินอาหารถึงขนาดจำไม่ได้ว่าฉันกินของอ้วนมากไปหรือเปล่า กลับกันถ้าคุณอยากได้ประสบการณ์ดี ๆ จากการได้ลองสิ่งใหม่ ๆ มันจะทำให้คุณจำเหตุการณ์เหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นความประทับใจหรือไม่ก็ตาม ซึ่งการสั่งอาหารเดิม ๆ ไม่ใช่สิ่งที่ผิด ถ้าสิ่งเหล่านั้นดีต่อสุขภาพคุณอยู่แล้ว แต่ผมแค่จะเปรียบเปรยให้เป็นตัวอย่าง และอยากให้คุณผู้อ่านนำมาประยุกต์การใช้ชีวิตการทำงานของตัวเอง
• [เปลี่ยนสถานที่เพื่อกระตุ้นฮิปโปแคมปัส] ความจำเกลียดอะไรเดิม ๆ การเปลี่ยนสถานที่ก็สามารถช่วยให้คุณจำขึ้นได้ ผมขออธิบายก่อนว่า ฮิปโปแคมปัสนั้น ไม่ใช่สายพันธุ์ของฮิปโปแต่อย่างใด แต่เป็นชื่อของส่วนหนึ่งของสมองที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำของเราหรือรู้จักกันดีในชื่อ ความทรงจำระยะยาวนั้นเอง
• การเปลี่ยนสถานที่ไปนั่งร้านกาแฟตอนกลางวันหลังจากที่คุณทำงานตอนเช้าและรู้สึกเหนื่อย จะเป็นเหมือนการรีเช็ทความเหนื่อยให้คุณรู้สึกมีพลังงานในการทำงานมากขึ้น อยากให้ลองดูนะครับ
ภาพจาก unsplash.com
• [สนุกแล้วจะจำแม่น] การทำอะไรที่ทำให้เรารู้สึกจะสนุสมองจะหลั่งสารเอนโดรฟิน(สารแห่งความสุข)ออกมา และแน่นอนอารมณ์นี้มีผลต่อการจำเราแน่นอน การกำหนดเส้นตายเปรียบเสมือนเกม ถ้าเราเคลียร์เกม(งานของคุณ) เสร็จภายในเวลาที่กำหนด คุณก็จะสามารถได้รางวัล (การพักผ่อน) ทำให้คุณมีความสุขในการใช้ชีวิตมากขึ้นครับ
⭐️ 5. จำได้อย่างไร้ขีดจำกัด "เทคนิคจำด้วยโซเซียลเน็ตเวิร์ค"⭐️
• ผู้เขียนอธิบายว่า การที่เรามีอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันนั้นสามารถค้นหาข้อมูลได้ตลอดเวลา ต่างกับสมัยก่อนที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต คนสมัยนั้นเลยต้องเน้นการจำเป็นอย่างมากถ้าต้องการรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ แต่สมัยนี้เราสามารถ"จำอย่างไรขีดจำกัด" เพราะข้อมูลที่เราจำนั้นสามารถค้นหาได้รวดเร็วทันใจโดยอินเทอร์เน็ตและพวกเราทุกคนก็มีโทรศัพท์ส่วนใหญ่อยู่แล้ว
• [การจำได้ คือ การนึกออก] ผู้เขียนอธิบายว่า สมองของคนเรานั้นเลือกที่จะลบข้อมูลที่เข้าไปประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว แต่ก็ใช่ว่าข้อมูลเหล่านั้นจะหายไปซะทีเดียว ถ้ามีสิ่งแวดล้อมมากระตุ้นเราจะจำข้อมูลเหล่านั้นได้ ยกตัวอย่าง รูปถ่าย ถ้าเราดูรูปถ่ายเราจะจำได้ทันทีว่าถ่ายตอนไว้ตอนไหน ความรู้สึกเป็นอย่างไร ดังนั้นการที่เรานึกออกมาทันทีหลังจากที่เราดูรูป นั้นแหละเรายังสามารถจำได้อยู่
• ผู้เขียนอธิบายว่า การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนการจำแบบจำลองภายนอก คือ ถ้าเรานึกไม่ออก ก็แค่ค้นหาอินเทอร์เน็ตเปิดดูก็เท่านั้นเอง เป็นการใช้อินเทอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์ไปอีกด้วย
• [สิ่งที่สำคัญกว่าการจำในยุคนี้คือ 'การบันทึก' ]ซึ่งผู้เขียนได้อธิบายเกี่ยวกับการบันทึกที่ว่าไว้หลายหัวข้อ เช่น
• [ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ฉุกคิดแล้วรีบจด] ถ้าเป็นโลกของการทำงาน การที่เราจะหาข้อมูลอะไรสักอย่าง สามารถค้นหาจากอินเทอร์เน็ตได้ แต่ถ้าเป็นการเรื่องของความคิดเห็นส่วนตัว หรือความคิด ณ ขณะนั้นเราสามารถโพตส์ลงโซเซียลไว้ได้ เพื่อที่เราจะสามารถกลับมาเปิดดูเมื่อเราต้องการ
ภาพจาก unsplash.com
• [จดบันทึกก็สามารถทบทวนความจำได้] การที่เราอ่านหนังสือแล้วทำการขีดเส้นตายไปด้วยก็เปรียบเสมือนการทบทวนข้อมูลที่อ่านไปในตัว แถมถ้าเราฉุกคิดขึ้นมาได้ก็ให้รีบจดลงหนังสือเลย เมื่อต้องการนึกเนื้อหาในหนังสือ การจดของเราจะทำให้เรานึกออกได้ดีขึ้น
❤️ยิ่งนำออกมาเท่าใด ก็ยิ่งจำได้มากขึ้นเท่านั้น ข้อดีของการนำออก คือ
1. สามารถทำความเข้าใจสิ่งที่คิดได้อย่างเป็นกลาง
2. สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตัวเองได้อย่างที่ต้องการได้ง่ายขึ้น
3. สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ตัวเองได้อย่างไร้อคติ จึงพัฒนาตัวเองได้ง่ายขึ้น
4. สามารถทำให้คนอื่นเข้าใจว่าเราคิดอะไรอยู่
5. สามารถสื่อสารและมีอารมณ์ร่วมกับคนอื่นได้
6.ช่วยแปลงความคิดออกเป็นรูปธรรมได้ เช่น การเขียนหนังสื หรือบทความลงอินเทอร์เน็ต
❤️ใช้โซเซียลเน็ตเวิร์ค เป็นสมองที่สอง
ภาพจาก unsplash.com
• ใช้โซเซียลเน็ตเวิร์คเป็นฮาร์ดดิสพกพา การที่คุณได้เขียนหรือโพตส์ข้อมูลที่คุณได้ฉุกคิดหรือความคิดเห็นของคุณลงบนโซเซียลนั้น เปรียบเสมือนฮาร์ดดิส(อุปกรณ์เก็บข้อมูล) ที่คุณสามารถดึงข้อมูลออกมาใช้ได้
• เทคนิคการจำด้วยโซเซียลเน็ตเวิร์ค
1. ฝึกจำด้วยการเขียนบันทึกประจำวัน
• การเขียนบันทึกประจำวัน เป็นกิจกรรมที่ต้องบังคับให้เราต้องฝึก 'จัดระเบียบ' เปลี่ยนความรู้สึกเป็นถ้อยคำ และยังต้องหัด แต่งเรื่อง แต่ละอย่างล้วนส่งผลให้ความทรงจำฝั่งแน่น
• เขียนเรื่องดี ๆ ก็มีความสุขแล้ว มีการทดลองแล้วว่าแค่เขียนเรื่องดี ๆ หรือเรื่องเชิงบวกในบันทึกประจำวันเราก็มีความสุขแล้ว
2.เทคนิคการจำด้วยการมีปฎิสัมพันธ์
• ยิ่งมีปฏิกิริยาตอบสนองก็ยิ่งทำได้ต่อเนื่อง การส่งออกเป็นสิ่งที่สำคัญในการจำข้อมูลที่เราได้รับเข้ามา แต่การส่งออกที่ดีจะต้องส่งออกอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แต่ว่านาน ๆ ทำที ดังนั้นการที่คุณส่งออกโดยการโพตส์ลงโซเซียล ทำให้คุณได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น อาจมีคนเข้ามาดู หรือแสดงความคิดเห็น ซึ่งทำให้คุณสนุกสนานและกระตือรือร้นอยากทำต่อไปเรื่อย ๆ
3. เทคนิคการจำด้วยการให้คนอื่นเห็น
• เพิ่มประสิทธิภาพในการจำด้วยการคิดว่าจะ 'มีคนอ่าน' ถ้าเราเขียนอะไรไม่ดีลงไป อาจได้รับผลตอบรับแย่ ตัวเองอับอายหรือคอมเมนต์ดูไม่จืด เป็นการกดดันให้พยายามมากกว่าปกติไปในตัว
• ลองจิตนาการว่ามีคนเข้ามาอ่าน 50,000 คน ผู้เขียนอธิบายว่า การที่คิดแบบนี้ทำให้เกิดความเครียดที่กำลังพอดี ทำให้สามารถจับประเด็นได้ดีขึ้น และจำได้นานขึ้นด้วย
4. เทคนิคการจำด้วยการโพสต์รูป
• มนุษย์จะจำรูปถ่าย รูปภาพ ภาพประกอบหรือแผนภูมิ ได้มากกว่าตาเปล่า
• มีการทดลองพิสูจน์ให้เห็นว่า การใช้ภาพประกอบมาอธิบาย จะทำให้ผู้เข้าร่วมการทดลองจดจำเนื้อหาได้มากกว่าปากเปล่า 6 เท่า
5. เทคนิคการจำด้วยคลังความรู้
• การที่เรารับเข้าอย่าเดียวโดยไม่ส่งออกเลยจะทำให้เราลืมข้อมูลไปหรือข้อมูลที่รับเข้ามาเป็นข้อมูลขยะ แต่การที่เรารับเข้าและส่งออกเป็นประจำ ข้อมูลนั้นจะสร้างพื้นที่ที่เรียกว่า ‘คลังความรู้’ ขึ้นมา
• การที่เราจะเข้าสู่คลังความรู้นั้น ถ้าเรานึกไม่ออกว่าจะไปค้นหาข้อมูลที่เราเก็บไว้อย่างไง มันก็เหมือนเราจำอะไรไม่ได้เลย ดังนั้นการจัดระเบียบข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ
6. เทคนิคการจำด้วยสมดุลของข้อมูล
• ผู้เขียนอธิบายว่า ปกติแล้วคนเรามักจะชอบรับเข้ามากกว่าส่งออก แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบส่งออกมากกว่ารับเข้า ข้อมูลที่ส่งออกไปจะไม่ค่อยมีน้ำมีเนื้อซะเท่าใด
• ดังนั้นควรรักษาการรับเข้าและส่งออกให้พอดีกัน เพราะเราเน้นการพัฒนาตนเองมากกว่าการจดจำเนื้อหา
⭐️ บทที่ 6 เทคนิคเพิ่มเมมโมรีในสมอง⭐️
• สมองของมนุษย์สามารถจำข้อมูลได้ในปริมาณมหาศาล แต่ช่องทางรับเข้าข้อมูลมีอย่างจำกัด
• มนุษย์เราจะมีความจำที่เรียกว่า 'ความจำปฏิบัติการ' (Working Memory) ซึ่งก็คือความจำที่เอาไว้ใช้ คิด จำ ตัดสินใจ หรือเรียนรู้ ซึ่งจะจำข้อมูลนั้นเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ แล้วจากนั้นข้อมูลจะหายไป เช่น การบวกเลข 10 + 2 = 12 ถ้าเราไม่จำเลข 10 ที่ต้องเอามาบวกกับ 2 เราอาจจะหาคำตอบไม่ได้เลย เป็นต้น
• ถ้าเพิ่มเมมโมรีได้ประสิทธิภาพในการทำงานก็เพิ่มด้วยเช่นกัน
• ความจำปฏิบัติการเปรียบเสมือนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ถ้าเราเปิดโปรแกรมไว้หลาย ๆ โปรแกรมมันจะทำให้เครื่องช้าเพราะ RAM เต็ม ถ้าเราคิดหลาย ๆ อย่างพร้อมกันก็ทำให้เราไม่สามารถจำอะได้แม่นยำ
• หากอยากเพิ่มเมมโมรีให้สมอง คุณก็ไม่ควรคิดอะไรพร้อมกันหลาย ๆ เรื่อง
7 วิธีเพิ่มเมมโมรีสมอง
1. ไม่ทำอะไรหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน
• งานวิจัยทางประสาทวิทยาพบว่า สมองมนุษย์ไม่สามารถทำอะไรหลาย ๆ อย่างพร้อมกันได้ ถ้าทำพร้อมกันประสิทธิภาพจะลดลงเรื่อย ๆ
• ดังนั้นพยายามทุ่มเทเรื่องใดเรื่องไปหนึ่งไปแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเสร็จแล้วก็ค่อยเริ่มงานต่อไป จะเป็นวิธีที่ใช้สมองอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
• ในเรื่องของการฟังเพลงระหว่างการทำงาน การฟังเพลงส่งผลเสียต่อความจำและการทำความเข้าใจ แต่ส่งผลดีต่ออารมณ์ ความเร็วในการลงมือทำ และการออกกำลังกาย
2. เทคนิคการเขียนแล้วลืม
• เป็นวิธีขจัดความคิดฟุ้นซ่าน
• การใช้เทคนิคการเขียนสิ่งที่ผุดขึ้นมาในหัว เป็นนิสัยสมองจะไม่มีข้อมูลที่ไม่จำเป็น ทำให้เมมโมรีในสมองมีมากขึ้นและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ทำงานที่ยังไม่เสร็จให้เสร็จสมบูรณ์
• ปรากฎการณ์ซีการ์นิค เอฟเฟกต์ คือ ปรากฎการณ์ที่มนุษย์จะจดจำงานตลอดจนเหตุการณ์ยังไม่เสร็จสิ้นหรือถูกขัดจังหวะได้ดีกว่างานที่ทำเสร็จแล้ว
• การที่เราทำงานที่ค้างคาไว้ ทำให้เปลืองเมมโมรีของเราไปเปล่าประโยชน์ อาจทำให้เราการทำงานขณะปัจจุบันไม่มีประสิทธิภาพ
4. กฎ 2 นาที
• เป็นการทำงานที่ว่าใช้เวลาเพียงแค่ 2 นาทีก็สามารถเสร็จได้ อย่างเช่นการตอบอีเมล ถ้าเราเก็บอีเมลไว้ตอบคราวหลัง มักอาจจะรบกวนเมมโมรีสมองของคุณขณะทำงานได้ ดังนั้นสู้ตอบไปให้จบ ๆ ดีกว่า (ควรตอบเชิงว่าเรายุ่งด้วย เดี๋ยวคุยกันยาว)
5. ตัดสินใจโดยใช้กฎ 30 วินาที
• การพยายามตัดสินใจภายใน 30 วินาที เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและเมมโมรีในสมอง
• ในกรณีที่ตัดสินใจไม่ได้ ให้คุณกำหนดเวลาสำหรับการตัดสินใจเรื่องนี้อีกครั้งเพื่อไม่ให้สมองพะวงนึกถึงบ่อย ๆ
• มีคำถามที่ว่า ถ้าเราใช้เวลาน้อยแบบนั้นในการตัดสินใจ มันจะมีประสิทธิภาพเหรอ ? : มีการวิจัยที่พบว่า การที่เราตัดสินใจ 5 นาที กับ 30 นาที ผลลัพธ์แทบจะไม่ต่างกันเลย คุณผู้อ่านเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ในชีวิตประจำวันมั้ยครับ ไม่ซื้อดีกว่าพอวันพรุ่งนี้กลับซื้อ แทบได้ราคาที่แพงกว่าอีก
6. โต๊ะทำงานของคนเก่งมักเป็นระเบียบเรียบร้อย
• การที่โต๊ะทำงานรกนั้นเป็นผลทำให้สมองเกิดความคิดฟุ้นซ่านได้ เพราะของต่าง ๆ บนโต๊ะจะกระตุ้นความคิดของเรา ขณะทำงาน
• ผู้เขียนบอกว่า "คนที่สามารถสะสางและจัดระเบียบโต๊ะของตัวเองได้จะสะสางและจัดระเบียบข้อมูลในสมองได้" เป็นที่มาของคนเก่งที่มีโต๊ะทำงานเป็นระเบียบ
7. ควรปิดสมาร์ทโฟน บ้าง
• เวลามนุษย์จะรวบรวบสมาธิทำงานอะไรสักอย่างจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 15 นาที แต่ถ้าโทรศัพท์ดังก็รบกวนสมาธิแล้ว
• การที่คุณแค่เอาโทรศัพท์ใส่กระเป๋าเพื่อที่จะทำงานนั้น ก็ถือว่าเป็นการใช้เมมโมรีสมองไปแล้ว เพราะอาจเกิดการอยากเล่นตลอดเวลา หรือนึกว่าพักแล้วก็จะเล่นโทรศัพท์
• ดังนั้นถ้าเราต้องการสมาธิกับงานจริง ๆ ควรจะปิดโทรศัพท์ไปชั่วคราวดีกว่า และคุณควรทำงานให้ได้อย่างน้อย 50 นาที และพักสัก 5 -10 นาที เพราะเราสามารถใช้เวลาพักมาเช็คโทรศัพท์ได้ เพราะบางคนกลัวจะมีเรื่องคอขาดบาดตายถ้าไม่ได้เปิดโทรศัพท์เลย
❤️ว่าด้วยเรื่องการลืม
• การลืมไม่ใช่เรื่องไม่ดี
• เป็นเทคนิคที่เรียกว่า 'ปลดก่อนรับเข้า'
• การที่เราลืมจะช่วยให้เราซึบซับข้อมูลใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็วและทำงานได้ดีขึ้น
• การลืมเรื่องที่เราทำเสร็จสิ้นไปแล้วช่วยให้เมมโมรีในสมองมีพื้นที่สำหรับรับเข้าข้อมูลครั้งต่อไป
⭐️7. เทคนิคจำด้วยวิธีใช้ชีวิต⭐️
• การออกกำลังกาย
แค่ออกกำลังกาย สมองได้รับการกระตุ้นและช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
❤️10 ข้อดีของการออกกำลังกาย
ภาพจาก unsplash.com
1.เพิ่มเซลล์ประสาทในฮิปโปแคมปัสและเสริมความทรงจำระยะยาวให้ดีขึ้น
2.สมองยังคงเติบโตได้แม้เข้าสู่วัยชรา
3.การเรียนรู้ของเราจะดีขึ้น
มีงานวิจัยชี้ว่า การวิ่งบนลู่วิ่ง 35 นาที โดยอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 60-70 Heart rate จะทำให้การเรียนรู้ และความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหาของเรามีประสิทธิภาพมากขึ่น
4.หัวดีขึ้น
มีงานวิจัยระบุว่า นักเรียนที่มีคาบพละเป็นชั่วโมงแรกของการเรียนจะมีผลการเรียนดีขึ้น 17 เปอร์เซ็นต์
5.ความจำปฏิบัติการทำงานได้ดีขึ้น
6.ช่วยให้นอนหลับสนิท
7.เพิ่มความกระตือรือร้น
8.คลายเครียด
9.ป้องกันสมองเสื่อม
10.อารมณ์ดี
5 กิจกรรมป้องกันโรคสมองเสื่อม
1. ป้องกันไม่ให้เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรม
• โรคที่เกิดจากพฤติกรรมอย่างเช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูง
• ถ้าเป็นโรคเบาหวาน ความเสี่ยงในการเป็นอัลไซเมอร์จะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อมอีก 2-3 เท่า
2.ไม่สูบบูหรี่
• มีการนำคนที่สูบบูหรี่เป็นประจำกับคนที่ไม่สูบบูหรี่มาทดลองโดยใช้เวลา 20 ปีและค้นพบว่า คนที่สูบบูหรี่จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมกว่าคนปกติถึง 1.4 เท่าและพบว่าคนที่สูงบูหรี่มากถึง 40 มวนต่อวันโอกาสป่วยก็มากกว่า 2.1 เท่าเลยทีเดียว
3. บริโภคอาหารอย่างสมดุล
ไม่ใช่กินแค่แป้ง หรือเนื้อเพียงอย่างเดียว
ภาพจาก unsplash.com
4. นอนหลับอย่างมีคุณภาพและรู้จักการงีบหลับ
• มีการวิจัยพบว่า คนที่นอนหลับได้ไม่ดีมีความเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์สูงถึง 5 เท่า
• ศูนย์วิจัยด้านประสาทวิทยาและจิตเวชศาสตร์แห่งชาติบอกว่า การงีบหลับ ตอนกลางวันช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ 1 ใน 5
• การงีบหลับในช่วงกลางวันอย่านอนหลับเกินเวลา 30 นาที ไม่อย่างงั้นอาจทำให้ไม่หายง่วงมากกว่าเดิม เนื่องจากสมองจะเข้าสู่ช่วงหลับลึกและเรากลับตื่นทันทีทำให้สมองเตรียมตัวในการทำงานได้ช้า
5. ป้องกันสมองเสื่อมแบบ รวมหลายกระบวนท่า
• ได้มีการทำงานวิจัยเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคสมองเสื่อม บอกว่าวิธีที่ดีที่สุดคือการฝึกสมองด้วยการไขปริศนา
• มีการทำวิจัยโดยสังเกตกลุ่มทดลองชาวอเมริกันอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้น จำนวน 469 คน เป็นเวลา 4 ปี และพบว่าคนที่ชอบอ่านหนังสือ เล่นบอร์ดเกม เล่นดนตรีหรือเต้นรำบ่อย ๆ มีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมต่ำกว่าคนไม่ได้ทำกิจกรรมดังกล่าวถึง 76 เปอร์เซ็นต์
• ดังนั้นการจะ 'ป้องกัน' โรคสมองเสื่อมนั้นไม่ใช่ว่าทำอย่างเดียวแล้วจะป้องกันได้อย่างแน่นอน เราควรจะออกกำลังกายเป็นประจำ กินอาหารอย่างสมดุล อ่านหนังสือ ออกไปเจอผู้คน ใช้ชีวิตให้เอื้อต่อการกระตุ้นสมองให้มากที่สุด
ชื่อหนังสือ : เทคนิคจำแบบไม่ต้องจำที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ
เขียนโดย : คะบะซะวะ ชิอง
หมวดหมู่ : พัฒนาตนเอง
สำนักพิมพ์ : WeLearn
จำนวนหน้า : 312 หน้า
ราคา : 250 บาท
สามารถหาซื้อได้ร้านค้าหนังสือชั้นนำทั่วไป
ช่องทางการติดตามอื่น ๆ
เพจนี้จะนำความรู้มาเล่า สรุป ให้ได้อ่านกันนะครับอย่าลืมกดติดตาม❤️
โฆษณา