12 ก.ค. 2020 เวลา 03:04 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทำไมมนุษย์มีขนรอบๆอวัยวะเพศและรักแร้ ?
ตอนนี้ก็เป็นตอนที่ 4 ของเรื่อง ทำไมมนุษย์จึงเป็นลิงไม่มีขนแล้วนะครับ
ในตอนแรก เราคุยกันไปว่า มนุษย์ไม่มีขนตามตัวเหมือนลิงอื่นๆ เพราะจำเป็นต้องระบายความร้อน
ในตอนที่ 2 เราคุยกันว่า ที่เรายังมีขนบนหัว (ผม) เพราะผมทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี
ในตอนที่ 3 เราคุยกันไปว่า ที่ผู้ชายมีขนบนใบหน้า (หนวดเครา) เพราะมันทำให้ดูมีอำนาจ มีสถานะ
ในตอนนี้ซึ่งเป็นตอนที่ 4 เราจะไปหาคำตอบกันว่า ทำไมขนใต้รักแร้ ขนรอบๆอวัยวะเพศและรูก้น  จึงไม่หายไปพร้อมๆกับขนบริเวณอื่นๆของร่างกาย ?
หมายเหตุ : เนื้อหาผมย่อและเรียบเรียงใหม่จาก หนังสือเรื่องเล่าจากร่างกายและ 500 ล้านปีของความรัก ครับ
1
การที่ขนเหล่านี้ไม่หายไป มันเป็นการบอกเรากลายๆว่า ขนบริเวณนี้จะมีหน้าที่บางอย่าง
และไม่ใช่แค่มีหน้าที่บางอย่างเท่านั้น แต่หน้าที่นั้นจะต้องสำคัญต่อการสืบพันธุ์หรือส่งต่อพันธุกรรม มากพออีกด้วย
1.
คำถามคือ ขนสองบริเวณนี้ทำหน้าที่อะไร ?
ถ้าเรามาเริ่มต้นพิจารณาที่ลักษณะของขนสองบริเวณนี้
เราจะเห็นลักษณะบางอย่างที่น่าสนใจคือ ขนรักแร้และขนรอบๆอวัยะวะเพศจะหยาบ หนา มัน หงิกงอ และไม่ยาวเท่าผมที่อยู่บนหัว
ซึ่งลักษณะเหล่านี้ มันบอกเป็นนัยๆว่า ขนสองบริเวณนี้น่าจะทำหน้าที่บางอย่างที่ต่างไปจากผมบนศรีษะ
1
และที่น่าสนใจอีกข้อคือ ถ้าเราศึกษาขนรอบๆอวัยวะเพศของลิงไพรเมท เราจะพบว่า ขนรอบๆอวัยวะเพศของลิงทั้งหลายจะเส้นเล็กและนุ่มกว่าขนส่วนอื่นๆของร่างกาย
ซึ่งลักษณะนี้ตรงข้ามกับมนุษย์ซึ่งมีขนที่หยาบหนากว่าขนบริเวณอื่นๆของร่างกาย
2
การที่ขนรอบๆอวัยวะเพศของลิงมีลักษณะอ่อนนุ่ม มันสะท้อนให้เห็นถึงหน้าที่ของขนบริเวณนี้ คือ ช่วยลดการเสียดสีของผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศขณะผสมพันธุ์และเดิน ซึ่งเป็นบริเวณที่ไวต่อสัมผัสมากเป็นพิเศษ
2
คำถามที่น่าสนใจคือ ขนใต้รักแร้และขนรอบๆอวัยวะเพศของมนุษย์ทำหน้าที่อะไร ? ถ้ามันทำหน้าที่ลดการเสียดสี ลักษณะของขนก็น่าจะอ่อนนุ่มเช่นเดียวกับขนของลิง ไม่ใช่หยาบและหนาอย่างที่เป็นอยู่
1
อย่างไรก็ตามแม้ว่าขนรักแร้และขนบริเวณรอบอวัยวะเพศของมนุษย์จะหยาบและหนา แต่ก็สามารถลดการเสียดสีได้บ้างเมื่อเทียบกับผิวหนังเปล่าๆ
แต่เราก็รู้กันดีว่า ขนของสองบริเวณนี้ไม่ได้สำคัญขนาดนั้น เพราะคนที่โกนขนรักแร้และขนรอบๆอวัยวะเพศ ก็ไม่ได้มีปัญหาในการดำรงชีวิต ไม่มีปัญหาในการสืบพันธุ์หรือส่งต่อพันธุกรรมอะไร
4
ดังนั้นขนของสองบริเวณนี้จึงไม่น่าจะถูกคัดเลือกมาเพราะมันช่วยลดการเสียดสีของผิวหนัง
3
คำใบ้แรกมาจากการที่ขนสองบริเวณนี้ไม่ได้มีตั้งแต่เราเกิด แต่เริ่มขึ้นเมื่อเราเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์
1
คำใบ้ที่สองมาจากลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งของสองบริเวณนี้คือ ทั้งสองบริเวณนี้ มีกลิ่นแรง
2
2.
เรามาคุยกันที่คำใบ้แรกกันก่อนครับคือ ขนสองบริเวณนี้ขึ้นเมื่อเราเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์
2
การที่ขนเหล่านี้เริ่มขึ้นเมื่อเราเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์มันบอกใบ้เราว่า ขนเหล่านี้อาจจะรอเวลาที่ต้องทำงาน มันจึงค่อยๆงอกขึ้นมาเหมือนอวัยวะที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์อื่นๆ
1
เป็นไปได้ไหมที่ขนเหล่านี้มันจะทำหน้าที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ อะไรซักอย่าง?
คล้ายๆกับหน้าอก สะโพกและ ประจำเดือน ในผู้หญิง
หรือคล้ายๆการผลิตอสุจิ การมีกล้ามเนื้อในผู้ชาย
3
มาดูลักษณะที่สองกันบ้างคือ บริเวณใต้รักแร้ และรอบๆอวัยวะเพศมีกลิ่นแรง
เราคงต้องไปเริ่มต้นกันที่คำถามว่า กลิ่นตัวของมนุษย์หรือสัตว์เลี้ยงลูกอื่นๆมาจากไหน ? 
ทำไมเราจึงมีกลิ่น และกลิ่นตัวทำหน้าที่อะไรหรือไม่ ?
1
แหล่งของกลิ่นในนร่างกายคนนั้น หลักๆมาจากต่อมบนผิวหนังสองชนิดด้วยกัน 
ต่อมทั้งสองนี้มีชื่อเรียกว่าต่อม เซบาเชียส (sebaceous gland) และต่อมเอโปคริน (apocrine gland)
ในภาษาทั่วไปเรานิยมเรียกต่อเซบาเชียสว่าต่อมไขมัน 
ส่วนเอโปคริน เป็นต่อมเหงื่อชนิดหนึ่ง (ต่อมเหงื่อมีสองชนิดที่ต่างกัน)
1
โดยทั่วไปต่อเซบาเชียสหรือต่อมไขมันจะพบได้ตามผิวหนังทั่วร่างกาย มากน้อยต่างกันไปในแต่ละบริเวณ เช่น รอบๆจมูก ซอกคอจะพบได้มาก ส่วนฝ่ามือฝ่าเท้า จะไม่มีต่อมนี้อยู่เลย
สารที่ออกมาจากต่อมนี้จะเป็นพวกไขมัน ที่มีชื่อเรียกว่า ซีบัม (sebum ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดสิว) 
เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นร่างกายจะสร้างซีบัมเพิ่มขึ้น ทำให้วัยรุ่นมีกลิ่นตัวที่แรงขึ้น
2
แต่ต่อเซบาเชียสก็เป็นเพียงแค่ส่วนเล็กๆของกลิ่นเราเท่านั้น กลิ่นของเรายังมาจากต่อที่ชื่อเอโปคริน ด้วย
1
ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ต่อมเอโปครินนี้จะพบได้ทั่วตัวและทำหน้าที่สร้างสารฟีโรโมน ที่ใช้ดึงดูดเพศตรงข้ามด้วย
จุดที่น่าสนใจซึ่งอาจจะเป็นคำใบ้สำคัญอยู่ตรงนี้ครับ
ถ้าถามว่า ต่อเอโปครินในมนุษย์พบได้ที่ไหนบ้าง ? 
เราจะพบว่าต่อมเอโปครินในมนุษย์จะพบรวมตัวอยู่มากไม่ก่ีที่เท่านั้น ไม่ได้พบทั่วตัวเหมือนสัตว์อื่นๆ
 
ลองนึกภาพตามไปกันช้าๆ นะครับ ผมจะพาไล่สํารวจตำแหน่งของเอโพครินจากบนไล่ลงไปถึงด้านล่างของร่างกายกัน
3
เริ่มจากบริเวณ หน้าผาก รอบเปลือกตา รอบจมูก รอบๆ ริมฝีปาก หลังหู บริเวณรักแร้ หัวนมและรอบๆหัวนม รอบๆสะดือบริเวณรอบๆ อวัยวะเพศ ขาหนีบ และรอบรูทวาร...
1
นึกตามแล้ว พอจะเห็นความน่าสนใจของบริเวณเหล่านี้บ้างไหมครับ? 
ใช่ครับ ตำแหน่งเหล่านี้เป็นตำแหน่งที่กระตุ้นสัมผัมทางเพศได้ค่อนข้างดี
2
เป็นตำแหน่งที่มนุษย์เรานิยมใช้จมูกหรือปากสำรวจบริเวณเหล่านี้กันเวลาที่มีเพศสัมพันธ์
2
3.
เราอาจจะไม่รู้ตัวกัน แต่มนุษย์จัดเป็นสัตว์ที่มีกลิ่นตัวแรงอันดับต้นๆในหมู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหลาย 
ที่เป็นเช่นนั้นเพรามนุษย์เราเป็นหนึ่งในสัตว์ท่ีมีต่อมเอโปครินมากท่ีสุด
1
จุดที่เป็นคำใบ้สำคัญอีกอย่างคือ ตำแหน่งที่มีขนเส้นใหญ่ๆ หยิกๆมันๆ  มักจะเป็นตำแหน่งที่มีต่อมเอโปครินมาก
เพื่อให้เข้าใจตรงนี้ ต้องเข้าใจการทำงานร่วมกันของขน ต่อมเหงื่อ และต่อมไขมันกันก่อน
ต่อมทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเซบาเชียส ต่อมเหงื่อทั้งประเภทเอโปคริน และต่อมเหงื่อที่สร้างเหงื่อ(แบบไม่มีกลิ่น) ต่างก็จะมีรูเปิดที่โคนของเส้นขนหรือใกล้เคียงเส้นขนทั้งสิ้น  ซึ่งเหตุผลก็ตรงไปตรงมา คือ ขนและต่อมทำงานร่วมกัน
ไขมันจากต่อมไขมันจะทำหน้าที่ช่วยเคลือบเส้นขน ให้มันเงา ไม่แห้งกรอบและไม่เปียกน้ำได้ง่าย 
ส่วนเหงื่อ(ที่ไม่มีกลิ่น)จากต่อมเหงื่อ ซึ่งมีหน้าที่ระบายความร้อนให้กับร่างกาย เมื่อเปิดที่โคนเส้นขนจะทำให้น้ำเหงื่อสามารถไหลจากโคนเส้นขนไปถึงปลายเส้นขน แล้วระเหยออกไปจากผิวหนังได้ง่ายขึ้น
3
เช่นเดียวกัน ขน ก็อาจจะช่วยให้กลิ่นจากต่อเอโปครินกระจายออกไปในอากาศได้ดียิ่งขึ้นด้วย
และยิ่งถ้าเป็นขนที่เส้นใหญ่ หนา และหยิก ก็จะยิ่งมีพื้นที่ผิวให้ของเหลวงเกาะและแพร่กระจายกลิ่นได้ดียิ่งขึ้น
เมื่อรวมจิ๊กซอว์ทั้งหมดเข้าด้วยกันจะเห็นว่า
เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธ์ ต่อมเอโพครีนก็เริ่มทำงานเพิ่มขึ้น พร้อมๆกับที่ขนบริเวณรักแรกและรอบอวัยวะเพศที่งอกออกมา และเพื่อให้ขนเหล่านี้ทำหน้าที่กระจายกลิ่นได้ดียิ่งขึ้น ขนเหล่านี้จึงวิวัฒนาการมามีลักษณะที่ต่างไปจากขนบริเวณอื่นๆของร่างกาย คือ เป็นขนที่เส้นใหญ่ หนาและหยิก
4.
คำถามถัดไปคือ แล้วกลิ่นเหล่านี้มันเกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์อย่างไร ?
จริงๆคำตอบของคำถามนี้ผมเคยเขียนถึงไปบ้างแล้วในหัวข้อ "ทำไมมนุษย์เราจูบ ?”
แต่สรุปอย่างย่อๆ คือ กลิ่นมัน “อาจจะ” ช่วยบอกว่าพันธุกรรม ของเรากับของเขา ใกล้เคียงกันมากน้อยแค่ไหน
โดยปกติในธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตต่างๆจะพยายามเลี่ยงการผสมพันธุ์กับอีกสิ่งมีชีวิตที่มีพันธุกรรมใก้ลกันเกินไป
เพราะพันธุกรรมใกล้กันเกินไป อาจมีการสะสมของพันธุกรรมที่ไม่ดีเพิ่มขึ้นได้
2
ต้นไม้ก็อยากจะผสมกับต้นอื่นที่อยู่ไกลๆออกไป จึงออกแบบให้เกสรปลิวไปตามลมไกลๆ
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ก็จะมีการดมกลิ่นคู่ผสมพันธุ์ก่อน 
ถ้าพันธุกรรมใกล้กันมากไป ก็มีแนวโน้มจะอยากผสมพันธุ์ด้วยน้อยลง เป็นต้น
2
ขณะเดียวกัน สิ่งมีชีวิตทั้งหลายก็พยายามจะเลี่ยงที่จะผสมพันธุ์กับสิ่งมีชีวิตที่กลิ่นต่างกันมากเกินไปด้วย
เพราะถ้าต่างกันมาก ก็อาจจะหมายถึง เป็นคนละสปีชีส์กัน
1
การประเมินพันธุกรรมของคู่ที่จะผสมพันธุ์ด้วย จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ
เพราะถ้ามีลูกกับคู่ที่พันธุกรรมใกล้กัน จนเกินไป
ลูกมีโอกาสที่จะไม่แข็งแรง พันธุกรรมอ่อนแอ ติดเชื้อ หรือป่วยตาย โดยไม่สามารถส่งต่อพันธุกรรมได้
3
จึงไม่น่าแปลกใจที่ธรรมชาติจะให้กลไก (สัญชาตญาน) ในการเลือกคู่กับสัตว์ต่างๆเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ผสมพันธุ์กับญาติใกล้ชิด
2
เมื่อเรากลับมามองที่ร่างกายและพฤติกรรมของมนุษย์
เราก็จะเข้าใจร่างกายและพฤติกรรมต่างๆของเรามากขึ้น
1
ขนรักแร้ ขนรอบอวัยวะเพศ ซึ่งทุกวันนี้เราโกนทิ้ง เคยเป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยในการเลือกคู่มาก่อน
ในโลกยุคหินที่ไม่มีใครรู้จักสิ่งที่เรียกว่าพันธุกรรม ไม่มีใครรู้ว่ามีลูกกับญาติใกล้ชิดจะไม่ดี มนุษย์เราใช้สัญชาตญานในการเลือกคู่
กลิ่นก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะช่วยในการเลือกคู่ พฤติกรรมทางเพศที่เราชอบจูบ หอม หลายๆจุดในร่างกายของเพศตรงข้าม ก็เป็นสัญชาตญานที่ช่วยประเมินพันธุกรรมของเขาหรือเธอ
2
การใช้กลิ่นในการเลือกคู่ของมนุษย์จึงไม่ต่างไปจากการเลือกคู่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค้างคาง ลิงต่างๆ ซึ่งชอบดมอวัยวะเพศ ดมฉี่ ของเพศตรงข้าม (เพื่อประเมินว่าตกไข่หรือยัง และประเมินพันธุกรรม)
ก่อนจะจบเรื่องที่คุยกันในวันนี้ ผมเชื่อว่า หลายท่านอาจจะกำลังสงสัยว่า ถ้าอย่างนั้นแปลว่าเราไม่ควรจะโกนขนหรือเปล่า ?
2
คำตอบคือ ถ้าอยากโกนก็โกนไปเถอะครับ เพราะการใช้กลิ่น ใช้ขน ในการเลือกคู่นี้ เป็นสัญชาตญานที่ถูกคัดเลือกมาตั้งแต่เรายังเป็นมนุษย์ยุคหิน ยังไม่มีสบู่ใช้ ไม่มีน้ำหอมใช้ และยังไม่ใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด (ทำให้อับชื้นตามซอกหลืบต่างๆ)
ทุกวันนี้เราสามารถใช้วิธีการอื่นๆในการตรวจสอบว่าคนที่เราจะนอนด้วยมีพันธุกรรมใกล้เคียงกับเราหรือเปล่ามากมาย เช่น ดูนามสกุล หรือโทรถามปู่ย่าตายาย ว่าเขาหรือเธอคนนั้น เป็นญาติของเราหรือเปล่าก่อนจะมีอะไรกัน แค่นี้เราก็สามารถได้คำตอบโดยไม่ต้องพึ่งการดมกลิ่นแล้วครับ
1
และทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวของ ขนรักแร้ และขนรอบๆอวัยวะเพศ ครับ
1
(ปิดท้ายด้วยโฆษณา)
ถ้าอยากให้ไลน์แจ้งเตื่อนเมื่อผมโพตส์บทความใหม่ ก็สามารถแอดไลน์ได้โดยการคลิกที่นี่เลยครับ https://lin.ee/3ZtoH06
หรือ Line: @chatchapol
3
ถ้าชอบวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับร่างกายแบบนี้
แนะนำอ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ Bestseller ของผมเองหลายเล่มเช่น
เรื่องเล่าจากร่างกาย เหตุผลของธรรมชาติ และ 500 ล้านปีของความรักเล่ม1-2
สามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้จากลิงก์ด้านล่างครับ
อ่านบทความแนวประวัติศาสตร์ได้ที่
คลิปวีดีโอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
โฆษณา