12 ก.ค. 2020 เวลา 09:41 • ความคิดเห็น
บทความ
สวมใส่ผ้าไทยกันเถอะ
วิกฤติโควิด 19 ส่งผลสะเทือนราวฝีเสื้อกระพือปีก ทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบ อย่างเสมอภาค ไม่เลือกประเทศยากจน หรือ มหาอำนาจทางเศรษฐกิจและสังคม ของโลกก็มีผลกระทบเช่นกัน ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว การจ้างงาน หยุดลง เพราะทุกภาคส่วนต่างล็อกดาวส์ ปิดบ้านปิดเมืองเอาตัวรอดกันไปก่อน เอาชีวิตรอดก่อน ค่อยว่ากันเรื่องปากเรื่องท้อง สถานการณ์แบบนี้ คือสัญญาณเตือนที่ว่า มนุษย์ไม่ได้ยิ่งใหญ่ กว่าธรรมชาติกว่าสรรพสิ่งใด ๆ ดังนั้น วิกฤติครั้งนี้ จึงบอกเราว่า การพึ่งพาตนเองคือคำตอบ เราต้องพึ่งพาตนเอง ให้ได้มากที่สุด ในทุก ๆ มิติ โดยเฉพาะการพัฒนาประเทศต้องมุ่งเน้นไปที่ การสร้างความเข้มแข็งจากภายใน สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้ขยายตัว เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ จากชุมชน
สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือ การสนับสนุนสินค้าไทย ท่องเที่ยวไทย กินของไทย ใช้ของไทย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการขยายตัว โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ชุมชน ภูมิปัญญาไทย
การพัฒนาผ้าไทย จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจสนับสนุนให้มีการขยายตัว เพื่อสร้างรายได้ ให้แก่ชุมชน
ใส่ผ้าไทย
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 มีมติ ให้หน่วยงานราชการทุกภาคส่วน และประชาชนทุกภาคส่วน ร่วมกันรณรงค์การสวมใส่ผ้าไทย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วัน ตลอดจนให้มีการวบรวมองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ผ้าไทยในทุกมิติ เผยแพร่สู่สาธารณะ ให้ประชาชนรับรู้ในวงกว้าง มากขึ้น โดยมีเป้าหมายสำคัญ เพื่อให้เกิดการสวมใส่ผ้าไทย กระตุ้นให้ผู้ผลิตผู้ประกอบการ ผ้าไทยมียอดขายเพิ่มขึ้น เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ เศรษฐกิจฐานรากเกิดการขยายตัว
แนวทางในการพัฒนา และขับเคลื่อนการ สวมใส่ผ้าไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของทางรัฐบาล มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
1) การสื่อสารการสร้างการรับรู้
การสื่อสารสร้างการรับรู้ เป็นเรื่องที่สำคัญ ที่ต้องสร้างความตระหนักร่วม และเห็นความสำคัญ ของผ้าไทย ให้หน่วยงานราชการทุกภาคส่วนมีความเข้าใจ ในแนวคิดและวัตถุประสงค์ของดำเนินงาน โดยบูรณาการทุกภาคส่วนเข้ามาขับเคลื่อนทุกภาคีเครือข่าย อาทิ ภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม ภาครัฐ และกำหนดเป้าหมายร่วมกันในการทำงาน แบ่งบทบาทหน้าที่ ให้มีความชัดเจน ว่าจะมีแนวทางการหนุนเสริมงาน กันอย่างไร
2) จัดตั้งกลไกการทำงาน ในแต่ละระดับ โดยบูรณาการ ความร่วมมือทุกภาคส่วนให้เข้ามามีบทบาท ในการสนับสนุนส่งเสริมการสวมใส่ผ้าไทย ในทุกระดับ และวางแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนงาน อย่างเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน อย่างเป็นระบบ
3) จัดทำเวที บันทึกตกลงสร้างความเข้าใจ ในการทำงานร่วมกัน
จัดเวทีลงนาม บันทึกข้อตกลง สร้างความเข้าใจ และความร่วมมือ ในการ ขับเคลื่อนงาน สืบสานผ้าถิ่นไทยให้คงไว้ในแผ่นดิน สืบสานรักษา ต่อยอด ส่งต่อมรกทางวัฒนธรรมผืนผ้าสู้เด็ก เยาวชน และลูกหลาน ตลอดจนประกาศระเบียบวาระของอำเภอ ให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกัน จนเกิดผลสำเร็จ
4 ) การขับเคลื่อน การสืบสานผ้าถิ่นไทย ให้คงไว้ในแผ่นดิน โดยมีแนวทาง และมาตรการ ในการดำเนินการในมิติต่าง ๆ ดังนี้
4.1 ) ผู้นำต้องทำก่อน เป็นต้นแบบในการสวมใส่ผ้าไทย ให้ผู้นำระดับหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่นท้องที่ กำนันผู้ใหญ่บ้าน สตรี กองทุนหมู่บ้าน และเครือข่ายภาคประชาชน เป็นBrand Ambassdor ในการสวมใส่ผ้าไทย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วัน
4.2 ) ค้นหา พัฒนา สืบสานผ้าอัตลักษณ์ของพื้นที่
โดยสนับสนุน ให้มีการรวบรวม ผ้าไทยในพื้นที่ต่าง ๆ เป็นทะเบียนฐานข้อมูล ของพื้นที่ และวิเคราะห์ เพื่อค้นหาแนวทาง ในการพัฒนา ต่อยอดผ้าในด้านต่าง ๆ ใหครบวงจร ทั้ง การพัฒนาผืนผ้า ที่มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ให้มีความทันสมัย
4.3) การรณรงค์สร้างกระแสการสวมใส่ผ้าไทย จนเป็นวัฒนธรรม
ประกาศนโยบาย ระดับอำเภอให้หน่วยงานราชการ ภาคประชาชน สวมใส่ผ้าไทยอย่างน้อยสัปดาห์ล่ะ 2 วัน เพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมการสวมใส่ผ้าไทยร่วมกันของอำเภอ นอกจากนั้นยังสนับสนุนการ จัดแสดง และจำหน่ายผ้าไทย ในงานสำคัญ ๆ ของอำเภอ เช่น งานเทศกาลประจำปี งานวันประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน งาน OTOP ในพื้นที่เป็นต้น
การประกวดผู้สวมใส่เสื้อไทยดีเด่นในระดับบุคคล และระดับหน่วยงาน เพื่อเชิดชูเกียรติ และการถ่ายภาพสื่อสารสาธารณะ เป็นต้น
4.4 ) การจัดตั้งกลุ่ม Line และกลุ่มเฟสบุค เช่น สวมใส่เพื่อไทย สืบสานมรดกทางวัฒนธรรมสู่ลูกหลาน แบะสร้างความมั่นคงทางด้านเครื่องนุ่งห่ม ของชุมชน เพื่อเป็นสื่อกลาง เป็นแกนกลาง ในการประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความตื่นตัวในชุมชน
5) การติดตามผล และสรุปบทเรียน การทำงาน
คณะทำงาน และกลไกการทำงาน ในแต่ละระดับ ร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา โดยให้ ผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับ ร่วมกันสะท้อนผลการทำงาน ในระยะที่ผ่านมาว่า มีความสำเร็จ อย่างไร ล้มเหลวอย่างไร และปรับแผนการทำงาน ให้สามารถบรรลุเป้าหมาย และเดินทางไปสู่ความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่กำหนด
จากมาตรการดังกล่าว เป็นแนวทางการ ส่งเสริมสนับสนุน การขับเคลื่อน มติคณะรัฐมนตรี การสวมใส่ผ้าไทย ไปสู้ความสำเร็จ ดังนั้นในฐานะพัฒนาการอำเภอ มีบทบาทหน้าที่ ในการ ส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน บูรณาการ ความร่วมมือ กับทุกภาคส่วน
ขับเคลื่อนงาน เพื่อบรรลุเป้าหมาย ให้เกิดการกระตุ้นการสวมใส่ผ้าไทย กระตุ้นให้ผู้ผลิตผู้ประกอบการ ผ้าไทย ให้มีการสร้างงานสร้างรายได้สร้างอาชีพ เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดการขยายตัว ต่อไป
โฆษณา