17 ก.ค. 2020 เวลา 01:45 • สุขภาพ
ทานมื้อเช้า สำคัญจริงหรือ......
เรื่องจริงหรือแค่มโนไปเอง.......
วันนี้กินข้าวเช้ากันหรือยังครับ ??? เรื่องเล่าเม้าท์ไปเรื่อยอยากจะมาเล่าเรื่อง”มื้อเช้า” ให้ทุกคนเข้าใจ
คำถามนี้น่าจะได้ยินกันบ่อยๆ หลายคนอาจยอมรับว่าไม่ได้ทานข้าวเช้า ด้วยความเร่งรีบของชีวิตในปัจจุบัน ที่เร่งจะฝ่ารถติดไปเรียนหรือไปทำงานให้ทัน
ว่าแต่การทานหรือไม่ทานอาหารเช้าอันไหนจะดีกว่ากันล่ะ ??!!!
จากผลสำรวจพฤติกรรมการกินอาหารเช้าโดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัยในปี 2555 จำนวน 220 ตัวอย่าง พบว่า
- ร้อยละ 88.2 เป็นกลุ่มวัยทำงานอายุระหว่าง 20 -60 ปี ซึ่งกินอาหารเช้าเป็นประจำ
- ร้อยละ 59.55 กินอาหารเช้าเกือบทุกวัน
- ร้อยละ 24.09 ไม่ได้กินอาหารเช้า
เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศชายและเพศหญิง พบว่าเพศชายกินอาหารเช้าทุกวันมากกว่าเพศหญิง คือ ร้อยละ 64ในขณะที่เพศหญิงร้อยละ 57.24
ส่วนใหญ่กินข้าวเป็นอาหารเช้าเป็นประจำร้อยละ 50.45 และดื่มชา กาแฟ แทนข้าว ร้อยละ 25 รองลงมา คือนมจืดพร่องมันเนย ร้อยละ 13.64
สาเหตุส่วนหนึ่งที่กลุ่มวัยทำงานไม่ได้รับประทานอาหารเช้า คือการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบ กลัวจะไปทำงานไม่ทัน
แล้วการทานอาหารเช้ามีผลดีมากกว่าจริงๆไหม......
1. เมื่อปี 1985 เพื่อวิเคราะห์นิสัยในการรับประทานอาหารเช้าของผู้ที่มีอายุ 9- 15 ปี พบว่า ผู้ที่ไม่รับประทานอาหารเช้า (ในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่นั้น จะเกิดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการเผาผลาญและหัวใจ โดยมีรอบเอวที่ใหญ่กว่า มีระดับฮอร์โมนอินสุลินในขณะอดอาหารที่สูงกว่า และมีระดับของแอลดีแอล หรือ ลิโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (low-density lipoprotein, LDL) ตลอดจนโคเลสเตอรอลที่สูงกว่ากลุ่มที่รับประทานอาหารเช้า
2. การวิจัยจากสมาคมแพทย์โรคหัวใจในอเมริกาเมื่อปี 2003 พบว่า การรับประทานอาหารเช้าอย่างสม่ำเสมออาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมองและโรคหัวใจได้ด้วย เพราะในตอนเช้าเลือดของเรามีความเข้มข้นสูงและทำให้เส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงสมอง หรือหัวใจอุดตันได้ แต่ถ้ารับประทานอาหารเช้าเข้าไปจะช่วยให้ระดับความเข้มข้นในเลือดเจือจางลง
3. Harvard Medical School ยืนยันผลวิจัยทางการแพทย์ที่ว่า หญิงหรือชายที่กินอาหารเช้าทุกวัน มีแนวโน้มที่จะอ้วนยากกว่าคนที่งดอาหารเช้า
4. มีการศึกษาของ Maki และคณะ ตีพิมพ์บทวิจัยในวารสาร Advanced in nutrition ปี 2016 พบว่าผู้ที่ทานอาหารเช้าเป็นประจำ สามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและโรคเมตาบอลิซึมได้มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ทานอาหารเช้า
5. มีการศึกษาจากมหาวิทยาลัยไอโฮว่า ในปี 2011 พบว่าผู้ที่ไม่ได้ทานอาหารเช้า มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด มากกว่าคนที่ทานอาหารเช้าเป็นประจำ ถึง 1.8 เท่า
6. มีงานวิจัยของ Food Research & Action Center พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างความไม่มั่นคงทางอาหาร (Food Insecurity) และพฤติกรรมของเด็กนักเรียนเอาไว้น่าสนใจมากๆ คือ เด็กที่ได้ทานอาหารไม่ครบ 3 มื้อ หรืออดมื้อกินมื้อ ทำให้เด็กๆ มีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลได้ไม่ดีนัก แล้วยังรวมไปถึงการควบคุมตัวเอง การตอบสนองต่อแรงกดดันจากเพื่อนๆ แถมมักจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการทะเลาะวิวาทและลงไม้ลงมือ มากกว่าเด็กที่ไม่ได้หิวถึง 7 เท่า
7. คนที่ไม่ได้ทานอาหารเช้า มีโอกาสที่ลงพุง และน้ำหนักเกินมาตรฐาน มากกว่าคนที่ทานอาหารเช้า 1.4 เท่า ( Southwest Medical University, Luzhou 2019)
8. ผู้หญิงที่งดมื้อเช้า มีโอกาสเกิดนิ่วในถุงน้ำดีมากกว่าคนที่ทานมื้อเช้า ( capron 1981 )
9. มีการทดลองแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม
- กลุ่มแรกให้ทานมื้อเช้า
- กลุ่มที่สองไม่ได้ทานมื้อเช้าแต่ทั้งมือเที่ยงและมื้อเย็นให้ทานเหมือนกัน ทั้งสองกลุ่ม
1
ปรากฏว่ากลุ่มที่ไม่ได้ทานมื้อเช้ามีปริมาณน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงกว่ากลุ่มที่ทานเช้า และควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีเลย
เห็นแบบนี้ ทุกคนคงต้องรีบทานมื้อเช้ากันแล้วล่ะ เพื่อสุขภาพที่ดีของเราเอง......
รักและปรารถนาดีจาก “เรื่องเล่าเม้าท์ไปเรื่อย”.....
โฆษณา