15 ก.ค. 2020 เวลา 17:08 • หนังสือ
ร า โ ซ ม่ อ น
🧡 R A S H O M O N 🧡
ต้นเหตุของเรื่องทั้งหมดเริ่มต้นด้วยการที่อะคุตะงะวะเขียนประโยคที่ว่า "เรื่องเกิดขึ้นในตอนพลบค่ำของเย็นวันหนึ่ง ชายคนใช้ของซามูไรผู้หนึ่งหลบฝนอยู่ใต้ประตูราโชมอน..." นั่นคือ ราโชมอน (1914)
แต่ให้หลังกว่า 8 ปี ประโยคที่ทำให้ผู้อ่านตื่นตระหนกยิ่งขึ้นคือ "คำให้การของคนตัดไม้ต่อเจ้าหน้าที่พิทักษ์เมือง" นั่นคือ ในป่าละเมาะ (1922)
เรื่องเล่าของทั้งสองเรื่องสั้นมีประเด็นน่าสนใจจนพาลให้เรื่องราวทั้งสองผูกโยงกัน จนกลายเป็นตราประทับที่เรียกกันติดปากว่า 'ปรากฏการณ์ราโชมอน'
ปรากฏการณ์ของ 'หนึ่งความจริง' แต่ 'หลายความหมาย'
ปรากฏการณ์ของ 'หนึ่งความจริง' แต่ 'หลายการตีความ'
กล่าวได้ว่า มันคือคำถามต่อความจริงที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว! ไม่มีเทค ไม่มีการถ่ายทำใหม่ ไม่มีการอีดิดแก้ไขขัดเกลา แต่ทำไม การรับรู้และความเข้าใจในความจริงชุดนั้นจึงต่างกันราวขาวกับดำ...ทำไม?
'ปรากฏการณ์ราโชมอน' จึงไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องสั้นสองเรื่องของนักเขียนนามอุโฆษชาวญี่ปุ่นเท่านั้น
หากเป็นการส่งผลสะเทือนต่อสำนึกในการรับรู้ความจริงของมนุษย์ และเป็นการพิสูจน์มาตรวัดทาง 'หลักการ' ว่า มนุษย์ที่มีหัวใจที่แท้ จะใช้การชั่ง ตวง วัด แบบไหนต่อปรากฏการณ์ที่อยู่ตรงหน้า
┉ ┈ ┉
😊🧡😊🧡😊🧡😊🧡😊🧡😊🧡😊🧡😊🧡😊🧡
โฆษณา