17 ก.ค. 2020 เวลา 04:52 • สุขภาพ
ซีรีส์ 18+
Ep. 16 หด .. เกร็ง
ภาพโดย คนไทยตัวเล็กเล็ก
วันนี้เป็นวันศุกร์สุดสัปดาห์ เวลาแต่ละวันผ่านไปเร็วมากเหมือนติดปีกเลยนะคะ คุณรู้สึกเหมือนกันมั๊ยคะ 🙂
1
วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ คุณอาจมีเวลาทำกิจกรรมส่วนตัวบ้าง ฉันเลยขอเสนอสาระเบา ๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บจากการ “หดเกร็ง” ของกล้ามเนื้อมาฝากค่ะ
การหดเกร็งของกล้ามเนื้อ สามารถเกิดกับกล้ามเนื้อได้หลายส่วน ทั้งที่เป็นกล้ามเนื้อลาย เช่น กล้ามเนื้อน่อง ต้นขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือกล้ามเนื้อเรียบ เช่น ทางเดินอาหาร
1
🔶️ ถ้าเกิดกับกล้ามเนื้อลาย หรือที่เราเรียก “เป็นตะคริว” มักเกิดอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน
สาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง
▶️ การขาดน้ำ น้ำถือเป็นยาวิเศษที่ราคาถูกที่สุดค่ะ
▶️ ภาวะเกลือแร่ไม่สมดุล อาจมาจากการเสียเหงื่อมาก จากการออกกำลังกาย หรือท้องเสีย
▶️ กล้ามเนื้ออ่อนล้า จากการออกกำลังกายมากเกินไป หรือการบาดเจ็บ
▶️ กล้ามเนื้ออ่อนแอและไม่ยืดหยุ่นเพราะขาดการออกกำลังกาย ตรงกันข้ามกับข้อที่ผ่านมาเลยค่ะ
▶️ กล้ามเนื้อขาดเลือด เช่นในกรณีที่หักโหมออกกำลังกายหนักโดยไม่มีการอบอุ่นร่างกายให้เหมาะสม
▶️ ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว
▶️ ความเจ็บป่วยจากโรคไตและไทรอยด์
▶️ ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาขยายหลอดลม ยาลดความดันโลหิต ยาขับปัสสาวะ
2
แล้วจะมีวิธีรับมือกับอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งได้อย่างไร
1
👉 หยุดกิจกรรมที่ทำอยู่ขณะนั้น แล้วลองบีบนวดกล้ามเนื้อบริเวณที่เริ่มมีอาการหดเกร็ง เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนไปบริเวณนั้นได้ดีขึ้น รวมถึงอาจต้องพักการใช้กล้ามเนื้อนั้น ๆ จนอาการปวดบรรเทาลง
👉 ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อคลายการหดเกร็ง
1
👉 ประคบด้วยความเย็นหรือความร้อน จำง่าย ๆ ค่ะ ประคบร้อนจะช่วยคลายกล้ามเนื้อ ประคบเย็นจะช่วยลดปวดบวม
👉 ดื่มน้ำมาก ๆ หากร่างกายขาดน้ำ
👉 ดื่มเครื่องดื่มผสมเกลือแร่ เพื่อชดเชยหากขาดเกลือแร่ ในกรณีเสียเหงื่อมากหรือร่างกายขับถ่ายมากกว่าปกติ
1
👉 รับประทานอาหารที่มี Potassium สูง เช่น โกโก้ ลูกพรุนอบแห้ง อะโวคาโด กล้วย
👉 รับประทานยา เช่นยาคลายกล้ามเนื้อ ข้อนี้ต้องระมัดระวัง และควรทำเมื่อปฎิบัติตามข้ออื่นทั้งหมดแล้วไม่ได้ผล ควรศึกษาชนิดของยาคลายกล้ามเนื้อด้วย หรือถ้าไม่แน่ใจก็ควรไปพบแพทย์ค่ะ
2
❇ ขอขยายความการยืดเหยียดกล้ามเนื้อค่ะ
การยืดเหยียดสำคัญมาก ๆ นะคะ จะขอนำเสนอด้วยรูป น่าจะเห็นได้ชัดเจนกว่าคำอธิบาย ตามไปดูรูปกันเลยค่ะ
ยืดกล้ามเนื้อหน้าท้องส่วนกลาง
ยืดกล้ามเนื้อสะโพกด้านข้าง
ยืดกล้ามเนื้อแขน
ยืดกล้ามเนื้อหน้าขา
ยืดกล้ามเนื้อปลายแขน
1
ยืดกล้ามเนื้อไหล่ด้านข้าง
ยืดกล้ามเนื้อหลังส่วนบน
ยืดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง
1
ยืดกล้ามเนื้อน่องด้านข้างและด้านหลัง
ยืดกล้ามเนื้อขาด้านหลัง
ยืดกล้ามเนื้อสะโพก
ยืดกล้ามเนื้อน่องด้านหลัง
ยืดกล้ามเนื้อหน้าท้องส่วนนอก
ยืดกล้ามเนื้อหน้าอก
ยืดกล้ามเนื้อหน้าแข้ง
ยืดกล้ามเนื้อใต้กระดูกสะบัก
✴✴✴✴
อาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อที่อยากเน้นเป็นพิเศษคือ การเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ เนื่องจากการใช้งานสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
ทำไมถึงอยากเน้น
เพราะว่าเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรง ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดความปวด และ เมื่อยล้า แต่ส่งผลให้เกิดภาวะกระดูกคอเสื่อมก่อนวัย อาจถึงขั้นหมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาทับเส้นประสาท และทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ขมับ กระบอกตา ได้นะคะ
การยืดกล้ามเนื้อคอ
🔶️ ถ้าอาการหดเกร็ง เกิดกับกล้ามเนื้อเรียบบ้างล่ะ จะทำอย่างไรดี
กล้ามเนื้อเรียบนี้อาจเป็นกล้ามเนื้อทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ กระเพาะอาหาร หรือแม้กระทั่งหัวใจ
ถ้ามีอาการผิดปกติแล้วไม่ทุเลาหลังจากได้พักผ่อนเต็มที่แล้ว ควรไปปรึกษาแพทย์เพราะการหดเกร็งของอวัยวะภายในนั้นอาจมาจากสาเหตุมาจากโรคหรือความผิดปกติที่รุนแรง
🔹️🔹️🔹️🔹️🔹️
ฉันเชื่อว่า ถ้าคุณอ่านมาถึงบรรทัดนี้ คุณจะไม่ได้รับทราบข้อมูลอะไรใหม่เลยค่ะ ‼️
เพราะฉันนำเสนอข้อมูลที่คุณทราบกันอยู่แล้ว
แต่อาจจะลืมหรือสนุกสนานเพลิดเพลิน จนเกิดการบาดเจ็บได้ ฉันจึงมาสะกิดเตือนกันค่ะ 😉
และเพราะเป็นข้อมูลเดิม ๆ ....
ถ้าฉันเป็นผู้อ่าน ฉันอาจจะไถหน้าจอผ่านไปแล้ว !!!
แต่ถ้าคุณได้อ่านถึงตรงนี้ เรามารักษาสุขภาพกันนะคะ
🙂🙂🙂🙂🙂
ขอให้คุณมีวันหยุดสุดสัปดาห์ที่มีความสุข และเก็บพลังพร้อมที่จะไปต่อในทุก ๆ สนามค่ะ
💖💖💖💖💖
สวัสดีนะคะ
คนไทยตัวเล็กเล็ก
17/07/2020
อ้างอิง:
ขอบคุณภาพและข้อมูลบางส่วนจากเวปไซด์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา