18 ก.ค. 2020 เวลา 13:10 • ความงาม
ช่วงนี้คนรอบข้างดาวหลายท่านกำลังประสบปัญหา "เซ็บเดิร์ม" กำเริบ
แต่เอ๊ะ..."เซ็บเดิร์ม" คืออะไร
ได้ยินแล้วรู้สึกคุ้นหูมากๆ เพราะเวลาเจอคนหน้ามีผื่นขึ้น เป็นขุยๆ และมีสิว
ก็จะบอกชื่อนี้นี่ล่ะ
1
วันนี้เรามาทำความรู้จัก "โรคเซ็บเดิร์ม"
โรคผิวหนังเรื้อรัง ที่รักษาไม่หายขาด แต่สามารถควบคุมอาการได้ กันค่ะ
โรคเซ็บเดิร์ม หรือ โรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน หรือ ชื่อเต็มของโรคคือ
Seborrheic Dermatitis (อ่านว่า ซี-บอร์-ริค เดอร์-มา-ไต-ติส)
เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่มีภาวะผิวหนังอักเสบจากต่อมไขมันในชั้นผิวหนัง
1
โรคเซ็บเดิร์ม เป็นโรคที่พบเจอกันได้บ่อยมากในคนไทย ก็แค่เจอ 30% เอง 😢
(แต่คนที่เป็นจะบอกว่า ไม่อยากเจอกันเลย)
📍 โรคเซ็บเดิร์มเกิดจากอะไร?
เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เชื่อว่า
มีหลายปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะผิวหนังอักเสบนี้ เช่น
🔹 ผิวมัน ซึ่งมักเกิดผื่นบริเวณที่มีต่อมไขมันเยอะ เช่น บริเวณร่องแก้ม หัวคิ้ว
หนังศรีษะ บริเวณอกและหลัง
🔹 จากยีสต์ และเชื้อราบางชนิด เช่น เชื้อ Malassezia species
🔹 สภาพอากาศ ส่งผลทำให้ผื่นเห่อมากชึ้น
- อากาศเย็น ความชื้นต่ำ ผิวแห้ง
- อากาศร้อน ต่อมไขมันบริเวณผิวหน้าจะสร้างไขมันออกมามากขึ้น
1
🔹 ระดับของฮอร์โมนที่แปรปรวน
🔹 ความเครียด นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ
1
🔹 การดื่มสุรา
3
🔹 การเสียดสี เช่น จากการสวมใส่หน้ากาก หรือการแกะเกาผิวหนัง
🔹 ปัจจัยจากกรรมพันธุ์
📍 ใครที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเซ็บเดิร์มบ้าง?
😭 ผู้ที่มีผิวมัน
😭 ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น HIV
😭 ผู้ป่วยระบบประสาท เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ ลมชัก
😭 ผู้ที่มีภาวะขาดวิตามิน B2, B6, Zinc
1
📍 อาการของโรคเซ็บเดิร์ม ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง
1
- ผิวหนังตกสะเก็ดเป็นรังแคบนหนังศีรษะ หรือบริเวณที่มีเส้นผม คิ้ว หรือ หนวดเครา
1
- ผิวมันเป็นแผ่น ปกคลุมด้วยสะเก็ดสีขาวหรือเหลือง หรือมีสะเก็ดแข็งบนหนังศีรษะ ใบหู ใบหน้า หน้าอก หรือตามร่างกายส่วนอื่น ๆ
- มีอาการคัน แดง ผิวหนังลอกเป็นขุย ผิวดูมัน และมีอาการคล้ายสิว
- เปลือกตาอักเสบ มีอาการแดงหรือมีสะเก็ดแข็งติด
1
📍 ต้องปฏิบัติตัวเองอย่างไร เพื่อควบคุมอาการโรคเซ็บเดิร์มให้ดีที่สุด
✅ สังเกตตัวเอง และหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เราอาการกำเริบ
✅ ทำความสะอาดผิวหน้าเช็ดเครื่องสำอาง และล้างหน้าด้วยน้ำสะอาด
✅ ทาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวและป้องกันผิวแห้ง
✅ หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์กลุ่ม AHA, Vit A หรือผลิตภัณฑ์ที่มีค่า pH เป็นกรด
หรือด่างมากเกินไป
✅ หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หรือ
ผลิตภัณฑ์ที่อาจจะทำให้ผื่นกำเริบ เช่น โทนเนอร์ และสเปรย์จัดแต่งทรงผม
✅ หลีกเลี่ยงการแกะเกาบริเวณผิว เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
(ผื่นอาจจะแปลงร่างกลายเป็นสิวได้)
✅ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้เยอะๆ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
สำหรับเพื่อนๆ ท่านใด ที่กำลังเผชิญกับอาการเซ็บเดิร์มกำเริบและอยากหายเร็วขึ้น หรือ มีอาการกำเริบมาก ควรไปพบแพทย์ผิวหนัง
1
เพื่อให้แพทย์ดูแลด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับอาการ เช่น การสั่งจ่ายยาทา การสั่งจ่ายยารับประทาน หรืออาจจะต้องฉายแสง Narrow Band UVB นะคะ
1
เรียบเรียงโดย #StellarDao
อ้างอิงจาก:
- Rama Channel: “เซ็บเดิร์ม“ หรือโรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน โรคผิวหนังที่ต้องทำความรู้จัก
- สถาบันโรคผิวหนัง: โรค Seborrheic Dermatitis

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา