20 ก.ค. 2020 เวลา 06:35 • ธุรกิจ
อัพเดท libra 2.0
ย้อนอดีต
ในวันที่ 18 มิถุนายนยักษ์ใหญ่แห่งวงการ Social Network อย่าง Facebook นั้นได้ประกาศเปิดตัว Libra ซึ่งเป็น Stablecoin ที่อ้างว่าตั้งเป้าที่จะเป็น “สกุลเงินของโลก”
การเปิดตัวนี้ส่งผลให้เกิดกระแสทั้งสนับสนุนและต่อต้านมากมายจากทั้งภาคเอกชนและรัฐบาลในความเห็นที่ต่างๆนาๆบ้างก็ว่า Libra นั้นกำลังจะระบบการเงินยุคใหม่ หรือแม้แต่คนที่คิดว่า Libra จะทำให้ Facebook ควบคุมข้อมูลข้อมูลของคนทั้งโลกได้
แต่อย่างไรก็ตาม Facebook ต้องเผชิญหน้าต่อการต่อต้านจากสภาคอนเกรสและรัฐบาลหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากด้วยจำนวนผู้ใช้งานของ Facebook นั้นมีถึง 1 ใน 3 ของประชากรโลกการเปิดใช้งาน Libra นั้นอาจจะทำให้มันกลายเป็นระบบชำระเงินระดับโลกขึ้นมาจริงๆ ซึ่งการใช้ Libra ที่รองรับด้วยดอลลาร์นั้นอาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงของการใช้สกุลเงินนอกดินแดน (Dollarlization) ที่จะไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการใช้งานในทางที่ผิดอย่างการฟอกเงินได้
ในเดือนกันยายน 2019 รัฐบาลฝรั่งเศษและเยอรมันตัดสินใจจะแบน Libra โดยกล่าวว่า “ไม่มีสินทรัพย์ของเอกชนใดที่จะสามารถนำมาใช้ในนโยบายการเงินซึ่งเป็นอธิปไตยของชาติได้” บ่งบอกให้เห็นถึงกระแสที่ต่อต้าน Libra จากรัฐบาลต่างๆ
ไม่กี่สัปดาห์ถัดมาในเดือนตุลาคม Libra ได้เสียสมาชิกหลักไปทีละคนโดยเริ่มจาก Paypal และอีกไม่นานนักที่วุฒิสภาของสหรัฐจะส่งหนังสือแจ้งเตือนไปยัง Mastercard และ Stripe ทำให้ทั้งสองบริษัทรวมถึง Ebay ถอนตัวในภายหลัง
มีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง?
ในเดือนเมษายน 2020 Facebook ได้เปิดตัว White Paper Libra 2.0 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหารายละเอียดจาก version 1.0 เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีการระบุชัดเจนว่าเป้าหมายของ Libra นั้นไม่ใช่การมาแทนที่ระบบการเงินเดิมที่มี แต่เป็นการยกระดับเทคโนโลยีอีกขั้น โดยรายละเอียดหลักที่มีการเปลี่ยนแปลงจาก Libra 1.0 มีดังนี้
1. เพิ่มประเภทของเหรียญภายใต้ Libra ที่ยึดกับสกุลเงินรัฐแต่ละสกุลโดยเฉพาะ (single-currency stablecoins)
นอกเหรียญ Libra Coin หรือ ≋LBR แล้ว ทาง Libra ได้เพิ่มเหรียญอีกชนิดขึ้นมาคือ single-currency stablecoin หรือเหรียญในระบบ Libra ที่มีแต่ละสกุลเงินรัฐค้ำโดยเฉพาะ โดยการที่จะสร้างเหรียญนี้นั้นจะต้องมีเงินในสกุลนั้นๆรองรับแบบ 1:1 ไว้ใน reserve หรือเงินสำรองเช่น 1 USD จะสามารถสร้างเหรียญ 1 ≋USD (อ่านว่า Libra USD) โดยมีสกุลเงินอื่นๆอีกเช่น ≋EUR, ≋GBP, ≋SGD
ซึ่งเหรียญ single-currency stablecoins เหล่านี้จะถูกนำไปเป็นส่วนหนึ่งของตระกร้าเงินที่ค้ำมูลค่าของเหรียญ ≋LBR อีกที
หมายความว่า จากการเอาเงินรัฐโดยตรงมาค้ำอย่างที่ระบุใน Whitepaper 1.0 กลับกันใน Whitepaper 2.0 เงินรัฐเหล่านี้จะต้องถูกแปลงเป็น single-currency stablecoin ก่อนแล้วถึงนำไปรวมในตระกร้าของ ≋LBR ได้
2. ยืนยันสถานะของเหรียญ ≋LBR ว่าไม่ใช่สกุลเงินใหม่ และเรียกว่า Libra Coin
ซึ่งความไม่ชัดเจนในเรื่องว่า Libra สร้างสกุลเงินแข่งกับรัฐหรือไม่จะหมดไป เนื่องจากทาง Libra ประกาศชัดใน Whitepaper 2.0 ว่า ≋LBR คือ multi-currency coin ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ใช่สกุลเงินใหม่ แต่เป็นแค่เหรียญตัวแทนของตระกร้าเงินรัฐ แค่ทำให้มันเข้าใจและใช้งานง่ายสำหรับทุกคน (ซึ่งอันที่จริงต้องการเลี่ยงข้อครหาที่พยายามสร้างสกุลเงินตัวเอง)
3. ไม่มีเหรียญ Libra Investment Token อีกต่อไป
ถ้ายังจำกันได้ ใน Whitepaper 1.0 Libra มีเหรียญอยู่สองประเภทด้วยกันคือ ≋LBR ที่เป็นเหรียญสำหรับผู้ใช้ทั่วไปไว้ใช้งานเสมือนเงินในระบบ กับ Libra Investment Token ที่ให้กับสมาชิกสมาคม
ในเดือนธันวาคม 2019 Facebook ตัดสินใจนำข้อความเกี่ยวกับเหรียญ Libra Investment Token ที่มีแนวโน้มในการจ่ายเงินปันผลให้กับนักลงทุนในสมาคม Libra ออกไป ซึ่งน่าจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นว่าดอกเบี้ยที่ได้รับจาก Libra Reserve จะไม่นำไปปันผลแก่คนในสมาคม
4. มีการระบุถึงเงื่อนไขของผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนที่ได้รับการรองรับจากสมาคม
ใน White Paper 1.0 ส่วนที่ทำให้ผู้ดูแลกฎหมายกังวลคือปัญหาการฟอกเงินและการนำไปใช้ในทางที่ผิดทำให้ใน White Paper 2.0 จึงมีการระบุถึงการจัดตั้ง Financial Intelligence Function (FIU-function) เพื่อคัดกรองตัวแทนผู้ให้บริการโดยอันได้แก่
Designated Dealers หรือตัวแทนที่เลือกโดยสมาคม Libra
Virtual Asset Service Providers: VASPs หรือผู้ให้บริการด้านซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลอย่าง Exchange โดย VASPs เหล่านี้จะต้องได้รับใบอนุญาติจาก Financial Action Task Force (FATF) เพื่อให้เป็น VASPs ที่ถูกกำกับทางกฎหมาย ( Regulated VASPs) Virtual Asset Service Providers: VASPs ที่ได้รับเลือกจากสมาคม Libra องค์กรหรือบุคคลอื่นๆที่ต้องการทำธุรกรรมด้วย Libra
โดยในขั้นต้นนั้นจะอนุญาตเพียง Designated Dealers และ Regulated VASPs ก่อนเพื่อลดความเสี่ยง
5. เปลี่ยนจากระบบที่ไม่ต้องขออนุญาติเป็นระบบคัดกรอง
ใน White paper 1.0 นั้นกล่าวว่าการเข้าร่วมเป็น node ในเครือข่ายของ Libra นั้นสามารถทำได้อย่างอิสระ แต่ในแง่ของผู้กำกับและดูแลนั้นกระทำได้ลำบากมาก เพื่อให้เข้ากับกฎระเบียบการจะเข้าร่วมเป็น node ในเครือข่ายของ Libra ได้นั้นจะต้องถูกคัดกรองจากสมาคม Libra โดยทางสมาคม Libra กล่าวว่า Libra นั้นจะยังเป็นระบบ Decentralized ด้วยการพยายามเพิ่มจำนวนสมาชิกให้มากที่สุด
6. ออกแบบให้ Libra Reserve นั้นมีความปลอดภัยมากขึ้น
มีการระบุอย่างชัดเจนว่าสินทรัพย์ที่ถูกใช้เป็น Reserve นั้น 80% จะเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงที่สามารถซื้อขายในตลาดรองได้ทันที ซึ่งอาจจะเป็นพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นที่มีความเสี่ยงต่ำ
สมาชิกปัจจุบัน
ในปัจจุบัน Libra association มีสมาชิก 27 ราย โดยสมาชิกรายใหม่ที่น่าจับตามองคือ
Temasek ยักษ์ใหญ่จากสิงค์โปร์และ
Shopify บริษัทบริการด้าน eCommerce ชื่อดังของโลก
Novi (ชื่อใหม่ของ Facebook’s Calibra)
Tagomi
Shopify
PayU
Farfetch
Lyft
Spotify
Uber
Illiad SA
Anchorage
Bison Trails
Coinbase
Xapo
Andreessen Horowitz
Union Square Ventures
Breakthrough Initiatives
Ribbit Capital
Thrive Capital
Creative Destruction Lab
Kiva
Mercy Corps
Women’s World Banking
Temasek
Paradigm
Heifer International
Slow Ventures
*สมาชิกที่ถอนตัว 8 ราย
Vodafone
Visa
Mastercard
Stripe
PayPal
Mercado Pago
Bookings Holdings
eBay
โดยรวมแล้ว Libra 2.0 นั้นมีการเพิ่มเติมในหลายส่วนซึ่งดูเหมือนทำขึ้นเพื่อให้ตอบโจทย์หน่วยงานที่กำกับดูแล แต่ยังไม่มีการระบุถึงเรื่องความเป็นส่วนตัวว่าข้อมูลที่สมาคม Libra เก็บไว้นั้นจะมีการดูแลรักษาอย่างไรในแง่ความเป็นส่วนตัว
โฆษณา