21 ก.ค. 2020 เวลา 01:00 • หนังสือ
The power of output : ศิลปะของการปล่อยของ
(ตอนที่ 2) ยิ่งเขียน! สมองยิ่งทำงานและยิ่งดึงประสิทธิภาพของสมองออกมาได้มากที่สุด!
1
ในบทความที่แล้ว ผมได้กล่าวรีวิวหนังสือ The power of output : ศิลปะของการปล่อยของ ซึ่งกล่าวถึงวิธีสร้าง Output ด้วยการพูด การเขียน และการกระทำ เพราะว่า Output มีความสำคัญมากที่สุดถ้าเราอยากจะพัฒนาตัวเอง ถึงแม้ต่อให้เราจะใส่ Input เข้ามามากเท่าไหร่ ถ้าไม่มี Output เลยเราย่อมไม่มีวันพัฒนาตัวเองและการทำ Output ที่ดีจะต้องตะหนักถึง Feedback ด้วยครับ
เพราะว่าการทำ Output ครั้งเเรกนั้นย่อมมีช่องโหว่หรือประสิทธิภาพไม่สมบูรณ์แบบครบ 100% แต่สิ่งที่จะทำให้ Output มีประสิทธิภาพอย่างสมบูรณ์แบบนั้นคือ เราต้องนำ Feedback จากข้อผิดพลาดที่ได้รับจาก Output มาปรับปรุงแล้วทำ Output ใหม่อีกครั้งครับ ทำวงจรของ Input และ Output วนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ผมรับรองเราจะสามารถพัฒนาตัวเองได้ขึ้นอีกมากหลายเท่าตัวเลยครับ
ในบทความนี้ผมจะมาเขียนถึงวิธีทำ Output จากการ
" เขียน" ครับ
การเขียนเป็นวิธีสร้าง Output ที่ดีมากอีกอย่างหนึ่ง ไม่แพ้การพูดเลย ในหนังสือได้กล่าวไว้ว่า
>> การ "เขียน" ช่วยเสริมสร้างความจำและนำไปสู่การพัฒนาตนเองได้ดีกว่าการ "พูด" <<
เพราะว่า เมื่อเรายิ่งเขียนมากเท่าไหร่ระบบ RAS (Reticular Activating System) ในสมองของเราก็จะยิ่งทำงานและทำให้สมองทั้งหมดของเราทำงานด้วยและการเขียนที่ดีที่สุดคือ "การเขียนด้วยมือ" นั่นเอง
จากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยปรินซ์ตันและมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้ทำการวิจัยโดยเปรียบเทียบกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยในห้องเรียนที่ "จดลงด้วยสมุด" และ "พิมพ์ใส่คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก" ผลปรากฏว่า นักศึกษาที่จดบันทึกด้วยมือมีแนวโน้มที่จะมีผลการเรียนดีกว่า จดจำได้นานกว่าและเกิดไอเดียใหม่ๆได้มากกว่า นอกจากนี้ยังมีการทดลองสแกน MRI ( การเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) เพื่อดูการทำงานของสมองระหว่างที่เขียนและพิมพ์พบว่าบริเวณโบรคา (Broca's area) ซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาจะทำงานเฉพาะเวลาที่เขียนเท่านั้น)
แล้วช่วงเวลาในการเขียนหรือทำ Output จากการเขียน ช่วงไหนดีที่สุดหล่ะ?
คำตอบคือ ทำตอนที่สมองยังจดจำข้อมูลได้มากที่สุด นั่นก็คือ "หลังทำ Input ทันที" ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราทำการเพิ่ม Input (การดูและการอ่าน) เข้าไปในหัวไม่ว่าจะเป็นการดูภาพยนต์ การอ่านหนังสือ หรือแม้แต่การเรียนหนังสือเสร็จ หลังจากนั้นเราต้องทำการเขียน Output ออกมาทันทีครับ หรือใครจะพิมพ์ก็ได้แต่การพิมพ์นั่นประสิทธิภาพไม่ดีเท่ากับการเขียนดังที่ผมได้กล่าวไปครับ
เมื่อเวลาผ่านไปนานเท่าไหร่ เราจะยิ่งจดจำข้อมูลหรือรายละเอียดปลีกย่อยได้น้อยลงเท่านั้น แต่เมื่อเราทำการทำ Output หลังจากที่เรา Input เสร็จช่วงนี้จะเป็นช่วงเวลาที่เราจำข้อมูลได้มากที่สุดเเละเมื่อเราเขียนออกมา ต่อให้เมื่อเวลาผ่านไปแล้วเรานำกลับมาดูใหม่อีกรอบจะทำให้จำได้ราวกลับเหมือนความรู้สึกหลัง Input เสร็จในตอนครั้งแรกและความจำนี้จะอยู่กับเราไปชั่วชีวิตครับ
แต่อย่าลืม กฏของ Output นะครับ ข้อมูลที่ถูกนำมาใช้ 3 ครั้งภายใน 2 สัปดาห์ จะกลายเป็นความทรงจำระยะยาวนะครับ
เมื่อเราพูดถึงการเขียนก็มีเทคนิคการเขียนด้วยครับ
เทคนิคการเขียนบทความให้เก่ง
เทคนิคนี้สั้นๆง่ายๆเลยครับ "อ่านให้เยอะ เขียนให้เยอะ" ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้และไม่ทางลัดกว่านี้แล้วครับ การอ่านหนังสือ คือ Input ส่วนการเขียนนั่นคือ Output การ "อ่านให้เยอะและเขียนให้เยอะ" จึงเป็นการหมุนวงจร Input Output ไปเรื่อยๆนั่นเอง แต่ที่สำคัญเลยอย่าลืม Feedback นะครับ ต่อให้เราเขียนบทความเยอะแค่ไหนแต่ถ้าไม่มี Feedback เลยเราจะไม่มีทางพัฒนาครับ
หลายคงคงมีคำถามสงสัยแล้วจะทำ Feddback ยังไงหล่ะ?? คำตอบก็คือ ให้คนอื่นอ่านบทความของเราแล้วขอคำแนะนำ คำวิจารณ์ คะแนน จุดที่ต้องแก้ไข ข้อดี ข้อเสีย และความเห็นจากคนเหล่านั้นดูครับ วิธีนี้จะทำให้เราเขียนบทความได้เก่งขึ้นครับ
การเขียน To Do list
การเขียน To Do list มีข้อดีมากมายแถม ถ้าจะกล่าวได้ว่าเป็น "งานที่สำคัญที่สุด" ในตอนเช้าเลยก็ว่าได้ครับ เพราะว่าตอนเช้า 2-3 ชั่วโมงหลังตื่นนอนนั้นคือ "ช่วงเวลาทองของสมอง" เป็นช่วงเวลาที่เรามีสมาธิมากที่สุดของวัน ดังนั้นผมจึงอยากลองให้ทุกๆคนหลังจากตื่นเช้ามาเริ่มลองเขียน To Do list กันครับ
ข้อดีของการทำ To Do list
1.มองเห็นภาพการทำงานของทั้งวัน
1
เพราะว่า To Do list เป็นการเขียนภารกิจหรือสิ่งที่เราจะทำภายใน 1 วันนั่นเอง เปรียบเสมือนแบบพิมพ์เขียวสำหรับการทำงานภายใน 1 วัน (ไม่มีใครสร้างบ้านโดยไม่มีแบบพิมพ์เขียนหรอกครับ) จะทำให้เราวางแผนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเห็นภาพความสำเร็จทั้งหมดของวันได้ครับ การเขียน To Do list ใช้เวลาแค่ 3 นาทีก็เสร็จแล้วครับ
2.ไม่เสียสมาธิ
คนที่ไม่เขียน To Do list เมื่อทำงานหนึ่งเสร็จจะคิดต่อว่าวันนี้เราจะต้องทำอะไรอีกนะ การทำแบบนี้สมาธิในการทำงานที่มีอยู่จะถูกรีเซตกลับเป็นศูนย์ ดังนั้นเราจะต้องรวบรวมสมาธิใหม่ในการทำงานซึ่งนั่นจะทำให้เราเสียเวลาไปมาก ดังนั้น การทำ To Do list เมื่อเราทำงานเสร็จเราแค่หันไปดูแค่ 1 วิเท่านั้นว่าจะต้องทำอะไรต่อ จะทำให้เราทำงานได้ลื่นไหลมีสมาธิอย่างต่อเนื่องและทำให้คงความเร็วในการทำงานอีกด้วย
3.ลดความผิดพลาดเผอเรอให้เป็นศูนย์
เวลามีงานซ้อนกันเข้ามาอาจจะเกิดความผิดพลาดได้ เช่น
ลืมเวลาประชุม ลืมทำงานด่วนงานสำคัญ นุ่นนี้ ดังนั้น หากเราทำงานและคอยดู To Do list ไปด้วยจะช่วยลดความผิดพลาดจากการเผอเรอให้เกือบเป็นศูนย์ได้
4. เพิ่ม Working memmory และประสิทธิภาพในการทำงาน
การที่เราทำ To Do list เราจะไม่ต้องไปเสียสมองที่คอยเอาไว้จำข้อมูลเล็กๆน้อยๆที่ไม่สำคัญ เพราะว่าสมองของคนเรา จัดการข้อมูลต่างๆพร้อมกันได้ราว 3 อย่างเท่านั้นหากเรามีการกำหนดหรือคิดเรื่องมากมายในหัวสมองจะตกอยู่ในสภาพการหยุดทำงานได้หากเราใช้สมาธิและ Working memmory ไปกับการทำงานตรงหน้าจะทำให้งานของเราออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้น
การสรุปความ
" ความสามารถในการสรุปความ "ไว้ใน 140 ตัวอักษร
= ความสามารถในการใช้ความคิด
การสรุปความเป็นการสรุปใจความสำคัญแล้วสื่ออกไป คนที่จับทางความคิดหรือสิ่งที่อีกฝ่ายพูด แล้วนำสิ่งนั้นมาพูดใหม่ โดยเปลี่ยนวิธีการพูดได้เก่ง คนประเภทนี้จะมีความสามารถในการสื่อสารได้ดีและทำงานได้เร็วสามารถสื่อความคิดออกไปได้อย่างตรงไปตรงประเด็น จึงช่วยลดความผิดพลาดหรือเข้าใจผิดได้เรียกได้ว่า ความสามารถในการสรุปความเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างมากต่อนักธุรกิจ
ในบทความที่ผมเขียนนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของการเขียนเท่านั้นครับ ใครอยากรู้รายละเอียดมากกว่านี้สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ครับ
บทความหน้าจะมาเขียนถึงเรื่อง การทำ Output จากการกระทำ ซึ่งการทำนี้จำเป็นมากต่อการพัฒนาตัวเองและสร้างผลลัพธ์ที่ดีอีกด้วย
ขอบคุณทุกๆคนที่อ่านมาถึงตรงนี้มากครับ 🙏 ถ้าใครมีคำแนะนำหรือข้อข้องใจอะไรสามรถติชมได้นะครับ ผมพร้อมรับฟังและสุดท้ายถ้าใครไม่อยากพลาดบทความดีๆอย่าลืมกดติดตามนะครับ ขอบคุณครับ
ที่มา: หนังสือ The power of output : ศิลปะแห่งการปล่อยของ
โฆษณา